ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 5, 2010 11:24 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 54/2553

นางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้อานวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2553 มีเสถียรภาพ สินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สภาพคล่องผ่อนคลายขึ้นจากเงินฝากรวมตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange : B/E) ที่เร่งขึ้น สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) ลดลงอย่างต่อเนื่อง กาไรจากการดาเนินงานทรงตัว ขณะที่กาไรสุทธิลดลงเล็กน้อยจากภาระภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น ฐานะเงินกองทุนมั่นคงเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการรองรับปัจจัย ท้าทายในช่วงต่อไป

สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อน จากการขยายตัวเร่งขึ้นทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจ และสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยสินเชื่อภาคธุรกิจ (สัดส่วนร้อยละ 70.9 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ 4.5 ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวตามอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้สินเชื่อ SME (สัดส่วนร้อยละ 52.6 ของสินเชื่อภาคธุรกิจ) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.1 สาหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.6 จากการเร่งตัวของสินเชื่อเกือบทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้สิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน 2553

เงินฝากรวมตั๋วแลกเงินขยายตัวเร่งขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.2 ส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ผ่อนคลายขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก และ B/E หรือ L/(D+B/E) ratio ลดลงจากร้อยละ 88.2 เหลือร้อยละ 86.7

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มียอดคงค้าง 3.47 แสนล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อน 9.4 พันล้านบาท จากการชาระคืนหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการขายหนี้ เป็นสาคัญ สัดส่วนต่อสินเชื่อรวมลดลงทั้ง gross NPL และ net NPL เหลือร้อยละ 4.2 และร้อยละ 2.3 ตามลาดับ โดยสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Delinquent loan) มียอดคงค้างลดลงเช่นกัน สัดส่วนต่อสินเชื่อรวมลดลงเหลือร้อยละ 2.9 ในองค์ประกอบนั้น สัดส่วน NPL ของสินเชื่อภาคธุรกิจลดลงจากร้อยละ 4.9 เหลือร้อยละ 4.7 สินเชื่ออุปโภคบริโภคลดลงจากร้อยละ 2.9 เหลือร้อยละ 2.7 ขณะที่สัดส่วน NPL ของสินเชื่อ SME ของธนาคารพาณิชย์ไทยลดลงเหลือร้อยละ 6.5 โดยลดลงเกือบทุกภาคธุรกิจ

ในไตรมาส 3 ปี 2553 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกาไรจากการดาเนินงานทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณสินเชื่อที่ขยายตัว อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin : NIM) ทรงตัวที่ร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม ภาระภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กาไรสุทธิลดลงเล็กน้อยเหลือ 3.3 หมื่นล้านบาท อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Asset : ROA) ลดลงเหลือ ร้อยละ 1.2 กาไรดังกล่าวเสริมให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีฐานะเงินกองทุนมั่นคง โดยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Tier-1 ratio) ทรงตัวที่ร้อยละ16.9 และร้อยละ 13.0 ตามลาดับ

โดยรวมแล้วในไตรมาส 3 ปี 2553 ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องติดตามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่สาคัญคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของประเทศคู่ค้า ความผันผวนของตลาดการเงินโลกและเงินทุนเคลื่อนย้าย ส่งผลให้มิเฉพาะธนาคารพาณิชย์แต่รวมถึงภาคธุรกิจที่เป็นฐานลูกค้าของธนาคารเอง ต้องให้ความสาคัญกับการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องติดตามดูแลผลกระทบที่อาจเกิดจากปัญหาอุทกภัยหากไม่คลี่คลายโดยเร็ว

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