เศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 2, 2010 17:30 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 12/2553

ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนกันยายน 2553 โดยรวมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอลงบ้างจากเดือนก่อน โดยรายได้เกษตรกรยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับสูง การค้าและการอุปโภคบริโภคชะลอตัวลงบ้าง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐที่รวมโครงการไทยเข้มแข็งในปีงบประมาณ 2553 มีการเบิกจ่ายสูงขึ้นจากปีก่อน ด้านการส่งออกชะลอตัวในขณะที่การนาเข้าหดตัวเล็กน้อย สาหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมแม้จะยังคงหดตัวแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกและการผลิตวัสดุก่อสร้าง ด้านการท่องเที่ยวชะลอตัว อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่า เงินเฟ้อลดลงเล็กน้อย ส่วนเงินให้สินเชื่อเร่งตัว และเงินฝากขยายตัว

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ มีดังนี้

การผลิตในภาคเหนือยังคงหดตัวแต่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 3.1 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัวร้อยละ 21.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจากอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ เครื่องประดับและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังชะลอตัว ส่วนดัชนีผลผลิตพืชสาคัญหดตัวร้อยละ 5.6 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 11.0 ในเดือนก่อน ตามการลดลงของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปี ลาไย และหอมแดงที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้เกษตรกรจะชะลอลงแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูงตามผลผลิตที่ลดลง ด้านการท่องเที่ยวชะลอตัวจากเดือนก่อนจากนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในภูมิภาคน้อยลง ภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคาร จานวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน และอัตราการเข้าพักโรงแรมยังคงลดลง ส่วนดัชนีการค้าขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 14.3 ในหมวดค้าปลีกโดยเฉพาะสินค้าคงทน (เครื่องใช้ไฟฟ้า) ยอดขายของห้างสรรพสินค้า และหมวดยานยนต์ ในขณะที่หมวดค้าส่งขยายตัวเพิ่มขึ้น

อุปสงค์ในภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อน ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของธุรกิจชะลอตัวโดยเฉพาะหมวดการค้าส่งค้าปลีกในเขตภาคเหนือตอนล่าง ขณะที่ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์รถจักรยานยนต์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากเงื่อนไขการผ่อนชาระที่ผ่อนปรนและอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจเนื่องจากมีการแข่งขันสูง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ตามการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย รวมถึงการนาเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่แรงกระตุ้นจากภาครัฐตามการเบิกจ่ายตามงบประมาณปี 2553 เมื่อรวมงบโครงการไทยเข้มแข็งแล้วปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 14.8

อุปสงค์จากต่างประเทศ การส่งออก ขยายตัวร้อยละ 13.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 ในเดือนก่อน จากสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ส่วนการส่งออกเลนส์กล้องถ่ายรูป เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่ง และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพดและใบยาสูบปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การส่งออกผ่านด่านชายแดนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน จากการส่งออกไปประเทศลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นมาก แต่การส่งออกไปพม่ายังได้รับผลกระทบจากการปิดด่านแม่สอด - เมียวดี ด้านการนาเข้าลดลงร้อยละ 2.4 ตามการนาเข้าผักผลไม้และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้าที่ลดลงมาก รวมทั้งการนาเข้าวัตถุดิบ สินค้าทุน และสินค้าผ่านแดนชะลอตัว

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคเหนืออยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่ากว่าเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.7 จากราคาเชื้อเพลิง เนื้อสุกร และไข่ไก่ที่ปรับลดลงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาอาหารสดประเภทผักและผลไม้จะยังมีราคาสูง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0

การจ้างงานในเดือนสิงหาคม 2553 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจก่อสร้างเป็นสาคัญ โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่าที่ร้อยละ 1.1

เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ขยายตัวร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน จากการที่ส่วนกลางเร่งจัดสรรเงินงบประมาณในช่วงเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2553 รวมถึงเงินโครงการไทยเข้มแข็งให้กับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนเงินให้สินเชื่อขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 12.5 ตามความต้องการสินเชื่อโดยกระจายไปในหลายภาคธุรกิจ ได้แก่ สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ตัวกลางทางการเงิน และค้าปลีกค้าส่ง

สาหรับภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยการส่งออกชะลอตัวโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ความต้องการในต่างประเทศลดลง การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็นผลจากการลงทุนด้านก่อสร้างที่ลดลงจากฐานสูงในปีก่อน อย่างไรก็ดี ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์พาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดี ส่วนรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลสาคัญกอปรกับการจ้างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวแม้ว่าจะปรับดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส จากปริมาณวัตถุดิบภาคเกษตรที่เข้าสู่โรงงานลดลงและการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว ด้านการท่องเที่ยวได้รับผลดีบ้างจากกิจกรรมของภาครัฐ ขณะที่จานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังคงลดลง อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่า ส่วนเงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณชนินทร์ เพชรไทย

โทร 0 5393 1157

E-mail: Chaninp@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