นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มาจนถึงปัจจุบัน ได้มีเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวด้านการเมืองหลาย
อย่างเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลสำคัญต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศไทยทั้งสิ้น นับตั้งแต่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับ
ปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไป การดำเนินการเกี่ยวกับคดียุบพรรคการเมือง การดำเนินการเอาผิดเรื่องทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลชุดที่แล้ว และการเคลื่อน
ไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็น
เรื่อง “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ใน
ทุกภาคของประเทศ ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และชลบุรี จำนวน 1,321 คน เมื่อวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์
2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกที่ประชาชนมีต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
- รู้สึกว่าน่าเป็นห่วง ร้อยละ 88.2
(โดยเห็นว่าน่าเป็นห่วงมากร้อยละ 39.0 และค่อนข้างน่าเป็นห่วงร้อยละ 49.2)
- รู้สึกว่าไม่น่าเป็นห่วง ร้อยละ 11.8
(โดยเห็นว่าไม่น่าเป็นห่วงเลยร้อยละ 3.3 และไม่ค่อยน่าเป็นห่วงร้อยละ 8.5)
2. ประเด็นทางการเมืองที่ประชาชนมองว่าน่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่
- เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่...........................................ร้อยละ 17.5
- เรื่องความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจและการปฏิวัติซ้อน............................ร้อยละ 16.6
- เรื่องการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร................................ร้อยละ 16.5
- เรื่องการทำงานของรัฐบาล...............................................ร้อยละ 15.9
- เรื่องการดำเนินการเอาผิดในคดีทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ....................ร้อยละ 15.7
- เรื่องการสืบทอดอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ..........................ร้อยละ 11.9
- เรื่องคดียุบพรรคการเมือง................................................ร้อยละ 3.5
- เรื่องอื่นๆ อาทิ เรื่องปัญหาความไม่สงบในภาคใต้...............................ร้อยละ 2.4
3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยคลี่คลายลงได้
- เชื่อมั่นว่าจะทำได้................ร้อยละ 46.3
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 5.7 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 40.6)
- ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้..............ร้อยละ 53.7
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 10.1 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 43.6)
4. การคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าเมื่อครบกำหนดที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ
- เชื่อว่าจะดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน ร้อยละ 24.6
- เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน ร้อยละ 31.9
- เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าในปัจจุบัน ร้อยละ 8.2
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 35.3
5. ความต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
- ต้องการ ร้อยละ 29.1
- ไม่ต้องการ ร้อยละ 69.8
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.1
6. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- เร่งทำงานให้เต็มที่เพื่อบ้านเมือง................................................ร้อยละ 24.5
- ให้เข้มแข็ง เด็ดขาด และกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง................................ร้อยละ 17.8
- ทำดีแล้วขอเป็นกำลังใจให้.....................................................ร้อยละ 14.0
- แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ให้ได้เสียที..........................................ร้อยละ 9.3
- เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องในคดีทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ...................ร้อยละ 8.2
- เร่งแก้ปัญหาความยากจน และค่าครองชีพ..........................................ร้อยละ 8.0
- เร่งคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ.......................ร้อยละ 7.4
- ดูแลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ดีเพื่อจะได้คืนอำนาจให้ประชาชน...................ร้อยละ 5.1
- ให้ลาออกเพราะไม่เห็นผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม...................................ร้อยละ 2.4
- ให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศไทย...........ร้อยละ 1.2
- อื่นๆ อาทิ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก แก้ปัญหาเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ
และชี้แจงทำความเข้าใจกับต่างประเทศให้ชัดเจน....................................ร้อยละ 2.1
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่ออนาคตทางการเมืองของไทย ในประเด็นเกี่ยวกับ
1. ความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
2. ประเด็นทางการเมืองที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้
3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยคลี่คลายลงได้
4. การคาดการณ์อนาคตทางการเมืองของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อครบกำหนดที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะแล้วเสร็จ
5. สิ่งที่อยากฝากไปถึงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
ระเบียบวิธีการสำรวจ
โครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน” นี้ใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา พระนครศรี
อยุธยา นครปฐม และชลบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมาย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,321 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.0
และเพศหญิงร้อยละ 53.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13-19 กุมภาพันธ์ 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 621 47.0
หญิง 700 53.0
อายุ
18-25 ปี 328 24.8
26-35 ปี 519 39.3
36-45 ปี 294 22.3
46 ปีขึ้นไป 180 13.6
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 547 41.4
ปริญญาตรี 646 48.9
สูงกว่าปริญญาตรี 128 9.7
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 304 23.0
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 226 17.1
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 467 35.4
รับจ้างทั่วไป 161 12.2
เกษตรกร ชาวประมง 41 3.1
