ด้วยวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เป็นวันครบรอบ 1 ปี 6 เดือน ของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือน ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 1,307 คน เมื่อวันที่ 8 - 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า
คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความพึงพอใจผลงาน ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ 5.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจผลงานด้านสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดมากที่สุด (5.78 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนน้อยที่สุด (4.96 คะแนน) และเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่ ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ทำงานครบ 1 ปี พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วนความคิดเห็นต่อประเด็นการดำเนินงานของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ที่มุ่งหวังให้คนกรุงเทพฯ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 67.3 เห็นว่าตนเองยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 20.2 ที่เห็นว่าดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 12.5 เห็นว่าแย่ลง
เมื่อสอบถามเกี่ยวกับผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจในช่วง 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ พบว่า มีผู้ที่เห็นว่าผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ มีผลงานเด่นชัดน่าประทับใจ ร้อยละ 35.6 (ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจช่วงครบ 1 ปี ร้อยละ 9.9) โดยในจำนวนนี้ระบุว่าผลงานที่เด่นชัดมากที่สุด ได้แก่ การปรับภูมิทัศน์กรุงเทพฯ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสวนสาธารณะ(ร้อยละ 7.9) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้า BTS รถด่วน BRT (ร้อยละ 7.9) การปรับปรุงสะพานข้ามแยกต่างๆ ปรับปรุงสภาพถนนและทางเท้า(ร้อยละ 6.0) และการร่วมทำความสะอาดกรุงเทพฯ หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์(ร้อยละ 4.0) อย่างไรก็ตามคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.4 ยังเห็นว่าผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ไม่มีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ
สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนนเฉลี่ย 5.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงที่ทำงานครบ 1 ปี 0.28 คะแนน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 โดยได้คะแนนด้านความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด (6.27 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความฉับไวในการแก้ปัญหาน้อยที่สุด (5.43 คะแนน)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านต่างๆ ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 5.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ทำงานครบ 1 ปี พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจผลงานในแต่ละด้าน พบว่า ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชน มีคะแนนต่ำที่สุด
(โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางที่ 1)
ด้าน ครบ 1 ปี(คะแนน) ครบ 1 ปี 6 เดือน(คะแนน) เพิ่มขึ้น/ลดลง(คะแนน) 1. สุขภาพและการป้องกันโรคระบาด * - 5.78 - 2. การศึกษาและคุณภาพชีวิต 5.64 5.69 +0.05 3. สิ่งแวดล้อมการพัฒนาเมือง 5.67 5.40 -0.27 4. เศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ 5.21 5.18 -0.03 5. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.95 4.99 +0.04 6. การจราจรและระบบขนส่งมวลชน 5.07 4.96 -0.11 7. ด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง 5.46 - - เฉลี่ยรวม 5.33 5.33 0.00
หมายเหตุ
การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
- เป็นผลงานด้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจครั้งนี้
2. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ของการดำเนินงานในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่มุ่งหวังให้คนกรุงเทพฯ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท่านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือไม่
- ดีขึ้น ร้อยละ 20.2 - เหมือนเดิม ร้อยละ 67.3 - แย่ลง ร้อยละ 12.5
3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานหรือโครงการที่เด่นชัดน่าประทับใจ ในช่วง 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ครบ 1 ปี(ร้อยละ) ครบ 1 ปี 6 เดือน (ร้อยละ)
- เห็นว่ามีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ 25.7 35.6 - เห็นว่ายังไม่มีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ 74.3 64.4 รวม 100.0 100.0 โดยผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจในช่วง 1 ปี 6 เดือน (จากผู้ตอบ ร้อยละ 35.6) ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง) - การปรับภูมิทัศน์กรุงเทพฯ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสวนสาธารณะ ร้อยละ 7.9 - การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้า BTS รถด่วน BRT ร้อยละ 7.9 - การปรับปรุงสะพานข้ามแยกต่างๆ ทั่ว กทม. ปรับปรุงสภาพถนนและทางเท้า ร้อยละ 6.0
- การร่วมทำความสะอาดกรุงเทพฯ หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์
(โครงการ Big Cleaning Day) ร้อยละ 4.0 - การส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนกรุงเทพฯ เช่น การป้องกันโรคไข้หวัด 2009 ไข้เลือดออก ร้อยละ 3.2
- อื่นๆ เช่น การช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์
การแก้ปัญหาน้ำท่วม การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ร้อยละ 6.6
4. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 5.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ทำงานครบ 1 ปี พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า คะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. มีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยความซื่อสัตย์โปร่งใส มีคะแนนสูงที่สุด ส่วนความฉับไวในการแก้ปัญหา มีคะแนนต่ำที่สุด (โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางที่ 2)
ตารางที่ 3 คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ครบ 1 ปี (คะแนน) ครบ 1 ปี 6 เดือน(คะแนน) เพิ่มขึ้น / ลดลง(คะแนน) 1. ความซื่อสัตย์โปร่งใส 6.23 6.27 +0.04 2. ความขยันทุ่มเทในการทำงาน 5.80 5.99 +0.19 3. การปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ 5.32 5.69 +0.37 4. การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม 5.22 5.67 +0.45 5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ 5.29 5.67 +0.38 6. ความฉับไวในการแก้ปัญหา 5.22 5.43 +0.21 เฉลี่ยรวม 5.51 5.79 +0.28
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มถนน จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,307 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8 — 12 กรกฎาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 15 กรกฎาคม 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 652 49.9 หญิง 655 50.1 รวม 1,307 100.0 อายุ 18 ปี — 25 ปี 315 24.1 26 ปี — 35 ปี 320 24.5 36 ปี — 45 ปี 312 23.9 46 ปีขึ้นไป 360 27.5 รวม 1,307 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 737 56.4 ปริญญาตรี 493 37.8 สูงกว่าปริญญาตรี 62 4.7 ไม่ระบุการศึกษา 15 1.1 รวม 1,307 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 109 8.3 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 339 25.9 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 394 30.1 รับจ้างทั่วไป 159 12.2 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 134 10.3 อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 166 12.7 ไม่ระบุอาชีพ 6 0.5 รวม 1,307 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--