ด้วยวันที่ 29 สิงหาคมที่จะถึงนี้ตรงกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเรื่อง “คนกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 1,351 คน เมื่อวันที่ 12 - 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนร้อยละ 95.8 ทราบว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ก. ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคมนี้ มีเพียงร้อยละ 4.2 ที่ไม่ทราบ โดยในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 18-25 ปีถึงร้อยละ 40.4
ประชาชนร้อยละ 81.9 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีเพียงร้อยละ 9.7 ที่จะไม่ไปเนื่องจากต้องทำงาน ติดธุระไปต่างจังหวัด (ร้อยละ 4.1) เบื่อหน่ายการเมือง (ร้อยละ 2.6) และไม่รู้ว่าเลือก ส.ก.ไปทำหน้าที่อะไร (ร้อยละ 1.0) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งพบว่าเป็นกลุ่มเยาวชนมากที่สุด (ร้อยละ 26.7)
ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันดับแรกคือ เลือกผู้ที่มีผลงานแก้ปัญหาของชุมชน (ร้อยละ 43.4) รองลงมาคือ เลือกผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (ร้อยละ 18.2) และเลือกจากพรรคการเมืองเป็นหลัก (ร้อยละ 18.0)
สำหรับคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต พบว่า พรรคที่ได้คะแนนนิยมมากที่สุดได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 26.3) รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 20.4) และพรรคการเมืองใหม่ (ร้อยละ 3.8) อย่างไรก็ตามมีถึงร้อยละ 44.9 ที่ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร
ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า ร้อยละ 55.4 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 44.6 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
โปรดพิจารณารายละเอียดใน รายละเอียดต่อไปนี้
- ทราบ ร้อยละ 95.8 - ไม่ทราบ ร้อยละ 4.2
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าไม่ทราบถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า
เป็นผู้ที่มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 40.4 26-35 ปี ร้อยละ 24.6 36-45 ปี ร้อยละ 19.3 46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 15.7 2. ความคิดเห็นต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า - ตั้งใจว่าจะไป ร้อยละ 81.9 - ตั้งใจว่าจะไม่ไป ร้อยละ 9.7
โดยสาเหตุที่คิดว่าจะไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)
- ทำงาน ติดธุระ ไป ต่างจังหวัด ร้อยละ 4.1 - เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 2.6 - ไม่รู้ว่าเลือกไปทำหน้าที่อะไร ร้อยละ 1.0 - เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.9
- อื่นๆ อาทิเช่น ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว ไม่มีผู้สมัครที่สนใจจะเลือก ร้อยละ 1.1
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 8.4
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่ระบุว่าจะไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 29 สิงหาคม พบว่า
เป็นผู้ที่มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 26.7 26-35 ปี ร้อยละ 23.7 36-45 ปี ร้อยละ 24.4 46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.2 3. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า - เลือกผู้ที่มีผลงานแก้ปัญหาของชุมชน ร้อยละ 43.4 - เลือกผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ร้อยละ 18.2 - เลือกจากพรรคการเมืองเป็นหลัก ร้อยละ 18.0 - เลือกผู้ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริต ร้อยละ 11.3 - เลือกตามพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ร้อยละ 3.3 - อื่นๆ อาทิเช่น เลือกตามความชอบในตัวบุคคล เลือกผู้ที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด ร้อยละ 5.8 4. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 เขต พบว่า - จะเลือกผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 26.3 - จะเลือกผู้สมัครพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 20.4 - จะเลือกผู้สมัครพรรคการเมืองใหม่ ร้อยละ 3.8 - จะเลือกผู้สมัครกลุ่มอิสระ / ไม่สังกัดพรรค ร้อยละ 2.1 - จะไม่เลือกใครเลย ร้อยละ 2.5 - ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 44.9 5. ความเห็นต่อการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ของคนกรุงเทพฯ ในครั้งนี้ (พ.ศ. 2553)เปรียบเทียบกับครั้งที่แล้ว (พ.ศ. 2549) ที่มีผู้ไปใช้สิทธิ์เพียง 41.94 เปอร์เซนต์ พบว่า - เชื่อว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์พอๆ กับครั้งที่แล้ว ร้อยละ 42.2
- เชื่อว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์น้อยลง
(โดยให้เหตุผลว่า เบื่อหน่ายการเมือง เลือกไปก็เหมือนเดิมไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ) ร้อยละ 29.6
- เชื่อว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น
(โดยให้เหตุผลว่า มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ มีการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร ฯลฯ) ร้อยละ 28.2
- ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 40.8 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 14.6) ร้อยละ 55.4
- เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 28.3 และเชื่อมั่นมากร้อยละ 14.6) ร้อยละ 44.6
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มถนน จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,351 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 12 - 15 สิงหาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 19 สิงหาคม 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 667 49.4 หญิง 684 50.6 รวม 1,351 100.00 อายุ 18 ปี — 25 ปี 295 21.8 26 ปี — 35 ปี 340 25.2 36 ปี — 45 ปี 339 25.1 46 ปีขึ้นไป 377 27.9 รวม 1,351 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 784 58.1 ปริญญาตรี 442 32.7 สูงกว่าปริญญาตรี 72 5.3 ไม่ระบุระดับการศึกษา 53 3.9 รวม 1,351 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 80 5.9 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 326 24.1 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 463 34.3 รับจ้างทั่วไป 174 12.9 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 154 11.4 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน นักศึกษา 154 11.4 รวม 1,351 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--