ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,146 คน พบว่า คนกรุงเทพฯ เห็นว่าตนเองมีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตในระดับปานกลาง (เฉลี่ยรวม 5.94 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยความเสี่ยงด้านการเมืองมีคะแนนสูงที่สุดคือ 7.59 คะแนน รองลงมาคือความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย (6.61 คะแนน) และความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน (6.41 คะแนน) ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (3 เดือนที่แล้ว) พบว่าความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ มีคะแนนเพิ่มขึ้น 0.52 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.6 จากฐานเดิม และเมื่อพิจารณาในรายตัวชี้วัดทั้ง 10 ตัว พบว่า ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณี และสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีคะแนนความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสูงที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 1.11 คะแนน
สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต พบว่าอันดับแรก ร้อยละ 22.3 ต้องการให้เร่งสร้างความปรองดองและความสามัคคีในชาติโดยให้ทุกฝ่ายหยุดใช้สื่อในการสร้างความแตกแยก รองลงมาร้อยละ 20.3 ต้องการให้แก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาค่าครองชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชน และร้อยละ 17.2 ต้องการให้แก้ปัญหารถติด ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะให้สะดวก ปลอดภัย และทันสมัย
ส่วนความเห็นต่อการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 62.5 เห็นว่าควรยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร ขณะที่ร้อยละ 37.5 เห็นว่าไม่ควรยกเลิก
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. คะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจ
เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว 0.52 คะแนน โดยความเสี่ยงในด้านการเมืองมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว
มีคะแนนต่ำที่สุด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความเสี่ยงในด้านต่างๆ สำรวจเดือน เม.ย. สำรวจเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น
(เต็ม 10 คะแนน) (เต็ม 10 คะแนน)
1. ความเสี่ยงด้านการเมือง 7.47 7.59 + 0.12 2. ความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย 5.86 6.61 + 0.75 3. ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน 5.75 6.41 + 0.66 4. ความเสี่ยงในด้านสุขภาพจิตใจ 5.85 6.02 + 0.17 5. ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง 5.56 6.01 + 0.45 6. ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน 5.70 5.91 + 0.21 7. ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณี และสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ 4.75 5.86 + 1.11 8. ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ 5.24 5.70 + 0.46 9. ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง 4.46 5.35 + 0.89 10. ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว 3.51 3.90 + 0.39 เฉลี่ยรวม 5.42 5.94 + 0.52 2. สิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)
- ให้เร่งสร้างความปรองดองและความสามัคคีในชาติทุกฝ่ายหยุดใช้สื่อในการสร้างความแตกแยก ร้อยละ 22.3
- แก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาค่าครองชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 20.3 - แก้ปัญหารถติด ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะให้สะดวก ปลอดภัย และทันสมัย ร้อยละ 17.2 - แก้ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด โจรผู้ร้าย ร้อยละ 11.7 - ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 11.0 - ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีความมั่นคงทางการเมือง ร้อยละ 4.2
- อื่นๆ เช่น สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมฟื้นฟู/ปรับภูมิทัศน์
ของกรุงเทพฯ และยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ฯลฯ ร้อยละ 13.3 3. ความเห็นต่อการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร เห็นด้วย ร้อยละ 62.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 37.5
รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 เดือน
2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงในชีวิตของคนกรุงเทพฯ
3. เพื่อเสนอแนะต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 29 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางพลัด บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี วังทองหลาง สวนหลวง สาทร สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,146 คน เป็นชายร้อยละ 49.0 และหญิงร้อยละ 51.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 — 4 กรกฎาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 6 กรกฎาคม 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 562 49.0 หญิง 584 51.0 รวม 1,146 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 285 24.9 26 - 35 ปี 297 25.9 36 - 45 ปี 306 26.7 46 ปีขึ้นไป 258 22.5 รวม 1,146 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 682 59.5 ปริญญาตรี 394 34.4 สูงกว่าปริญญาตรี 57 5.0 ไม่ระบุการศึกษา 13 1.1 รวม 1,146 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 93 8.1 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 311 27.1 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 355 31.0 รับจ้างทั่วไป 166 14.5 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 73 6.4 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 138 12.0 ไม่ระบุอาชีพ 10 0.9 รวม 1,146 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--