ด้วยในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ เป็นวันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดียุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นคดีสำคัญที่หลายฝ่ายจับ
ตามองเนื่องจากคำตัดสินที่ออกมาจะส่งผลโดยตรงต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศไทย ประกอบกับในช่วงระยะที่ผ่านมาได้มีการสร้างกระแสข่าวใน
ลักษณะต่างๆ ที่เชื่อมโยงไปสู่คดีดังกล่าว ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชาชน
คิดอย่างไรกับคดียุบพรรคการเมือง” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวเรื่องการ
ยุบพรรคการเมือง จำนวน 1,233 คน เมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความเชื่อมั่นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดียุบพรรคการเมืองที่มีรายละเอียดและเหตุผลประกอบที่มีน้ำหนักชัดเจนเพียงพอที่จะ
ไม่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งตามมา
- เชื่อมั่น........................ร้อยละ 57.7
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 17.6 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 40.1)
- ไม่เชื่อมั่น......................ร้อยละ 42.3
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 9.9 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 32.4)
2. ความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในช่วงที่มีการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง
- เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว.......ร้อยละ 26.4
(เพราะ แต่ละพรรคมีสิทธิออกมาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง เป็นสิทธิของบุคคลตามระบอบ ประชาธิปไตย ถ้าไม่ออกมาเคลื่อน
ไหวศาลจะตัดสินตามใบสั่งของ คมช. ฯลฯ)
- ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว.....ร้อยละ 73.6
(เพราะ เป็นการสร้างความสับสนวุ่นวายในบ้านเมือง อาจนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย เป็นการกดดันการทำงานของศาล ควร
รอฟังคำตัดสินของศาลแล้วพิจารณาโดยใช้เหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์ คนไทยควรหันหน้าเข้าหากันมากกว่าแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับ
เยาวชน ฯลฯ)
3. ความกังวลว่าหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินในคดียุบพรรคการเมืองแล้วจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเมือง
- วิตกกังวล......................ร้อยละ 46.3
- ไม่วิตกกังวล....................ร้อยละ 53.7
4. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและ คมช. จะสามารถควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ด้วยสันติวิธี
- เชื่อมั่น........................ร้อยละ 50.5
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 13.7 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 36.8)
- ไม่เชื่อมั่น......................ร้อยละ 49.5
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 16.4 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 33.1)
5. ความคิดเห็นต่อการปฏิวัติซ้ำ
- เห็นด้วยกับการปฏิวัติซ้ำถ้ามีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น......ร้อยละ 23.9
- ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติซ้ำไม่ว่ากรณีใดๆ..................ร้อยละ 76.1
6. ความต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศไทย
- ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย..........................ร้อยละ 60.2
โดย - ต้องการให้เดินทางกลับภายในเดือนพฤษภาคมนี้............ร้อยละ 14.2
- ต้องการให้เดินทางกลับหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง....ร้อยละ 15.7
- ต้องการให้เดินทางกลับหลังการเลือกตั้ง.................ร้อยละ 30.3
- ไม่ต้องการให้เดินทางกลับประเทศไทยเลย.......................................ร้อยละ 39.8
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคดียุบพรรคการเมืองให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 23 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน บางกอกใหญ่
บางซื่อ ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพาน
สูง หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ระบุว่าติดตาม
ข่าวเรื่องคดียุบพรรคการเมือง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,233 คน เป็นเพศชายร้อยละ 56.6 และเพศหญิงร้อยละ 43.4
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22-24 พฤษภาคม 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 25 พฤษภาคม 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 698 56.6
หญิง 535 43.4
อายุ
18-25 ปี 291 23.5
26-35 ปี 357 29.0
36-45 ปี 334 27.1
46 ปีขึ้นไป 251 20.4
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 572 46.4
ปริญญาตรี 580 47.0
สูงกว่าปริญญาตรี 81 6.6
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 241 19.6
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 377 30.6
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 253 20.5
รับจ้างทั่วไป 192 15.6
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 77 6.2
อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ เกษตรกร นิสิตนักศึกษา ฯลฯ 93 7.5
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ตามองเนื่องจากคำตัดสินที่ออกมาจะส่งผลโดยตรงต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศไทย ประกอบกับในช่วงระยะที่ผ่านมาได้มีการสร้างกระแสข่าวใน
ลักษณะต่างๆ ที่เชื่อมโยงไปสู่คดีดังกล่าว ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชาชน
คิดอย่างไรกับคดียุบพรรคการเมือง” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวเรื่องการ
ยุบพรรคการเมือง จำนวน 1,233 คน เมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความเชื่อมั่นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดียุบพรรคการเมืองที่มีรายละเอียดและเหตุผลประกอบที่มีน้ำหนักชัดเจนเพียงพอที่จะ
ไม่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งตามมา
- เชื่อมั่น........................ร้อยละ 57.7
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 17.6 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 40.1)
- ไม่เชื่อมั่น......................ร้อยละ 42.3
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 9.9 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 32.4)
2. ความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในช่วงที่มีการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง
- เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว.......ร้อยละ 26.4
(เพราะ แต่ละพรรคมีสิทธิออกมาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง เป็นสิทธิของบุคคลตามระบอบ ประชาธิปไตย ถ้าไม่ออกมาเคลื่อน
ไหวศาลจะตัดสินตามใบสั่งของ คมช. ฯลฯ)
- ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว.....ร้อยละ 73.6
(เพราะ เป็นการสร้างความสับสนวุ่นวายในบ้านเมือง อาจนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย เป็นการกดดันการทำงานของศาล ควร
รอฟังคำตัดสินของศาลแล้วพิจารณาโดยใช้เหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์ คนไทยควรหันหน้าเข้าหากันมากกว่าแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับ
เยาวชน ฯลฯ)
3. ความกังวลว่าหลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินในคดียุบพรรคการเมืองแล้วจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเมือง
- วิตกกังวล......................ร้อยละ 46.3
- ไม่วิตกกังวล....................ร้อยละ 53.7
4. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและ คมช. จะสามารถควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ด้วยสันติวิธี
- เชื่อมั่น........................ร้อยละ 50.5
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 13.7 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 36.8)
- ไม่เชื่อมั่น......................ร้อยละ 49.5
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 16.4 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 33.1)
5. ความคิดเห็นต่อการปฏิวัติซ้ำ
- เห็นด้วยกับการปฏิวัติซ้ำถ้ามีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น......ร้อยละ 23.9
- ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติซ้ำไม่ว่ากรณีใดๆ..................ร้อยละ 76.1
6. ความต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศไทย
- ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย..........................ร้อยละ 60.2
โดย - ต้องการให้เดินทางกลับภายในเดือนพฤษภาคมนี้............ร้อยละ 14.2
- ต้องการให้เดินทางกลับหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง....ร้อยละ 15.7
- ต้องการให้เดินทางกลับหลังการเลือกตั้ง.................ร้อยละ 30.3
- ไม่ต้องการให้เดินทางกลับประเทศไทยเลย.......................................ร้อยละ 39.8
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคดียุบพรรคการเมืองให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 23 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน บางกอกใหญ่
บางซื่อ ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพาน
สูง หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ระบุว่าติดตาม
ข่าวเรื่องคดียุบพรรคการเมือง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,233 คน เป็นเพศชายร้อยละ 56.6 และเพศหญิงร้อยละ 43.4
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22-24 พฤษภาคม 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 25 พฤษภาคม 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 698 56.6
หญิง 535 43.4
อายุ
18-25 ปี 291 23.5
26-35 ปี 357 29.0
36-45 ปี 334 27.1
46 ปีขึ้นไป 251 20.4
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 572 46.4
ปริญญาตรี 580 47.0
สูงกว่าปริญญาตรี 81 6.6
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 241 19.6
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 377 30.6
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 253 20.5
รับจ้างทั่วไป 192 15.6
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 77 6.2
อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ เกษตรกร นิสิตนักศึกษา ฯลฯ 93 7.5
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-