อื่นๆ อาทิ นิสิต นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ 122 9.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
อย่างเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลสำคัญต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศไทยทั้งสิ้น นับตั้งแต่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับ
ปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไป การดำเนินการเกี่ยวกับคดียุบพรรคการเมือง การดำเนินการเอาผิดเรื่องทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลชุดที่แล้ว และการเคลื่อน
ไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็น
เรื่อง “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ใน
ทุกภาคของประเทศ ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และชลบุรี จำนวน 1,321 คน เมื่อวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์
2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกที่ประชาชนมีต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
- รู้สึกว่าน่าเป็นห่วง ร้อยละ 88.2
(โดยเห็นว่าน่าเป็นห่วงมากร้อยละ 39.0 และค่อนข้างน่าเป็นห่วงร้อยละ 49.2)
- รู้สึกว่าไม่น่าเป็นห่วง ร้อยละ 11.8
(โดยเห็นว่าไม่น่าเป็นห่วงเลยร้อยละ 3.3 และไม่ค่อยน่าเป็นห่วงร้อยละ 8.5)
2. ประเด็นทางการเมืองที่ประชาชนมองว่าน่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่
- เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่...........................................ร้อยละ 17.5
- เรื่องความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจและการปฏิวัติซ้อน............................ร้อยละ 16.6
- เรื่องการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร................................ร้อยละ 16.5
- เรื่องการทำงานของรัฐบาล...............................................ร้อยละ 15.9
- เรื่องการดำเนินการเอาผิดในคดีทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ....................ร้อยละ 15.7
- เรื่องการสืบทอดอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ..........................ร้อยละ 11.9
- เรื่องคดียุบพรรคการเมือง................................................ร้อยละ 3.5
- เรื่องอื่นๆ อาทิ เรื่องปัญหาความไม่สงบในภาคใต้...............................ร้อยละ 2.4
3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยคลี่คลายลงได้
- เชื่อมั่นว่าจะทำได้................ร้อยละ 46.3
(โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 5.7 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 40.6)
- ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้..............ร้อยละ 53.7
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 10.1 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 43.6)
4. การคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าเมื่อครบกำหนดที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ
- เชื่อว่าจะดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน ร้อยละ 24.6
- เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน ร้อยละ 31.9
- เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าในปัจจุบัน ร้อยละ 8.2
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 35.3
5. ความต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
- ต้องการ ร้อยละ 29.1
- ไม่ต้องการ ร้อยละ 69.8
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.1
6. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- เร่งทำงานให้เต็มที่เพื่อบ้านเมือง................................................ร้อยละ 24.5
- ให้เข้มแข็ง เด็ดขาด และกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง................................ร้อยละ 17.8
- ทำดีแล้วขอเป็นกำลังใจให้.....................................................ร้อยละ 14.0
- แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ให้ได้เสียที..........................................ร้อยละ 9.3
- เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องในคดีทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ...................ร้อยละ 8.2
- เร่งแก้ปัญหาความยากจน และค่าครองชีพ..........................................ร้อยละ 8.0
- เร่งคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ.......................ร้อยละ 7.4
- ดูแลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ดีเพื่อจะได้คืนอำนาจให้ประชาชน...................ร้อยละ 5.1
- ให้ลาออกเพราะไม่เห็นผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม...................................ร้อยละ 2.4
- ให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศไทย...........ร้อยละ 1.2
- อื่นๆ อาทิ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก แก้ปัญหาเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ
และชี้แจงทำความเข้าใจกับต่างประเทศให้ชัดเจน....................................ร้อยละ 2.1
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่ออนาคตทางการเมืองของไทย ในประเด็นเกี่ยวกับ
1. ความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
2. ประเด็นทางการเมืองที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้
3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยคลี่คลายลงได้
4. การคาดการณ์อนาคตทางการเมืองของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อครบกำหนดที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะแล้วเสร็จ
5. สิ่งที่อยากฝากไปถึงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
ระเบียบวิธีการสำรวจ
โครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน” นี้ใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา พระนครศรี
อยุธยา นครปฐม และชลบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมาย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,321 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.0
และเพศหญิงร้อยละ 53.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13-19 กุมภาพันธ์ 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 621 47.0
หญิง 700 53.0
อายุ
18-25 ปี 328 24.8
26-35 ปี 519 39.3
36-45 ปี 294 22.3
46 ปีขึ้นไป 180 13.6
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 547 41.4
ปริญญาตรี 646 48.9
สูงกว่าปริญญาตรี 128 9.7
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 304 23.0
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 226 17.1
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 467 35.4
รับจ้างทั่วไป 161 12.2
เกษตรกร ชาวประมง 41 3.1
อื่นๆ อาทิ นิสิต นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ 122 9.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-