รายงานภาวะสินเชื่อของสถาบันการเงินในไตรมาส 4/2553 และแนวโน้มในไตรมาส 1/2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 4, 2011 13:56 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

รายงานผลการสารวจภาวะการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 และแนวโน้มในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2554*

สรุปภาพรวม

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และสะสมสินค้าคงคลังตามความต้องการของภาคธุรกิจ สำหรับภาคครัวเรือนความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเงื่อนไขการกู้ที่เอื้ออำนวย ส่วนความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต *(1) และสินเชื่อภาคครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้น จากความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นทั่วไปและสินค้าคงทน ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสนี้

มาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 โดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้นจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ สภาพอุตสาหกรรม และธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันยังจำเป็นต้องผ่อนคลาย มาตรฐานการให้สินเชื่อในระดับหนึ่ง เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากสถาบันการเงินด้วยกันเองและทางเลือกในการระดมทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะจากตลาดตราสารหนี้ ทางด้านมาตรฐานการให้สินเชื่อภาคครัวเรือนทุกประเภทไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนเช่นกัน

สำหรับแนวโน้มภาวะสินเชื่อในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 คาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจทั้งจากธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะลดลงเล็กน้อย ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน แต่สินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเนื่องจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นของผู้บริโภค สำหรับมาตรฐานการให้สินเชื่อ คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการให้สินเชื่อจากไตรมาสก่อนสำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ แต่จะเพิ่มความเข้มงวดขึ้นเล็กน้อยสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากความกังวลด้านคุณภาพของสินเชื่อ ขณะที่จะผ่อนคลายลงสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต

** ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มจัดทาแบบสารวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อรายไตรมาส (BOT’s Survey on Credit Conditions) ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ซึ่งเป็นการสารวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ ที่ดูแลงานด้าน สินเชื่อ สาหรับรอบการสารวจเดือนตุลาคม 2553 ได้รับความร่วมมือในการตอบกลับแบบสอบถามจากสถาบันการเงินรวมทั้งสิ้นจานวน 22 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 5 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) 3 แห่ง ครอบคลุมสินเชื่อมากกว่าร้อยละ 78 ของสินเชื่อทั้งระบบการคานวนค่า Diffusion Index (DI) จัดทาโดยการถ่วงน้าหนักคาตอบ 5 ระดับตามสัดส่วนสินเชื่อในแต่ละประเภทของสถาบันการเงินและหาผลรวมสุทธิของสัดส่วนที่ได้ถ่วงน้าหนักแล้ว โดยถ้าค่า DI = -100 หมายถึงลดลงมากหรือเข้มงวดมาก, DI = 0 หมายถึงไม่เปลี่ยนแปลง และ DI = 100 หมายถึงเพิ่มขึ้นมากหรือผ่อนคลายมาก

*(1) ผลการสารวจนี้ไม่รวม Non-banks หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร แต่ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางทางการเงินและมีการให้บริการด้านสินเชื่อ เช่น บริษัท บัตรกรุงไทย จากัด (มหาชน) (KTC), บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จากัด, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จากัด (มหาชน), บริษัท อีซี่ บาย จากัด (มหาชน), บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จากัด เป็นต้น

1. สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ (Loans or Credit Lines to Enterprises)

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจทุกประเภทเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจากการขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed investment) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) และเพื่อการสะสมสินค้าคงคลัง (Inventory build-up) โดยภาคธุรกิจที่ต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นอยู่ในภาคตัวกลางทางการเงิน ภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก และภาคการค้าส่งและปลีก เช่นเดียวกับไตรมาสก่อน

อย่างไรก็ดี ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการระดมทุนยังคงใช้แหล่งเงินทุนอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การออกตราสารหนี้และการใช้เงินทุนภายในของบริษัท ขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและย่อมพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินเป็นหลัก โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนความต้องการสินเชื่อ เช่นเดียวกับไตรมาสก่อน

มาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจของสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553โดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน แม้ว่ามีปัจจัยที่สถาบันการเงินพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดในมาตรฐานการให้สินเชื่อ ได้แก่ ความกังวล (Risk perception) ต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วไป สภาพอุตสาหกรรมและธุรกิจ และด้านสภาพคล่องมีสัญญาณตึงตัวขึ้นบ้าง แต่ขณะเดียวกัน หากเข้มงวดเกินไปอาจเสียลูกค้าได้ เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นทั้งจากสถาบันการเงินด้วยกันเอง และทางเลือกในการระดมทุนของธุรกิจ โดยเฉพาะจากตลาดตราสารหนี้และตลาดทุน

