ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชน 1,249 คน จาก 21 จังหวัดในทุกภาคของประเทศ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มี ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงษ์ เป็นประธาน ซึ่งได้เสนอ แนวคิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ ตามที่ได้มีการแถลงเมื่อวันที่ 18 และ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า
ประชาชนเห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ ฯ เกือบทุกประเด็น ได้แก่
- เรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ให้พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากเป็นอันดับ 1 ได้จัดตั้งรัฐบาลก่อน (เห็นด้วยร้อยละ 85.2)
- เรื่องการยุบพรรคการเมือง ในกรณีทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ตามมาตรา 237 โดยกำหนดให้ลงโทษเฉพาะผู้กระทำผิด ถ้าผู้สมัครทำผิด
- แยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดให้คนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีต้องลาออกจาก ส.ส.ก่อน (เห็นด้วยร้อยละ 72.6)
- การเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ให้กลับไปใช้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 (เห็นด้วยร้อยละ 69.7)
- การเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ให้กลับไปใช้รูปแบบบัญชีเดียวทั่วประเทศโดยไม่แบ่งเป็นเขตภาค (เห็นด้วยร้อยละ 59.4)
- ที่มาของ ส.ส. ตามมาตรา 93-98 เสนอให้มี ส.ส.จำนวน 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.ระบบแบ่งเขต 375 คน และ ส.ส.ระบบบัญชี
รายชื่อ 125 คน (เห็นด้วยร้อยละ 56.1)
ส่วน ประเด็นเรื่องการสังกัดพรรคการเมือง ที่เสนอให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ต้องสังกัดพรรค และสมาชิกพรรคไม่จำเป็นต้องฟังมติพรรค นั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วย (ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 )
สำหรับสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74.6) ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ดำเนินการหลังได้รับรายงานสรุปแนวทางการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญจากคณะกรรมการฯ แล้วคือให้ทำประชามติเพื่อถามความเห็นจากประชาชนก่อน โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 34.5 ต้องการ ให้ทำประชามติภาย ใน 3 เดือน ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.9) ระบุว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ จะส่งผลในทางบวกต่อการ เมืองไทย เช่น เกิดการพัฒนาทางการเมือง ทำให้ประเทศไทยมีความสมานฉันท์ ฯลฯ
เมื่อถามว่าบรรยากาศทางการเมืองในช่วงเวลานี้เหมาะสมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 46.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ ใน ขณะที่ร้อยละ 27.8 เห็นว่ายังไม่เหมาะสม เพราะปัจจุบันยังมีความคิดต่างกันอยู่ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก และควรให้ความรู้แก่ประชาชน ก่อน ขณะที่ร้อยละ 26.2 เห็นว่าเหมาะสม เพราะ สถานการณ์บ้านเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว และการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช่วยให้การเมืองมี ความชัดเจนยิ่งขึ้น
โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้
ประเด็นที่เสนอให้มีการแก้ไข เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 1) เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลให้พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากเป็นอันดับ 1 ได้จัดตั้งรัฐบาลก่อน 85.2 14.8 2) เรื่องการยุบพรรคการเมืองในกรณีทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ตามมาตรา 237 โดยกำหนดให้ลงโทษ เฉพาะผู้ที่กระทำผิด ถ้าผู้สมัครทำผิดให้ตัดสิทธิทางการเมืองของผู้สมัคร 5 ปี ถ้ากรรมการบริหารพรรค มีส่วนรู้เห็นให้ตัดสิทธิ 10 ปี และถ้าหัวหน้าพรรคมีส่วนรู้เห็นให้ตัดสิทธิ 15 ปี โดยไม่ต้องยุบพรรคการเมือง (เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันที่ตัดสินให้ยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของหัวหน้าพรรคและกรรมการ บริหารพรรค เป็นเวลา 5 ปี) 73.0 27.0 3) แยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดให้คนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีต้องลาออก จาก ส.ส.ก่อน (เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันที่รัฐมนตรีไม่ต้องพ้นจากการเป็น ส.ส.เมื่อรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี) 72.6 27.4 4) การเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ให้กลับไปใช้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 (เปลี่ยนจากปัจจุบันที่ใช้ระบบเขตใหญ่เรียงเบอร์) 69.7 30.3 5) การเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ให้มีจำนวน 125 คน โดยให้กลับไปใช้รูปแบบบัญชีเดียวทั่วประเทศ โดยไม่แบ่งเป็นเขตภาค (เปลี่ยนจากปัจจุบันที่มีจำนวน 80 คน โดยใช้ระบบสัดส่วน แบ่งเป็น 8 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 10 คน) 59.4 40.6 6) ที่มาของ ส.