ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,237 คน พบว่า คนกรุงเทพฯ เห็นว่าตนเองมีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตในระดับปานกลาง (เฉลี่ยรวม 5.94 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยความเสี่ยงด้านการเมืองยังคงมีคะแนนสูงที่สุดคือ 7.06 คะแนน รองลงมาคือความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย (6.51 คะแนน) ขณะที่ ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สินและความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทางมีคะแนนเท่ากัน (6.36 คะแนน) ตามลำดับ
ส่วนความพร้อมของกรุงเทพฯ ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในฤดูท่องเที่ยวที่จะถึงนี้ พบว่า คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.71 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยให้คะแนนความพร้อมด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยสูงสุดคือ 7.65 คะแนน และให้คะแนนความ พร้อมด้านคุณภาพอากาศต่ำที่สุดคือ 5.44 คะแนน ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยว กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพอากาศเป็นด้านที่ทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนกรุงเทพฯ ให้คะแนนต่ำที่สุดเหมือนกัน
สำหรับเรื่องที่คนกรุงเทพฯ คิดว่าจะมีส่วนทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ ในช่วงฤดูท่องเที่ยวที่จะถึงนี้มากที่สุดคือ ความไม่ สงบทางการเมือง (ร้อยละ 57.5) รองลงมาได้แก่ การสร้างสถานการณ์ความรุนแรง เช่น การวางระเบิด การยิงเอ็ม 79 (ร้อยละ 22.9) และ ภาวะเศรษฐกิจ (ร้อยละ 11.1)
ความเห็นต่อสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่า ร้อยละ 43.9 เห็นว่าให้ แก้ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองและการสร้างสถานการณ์ความรุนแรง รองลงมาร้อยละ 20.5 ให้สร้างความมั่นใจใน ความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินแก่นักท่องเที่ยว และร้อยละ10.9 ให้สร้างความปรองดองและความสามัคคีของคนในชาติ
ส่วนความเห็นต่อการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 64.9 เห็นว่าควรยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ขณะที่ร้อยละ 35.1 เห็นว่าไม่ควรยก เลิก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่าคนกรุงเทพฯ เห็นว่าควรยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 2.4
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. คะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยความเสี่ยงในด้านการเมือง มีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีคะแนนต่ำที่สุด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความเสี่ยงในด้านต่างๆ สำรวจเดือน ก.ค สำรวจเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น / ลดลง
(เต็ม 10 คะแนน) (เต็ม 10คะแนน)
1) ความเสี่ยงด้านการเมือง เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง 7.6 7.1 -0.5 ความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตยถูกสั่นคลอน 2) ความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย เช่น กินอาหารไม่ถูกสุขอนามัย มีสารพิษเจือปน ขาดการออกกำลังกาย ได้รับมลพิษทางอากาศและทางน้ำ ฯลฯ 6.6 6.5 -0.1 3) ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย 5.9 6.4 0.45 ถูกลูกหลง โจรกรรม ทรัพย์สิน ฉกชิงวิ่งราว และล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ 4) ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร 6 6.4 0.35 การเดินทาง ตกรถ ตกเรือ ฯลฯ 5) ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน เช่น มีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ 6.4 6.3 -0.1 มีภาระ หนี้สิน หรือมีโอกาสเป็นหนี้ ฯลฯ 6) ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตใจ เช่นความเครียด วิตกกังวล ทุกข์ใจ 6 5.9 -0.2 ซึมเศร้า ฯลฯ 7) ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ เช่น มีโอกาสตกงาน ถูกลดเงินเดือน 5.7 5.7 0.04 รายได้ลดลง หน้าที่การงานไม่มั่นคง 8) ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น 5.9 5.6 -0.3 ความเสี่ยงที่จะสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ความสัมพันธ์ในชุมชน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และห่างไกลจากศาสนา 9) ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง เช่น พายุ 5.4 5.2 -0.1 น้ำท่วม แผ่นดินไหว โรคไข้หวัด 2009 ฯลฯ 10) ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายร่างกาย ห่างเหิน ไม่เข้าใจกัน และความแตกแยกในครอบครัว 3.9 4.4 0.53 เฉลี่ยรวม 5.9 5.9 0