อย่างไรก็ดี แม้มาตรฐานการให้สินเชื่อโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง แต่สถาบันการเงินกำหนดเงื่อนไขการให้สินเชื่อที่แปรผันตามความเสี่ยง กล่าวคือ ปรับ margin ให้กว้างขึ้นและลดวงเงินสินเชื่อสาหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใด ยิ่งไปกว่านั้น หากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันการเงินได้เพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-interest charges) เพิ่มหลักประกันและเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ ในทางตรงกันข้าม สถาบันการเงินผ่อนคลายเงื่อนไขการให้สินเชื่อโดยปรับ margin ให้แคบลงสำหรับลูกค้าจัดชั้นปกติไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใด เพื่อรักษาลูกค้าภายใต้ภาวะการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจขนาดใหญ่สถาบันการเงินยังลดค่าธรรมเนียมอื่นที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย

แนวโน้มภาวะสินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจทุกประเภทจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และคาดว่ามาตรฐานการให้สินเชื่อจะใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนสาหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะที่เข้มงวดขึ้นเล็กน้อยสาหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากความกังวลด้านคุณภาพของสินเชื่อ

2. สินเชื่อที่ให้แก่ภาคครัวเรือน (Loans to households)

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนทุกประเภทเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อภาคครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นทั่วไปและสินค้าคงทนตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสนี้

มาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรื่อนทุกประเภทในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 โดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน แม้ว่าสถาบันการเงินมีปัจจัยให้เพิ่มความเข้มงวดในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ จากความกังวลต่อแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ความน่าเชื่อถือของผู้กู้ และหลักทรัพย์ค่าประกัน แต่ขณะเดียวกัน การแข่งขันที่สูงขึ้นจากสถาบันการเงินด้วยกันเองส่งผลให้ไม่สามารถเข้มงวดได้มากนัก สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต มาตรฐานการให้สินเชื่อยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนแม้สถาบันการเงินเห็นว่ามีปัจจัยที่เอื้อต่อการผ่อนคลายเพิ่มขึ้นได้จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่อง

แนวโน้มภาวะสินเชื่อภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตจะทรงตัวและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นของผู้บริโภค โดยสถาบันการเงินคาดว่ามาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อภาคครัวเรือนอื่นๆ จะไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จะผ่อนคลายเล็กน้อยสาหรับสินเชื่อบัตรเครดิต

ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ

(Economic Intelligence Team)

ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ

สายนโยบายการเงิน

มกราคม 2554

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำแบบสำรวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อ (Credit Conditions Survey) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ โดยสำรวจเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อสร้างความเข้าใจในการวิเคราะห์สินเชื่อที่ครบถ้วนและลึกมากยิ่งขึ้น คำถามในแบบสำรวจครอบคลุมทั้งด้านอุปทานของสินเชื่ออุปสงค์ของสินเชื่อและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสข้างหน้า

การสำรวจนี้ เริ่มสำรวจครั้งแรกในเดือนมกราคม 2551 ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จานวน 25 แห่ง ซึ่งครอบคลุมสินเชื่อมากกว่าร้อยละ 90 ของสินเชื่อทั้งระบบรายงานฉบับนี้สามารถดูได้จาก http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/BLP/Pages/index.aspx

Disclaimer: รายงานฉบับนี้ไม่จาเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่ได้สะท้อนความเห็นของสถาบันการเงินใดสถาบันหนึ่ง คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้ข้อมูลนี้เพื่อประกอบกับข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ในการวิเคราะห์และประเมินภาวะเศรษฐกิจ

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: นางสาววรางคณา อิ่มอุดม ผู้บริหารทีม ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ โทร. 0-2283-6131

นางสาวธัญลักษณ์ วิบูลย์ศรีสัจจะ เศรษฐกร ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ โทร. 0-2283-5646

ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน

ที่อยู่ 273 ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

เบอร์แฟกซ์ 0-2282-5082

เวบไซต์ธนาคาร www.bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