ส. ตามมาตรา 93-98 เสนอให้มี ส.ส.จำนวน 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.ระบบแบ่งเขต 375 คน และ ระบบบัญชีรายชื่อ 125 คน (เปลี่ยนจากปัจจุบันที่มีจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 480 คน แยกเป็น ส.ส.ระบบแบ่งเขต 400 คน และ ส.ส.สัดส่วน 80 คน) 56.1 43.9 7) เรื่องการสังกัดพรรคการเมือง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ต้องสังกัดพรรค และสมาชิกพรรคไม่ต้องฟังมติพรรค (เปลี่ยนจากปัจจุบันที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 วัน ยกเว้น การยุบสภาต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 วัน) 47.2 52.8 2. สิ่งที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ดำเนินการหลังจากได้รับรายงานสรุปแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่กล่าวมาจากคณะกรรมการฯ คือ - ให้ทำประชามติ เพื่อถามความเห็นจากประชาชนก่อน ร้อยละ 74.6
โดยระบุให้ทำภายในระยะเวลา
3 เดือน ร้อยละ 34.5 6 เดือน ร้อยละ 27.2 9 เดือน ร้อยละ 3.5 1ปี ร้อยละ 7.2
อื่นๆ ได้แก่ ให้ทำทันที ทำให้ทันสมัยของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ร้อยละ 2.2
- ให้สภาพิจารณาและลงมติทันทีโดยไม่ต้องทำประชามติ ร้อยละ 15.5 - ให้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกรอบ ร้อยละ 9.9 3. ประชาชนมีความเห็นว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ในประเด็นต่างๆ ข้างต้น จะส่งผลต่อการเมืองไทย คือ - ส่งผลในทางบวก ร้อยละ 72.9
เชื่อว่าจะ
เกิดการพัฒนาทางการเมืองไทย ร้อยละ 20.1 ทำให้ประเทศไทยมีความสมานฉันท์ ร้อยละ 18.1 ทำให้ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ร้อยละ 15.8
เปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานการเมือง ร้อยละ 15.3
สามารถลด / แก้ปัญหา การซื้อสิทธิ ขายเสียงได้ ร้อยละ 3.6 - เหมือนเดิม ร้อยละ 14.8
เชื่อว่าจะ
นักการเมืองยังคงนึกถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเป็นหลัก ร้อยละ 9.2
นักการเมืองและคนไทยบางกลุ่มยังแบ่งข้างแบ่งสีกันอยู่ ร้อยละ 3.8 ได้ ส.ส.หน้าเดิมๆ จากพรรคการเมืองเดิม ร้อยละ 1.8 - ส่งผลในทางลบ ร้อยละ 12.3
เชื่อว่าจะ
เป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น ร้อยละ 7.4 เกิดปัญหาการซื้อสิทธิ ขายเสียง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9 ทำให้การอนุมัติโครงการเพื่อพัฒนาประเทศล่าช้า ร้อยละ 1.6 ได้รัฐบาลผูกขาดพรรคเดียว ร้อยละ 1.4 4. เมื่อถามถึงบรรยากาศทางการเมืองในช่วงเวลานี้ว่าเหมาะสมที่จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ พบว่า - เห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 27.8
(โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันยังมีความคิดต่างกันอยู่ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก
และควรให้ความรู้แก่ประชาชนก่อน ฯลฯ)
- เห็นว่าเหมาะสม ร้อยละ 26.2
(โดยให้เหตุผลว่า สถานการณ์บ้านเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว ช่วยให้การเมืองมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
และบ้านเมืองเริ่มสงบแล้ว ฯลฯ)
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 46.0
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ จากทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวน 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา พะเยา ภูเก็ต เพชรบูรณ์ ระนอง ราชบุรี สงขลา สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และ อุบลราชธานี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,249 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.8 และ เพศหญิง ร้อยละ 49.2
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสุ่มโทรศัพท์สัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบ ถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัย ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 - 31 สิงหาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 3 กันยายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 635 50.8 หญิง 614 49.2 รวม 1,249 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 311 24.8 26 ปี — 35 ปี 342 27.4 36 ปี — 45 ปี 308 24.7 46 ปีขึ้นไป 288 23.1 รวม 1,249 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 658 52.7 ปริญญาตรี 536 43.0 สูงกว่าปริญญาตรี 55 4.3 รวม 1,249 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 174 13.9 พนักงานบริษัทเอกชน 316 25.3 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 371 29.8 รับจ้างทั่วไป 122 9.7 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 52 4.2 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 214 17.1 รวม 1,249 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--