GDP ประเทศขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี แต่คนไทย 44.3 % ยังเป็นหนี้
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “GDP ภาคประชาชน” โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน จำนวน 1,130 คน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนร้อยละ 59.9 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในขณะนี้ว่าอยู่ในสภาวะที่ “ไม่ค่อยดี” โดยมีประชาชนที่ระบุว่ารายได้ในเดือนสิงหาคม 53 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ในเดือนกรกฎาคม 53 มากกว่าผู้ที่ระบุว่ารายได้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีประชาชนร้อยละ 28.6 มีรายได้ที่ลดลง ส่วนประชาชนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นมีเพียงร้อยละ 9.6 ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 มีรายได้ไม่เปลี่ยนแปลง และเมื่อนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมมาพิจารณาร่วมด้วยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.9 มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายแต่ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 22.2 เท่านั้นที่เหลือเก็บเป็นเงินออม ขณะที่ประชาชน ร้อยละ 39.7 ไม่มีเงินออม สำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายนั้น ร้อยละ 29.5 ชดเชยความไม่สมดุลดังกล่าวด้วยการกู้เงินหรือหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 8.6 ต้องเอาเงินออมออกมาใช้
ด้านสถานะทางการเงินในปัจจุบัน ประชาชนร้อยละ 44.3 มีหนี้สิน ร้อยละ 30.2 ไม่มีทั้งเงินออมและหนี้สิ้น มีเพียงร้อยละ 25.5 เท่านั้นที่มีเงินออม ด้านการได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลนับจากต้นปีถึงปัจจุบัน มีประชาชนร้อยละ 53.4 ระบุว่าไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการของรัฐบาลเลย ส่วนที่เหลือร้อยละ 46.6 ได้รับประโยชน์ โดยโครงการที่ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุดคือ โครงการน้ำฟรี ไฟฟ้าฟรี รถเมล์ฟรี รถไฟชั้น 3 ฟรี (ร้อยละ 41.2) รองลงมาเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี (ร้อยละ 18.8)
ปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากที่สุดและต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในขณะนี้ คือ ปัญหาราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นจึงต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยควบคุมราคาสินค้ามากที่สุด (ร้อยละ 39.4) รองลงมาเป็นปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำจึงต้องการให้รัฐบาลเข้ามาประกันราคาสินค้าเกษตรให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกชนิด (ร้อยละ 10.0)
สำหรับแนวคิดของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวัน ประชาชนร้อยละ 64.5 เชื่อว่ารัฐบาลสามารถทำได้สำเร็จ ที่เหลือร้อยละ 35.5 เชื่อว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นมาตรการที่ทำยากและคิดว่าเกินความสามารถของรัฐบาล (ร้อยละ 5.7) ตลอดจนนายจ้างคงไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5.7)
(ดังรายละเอียดต่อไปนี้)
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.6 เหมือนเดิม/คงที่ ร้อยละ 61.8 ลดลง ร้อยละ 28.6 2. รายได้ของท่านในเดือนสิงหาคมเพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ เพียงพอกับรายจ่ายและมีเงินออม ร้อยละ 22.2 เพียงพอกับรายจ่ายแต่ไม่มีเงินออม ร้อยละ 39.7 ไม่เพียงพอกับรายจ่ายจึงต้องมีการหยิบยืม/กู้ ร้อยละ 29.5 ไม่เพียงพอกับรายจ่ายจึงต้องเอาเงินออมมาใช้ ร้อยละ 8.6 3. สถานะทางการเงินของประชาชน ณ ปัจจุบัน มีเงินออม ร้อยละ 25.5 มีหนี้สิน ร้อยละ 44.3 ไม่มีเงินออม/แต่ก็ไม่มีหนี้สิน ร้อยละ 30.2 4. นับจากต้นปีถึงปัจจุบัน ท่านได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการใดของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการใดเลย ร้อยละ 53.4 ได้รับประโยชน์ คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ร้อยละ 46.6 โครงการน้ำฟรี ไฟฟ้าฟรี รถเมล์ฟรี รถไฟชั้น 3 ฟรี ร้อยละ 41.2 เรียนฟรี 15 ปี ร้อยละ 18.8 โครงการประกันราคาพืชผลการเกษตร ร้อยละ 9.4 โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา ร้อยละ 6.5 โครงการธงฟ้าช่วยประชาชน ร้อยละ 4.5 โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 2.8 ต้นกล้าอาชีพ ร้อยละ 2.6 อื่นๆ สวัสดิการเพื่อทหารและตำรวจ/ค่าตอบแทน อสม. ร้อยละ 1.7 5. ปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ท่านเดือนร้อนมากที่สุดและอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือมากที่สุดในขณะนี้ (คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ) ราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น จึงอยากให้รัฐช่วยควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 39.4 ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จึงอยากให้รัฐมีการประกันราคาสินค้าเกษตรให้ครอบคลุม ร้อยละ 10.0 ดูแลค่าจ้างขั้นต่ำ รวมถึงเงินเดือนของลูกจ้าง ให้เพียงพอกับค่าครองชีพ ร้อยละ 8.7 เศรษฐกิจโดยรวมไม่ดี คนไม่ค่อยจับจ่าย ทำให้การค้าขายไม่ดีตามไปด้วย จึงอยากให้รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้น ร้อยละ 6.6 น้ำมันมีราคาแพง จึงเสนอให้มีการดูแลราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด ร้อยละ 6.1 อื่นๆ เช่น ดูแลปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ต้นทุนการทำการเกษตร ส่งเสริมการมีงานทำ เป็นต้น ร้อยละ 29.2 6. ท่านเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลจะสามารถปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวัน ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้ เชื่อว่ารัฐบาลสามารถทำได้ ร้อยละ 64.5 เชื่อว่ารัฐบาลไม่สามารถทำได้ ร้อยละ 35.5 เพราะ เป็นมาตรการที่ทำยากเกินความสามารถของรัฐบาล ร้อยละ 5.7 นายจ้างคงไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ต้นทุนเพิ่ม ร้อยละ 5.7 รัฐบาลไม่มีความพร้อมด้านงบประมาณ ร้อยละ 4.9 รัฐบาลขาดความจริงใจในการแก้ปัญหา/เอาแต่พูด ร้อยละ 4.2 ไม่มั่นใจในเสถียรภาพของรัฐบาล/การเมืองยังไม่นิ่ง ร้อยละ 3.4 เศรษฐกิจยังไม่ดี/นายจ้างยังไม่พร้อม ร้อยละ 3.2 ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 1.6 ค่าแรงปรับเพิ่มขึ้นเยอะเกินไป ร้อยละ 1.5 อื่นๆ เช่น กระทบการลงทุน ค่าครองชีพแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ร้อยละ 5.3 7. ท่านคิดว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในขณะนี้เป็นอย่างไร ดีเยี่ยม ร้อยละ 0.9 ดี ร้อยละ 20.8 ไม่ค่อยดี ร้อยละ 59.9 ย่ำแย่ ร้อยละ 18.4
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อศึกษาสถานะทางการเงินของประชาชนในเดือนสิงหาคม 2553 ว่าเป็นอย่างไร รายได้เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ และได้รับประโยชน์จากโครงการของภาครัฐบ้างหรือไม่ รวมถึงความคิดเห็นต่อประเด็นเศรษฐกิจต่างๆ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อยู่ในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ จากทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดระยอง จังหวัดนครสรรค์ จังหวัดลำปาง จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสงขลา และ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,130 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.1 และเพศหญิง ร้อยละ 52.9
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1 - 5 กันยายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 กันยายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 532 47.1 หญิง 598 52.9 รวม 1,130 100.0 อายุ 18 ปี — 25 ปี 221 19.5 26 ปี — 35 ปี 284 25.2 36 ปี — 45 ปี 305 27.0 46 ปีขึ้นไป 320 28.3 รวม 1,130 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 680 60.2 ปริญญาตรี 380 33.7 สูงกว่าปริญญาตรี 70 6.1 รวม 1,130 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 138 12.3 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 263 23.2 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 272 24.1 รับจ้างทั่วไป 135 12.0 เกษตรกร 237 20.9 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 42 3.8 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน 43 3.7 รวม 1,130 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--