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
2. การให้คะแนนความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.71 คะแนน จาก
คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยความพร้อมในด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยมีคะแนนสูงสุด และความพร้อมในด้านคุณภาพอากาศมีคะแนนต่ำสุด ทั้งนี้
เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26—29 มี.ค. 2553ที่ผ่านมา พบว่า
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้คะแนนความพึงพอใจด้านอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุด และให้คะแนนความพึงพอใจด้านคุณภาพอากาศต่ำที่สุด ดังนี้
ด้าน การให้คะแนนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การให้คะแนนความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
สำรวจเมื่อ 26-29 มี.ค. 53(คะแนน เต็ม 10) ของคนกรุงเทพฯสำรวจเมื่อ 28-29 ส.ค. 53(คะแนน เต็ม 10)
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย* - 7.7 แหล่งช้อปปิ้ง* - 7.6 ความสวยงามน่าประทับใจของสถานที่ท่องเที่ยว 8.1 7.6 อาหารและเครื่องดื่ม 8.5 7.4 ความคุ้มค่าเงิน 8.2 7 อัธยาศัยไมตรีของคนไทย 8.3 6.9 บริการจากมัคคุเทศก์ 7.6 6.5 ข้อมูลด้านการเดินทางท่องเที่ยว 7.5 6.5 ระบบขนส่งสาธารณะ 7.5 6.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว 7.8 5.9 ความสะอาด 6.6 5.6 คุณภาพอากาศ 5.7 5.4 เฉลี่ยรวม 7.6 6.7
หมายเหตุ
การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
- เป็นด้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจครั้งนี้
ความไม่สงบทางการเมือง ร้อยละ 58 การสร้างสถานการณ์ เช่น การวางระเบิด การยิงเอ็ม 79 ร้อยละ 23 ภาวะเศรษฐกิจ ร้อยละ 11 ความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ 5.1 การเกิดโรคระบาด เช่น ไข้หวัด 2009 ร้อยละ 3.4 4. ความเห็นต่อสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกเพื่อสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง) แก้ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองและการสร้างสถานการณ์ เช่น ร้อยละ 44 การวางระเบิด การยิงเอ็ม 79 สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้แก่นักท่องเที่ยว ร้อยละ 21 สร้างความปรองดองและความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 11 แก้ปัญหาความสะอาดและปัญหามลพิษทางอากาศ ร้อยละ 5.7 แก้ไขเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น ร้อยละ 4.8 แก้ปัญหาการจราจรติดขัด ร้อยละ 3.6 ปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ให้สวยงาม ร้อยละ 2.3 อื่นๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ร้อยละ 8.3 ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ 5. ความเห็นต่อการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สำรวจเดือน ก.ค.(ร้อยละ) สำรวจเดือน ส.ค.(ร้อยละ) เพิ่มขึ้น / ลดลง(ร้อยละ) เห็นด้วย 62.5 64.9 +2.4 ไม่เห็นด้วย 37.5 35.1 -2.4
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 เขต จาก 50 เขต ทั้ง เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวันประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วัฒนา สวน หลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บ ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,237 คน เป็นชายร้อยละ 49.0 และหญิงร้อยละ 51.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 - 29 สิงหาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 กันยายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 606 49.0 หญิง 631 51.0 รวม 1,237 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 305 24.6 26 - 35 ปี 340 27.5 36 - 45 ปี 299 24.2 46 ปีขึ้นไป 293 23.7 รวม 1,237 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 696 56.3 ปริญญาตรี 457 36.9 สูงกว่าปริญญาตรี 72 5.8 ไม่ระบุการศึกษา 12 1.0 รวม 1,237 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 77 6.2 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 384 31.1 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 359 29.0 รับจ้างทั่วไป 147 11.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 102 8.2 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 159 12.9 ไม่ระบุอาชีพ 9 0.7 รวม 1,237 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--