ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เครดิตบูโรเตรียมพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลลูกค้า นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.
เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเครดิต เพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็นหลัก คือ กรณีที่ ธ.พาณิชย์จะขอดู
ข้อมูลการขอสินเชื่อของผู้ค้ำประกันจากบริษัทข้อมูลเครดิต และกรณีที่บริษัทประกันภัยเสนอเรื่องกรณีที่ลูกค้าของบริษัทกู้เงินจากมูลค่าเงินสด
ของตนเองที่มีอยู่ในกรมธรรม์เพื่อชำระค่ากรมธรรม์ จะถือว่าเป็นการขอสินเชื่อหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวนี้ทางบริษัทข้อมูลเครดิตได้
เสนอเรื่องและสอบถามมายัง ธปท. มาก่อนหน้านี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร สำหรับข้อมูลในส่วนของผู้ค้ำประกันที่ผ่านมาทางบริษัทข้อมูลเครดิต
ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลในส่วนของผู้ค้ำประกัน และธนาคารก็ไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลในส่วนดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งในส่วนของข้อมูลลูกหนี้ในเครดิตบูโร
ธ.พาณิชย์สามารถขอดูประวัติลูกหนี้ได้เฉพาะในส่วนของผู้กู้เท่านั้น ส่วนกรณีที่เป็นผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องดูที่ตัวสัญญาว่ามีการตกลงกันไว้อย่างไร ทั้งนี้
โดยปกติแล้วตามหลักมาตรฐานสากลการพิจารณาให้สินเชื่อ ธ.พาณิชย์จะดูประวัติข้อมูลของลูกหนี้เป็นหลัก เช่น ความสามารถในการชำระหนี้
และสภาพคล่องของลูกหนี้ เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้ค้ำประกันจะเป็นแค่ตัวเสริมเท่านั้น สำหรับร่างแก้ไข พรบ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
ขณะนี้การแก้ไขร่างดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาขั้นสุดท้ายของ ก.คลัง เพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณา โดยหลักการที่มีการแก้ไข
จะเพิ่มอำนาจให้บริษัทข้อมูลเครดิตหรือเครดิตบูโรสามารถนำข้อมูลเครดิตของลูกค้าที่ได้รับจากบริษัทสมาชิกมาประมวลผล เพื่อจัดทำเป็นประวัติ
การให้สินเชื่อลูกค้าและจัดเกรดหรืออันดับความน่าเชื่อถือของลูกค้าได้ และอีกประเด็นคือให้บริษัทข้อมูลเครดิตนำข้อมูลเครดิตที่ได้จากสมาชิก
มาประมวลเพื่อจัดทำเป็นรายงานประวัติการให้สินเชื่อในแต่ละภาคธุรกิจออกเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ต่อการทำนโยบายทางเศรษฐกิจและการ
ดำเนินงานของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการปรับเปลี่ยนการแจ้งข้อมูลเครดิตที่ส่งเข้าบริษัทข้อมูลเครดิตให้ลูกค้าทราบ ซึ่งมีการ
ขอเปลี่ยนจาก ธ.พาณิชย์หรือบริษัทที่ให้สินเชื่อต้องแจ้งลูกค้าให้ทราบถึงข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าที่ส่งเข้าบริษัทข้อมูลเครดิตภายใน 30 วัน
ฃเป็นให้บริษัทข้อมูลเครดิตเป็นผู้แจ้งลูกค้านั้น ได้พิจารณาแล้วว่าไม่ควรแก้ไขให้คงไว้อย่างเดิม (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, แนวหน้า)
2. คาดว่าผลขาดทุนจากการบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. จะลดลง นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผอ.ส่วนนโยบาย
ระบบการเงิน สำนักนโยบายระบบการเงิน สนง.เศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึงการดำเนินงานของ ธปท. ปี 50 ว่า คาดว่าจะมีขาดทุนจาก
การบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าปีก่อน จากการที่ ธปท. ปรับสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศ
ใหม่ โดยปรับลดสินทรัพย์ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลงเหลือร้อยละ 55 — 58 และเพิ่มสินทรัพย์ในรูปเงินยูโรแทน ทำให้ผลการขาดทุนที่คาดว่า
จะสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท ในปีนี้ปรับลดลงดังกล่าว สำหรับการพิจารณาร่างแก้ไข พรบ.สถาบันการเงิน และ พรบ.ธปท. ของ สนช.
อยู่ในขั้นแปรญัตติของกรรมาธิการ ซึ่งต้องการให้ สนช. พิจารณาถึงอำนาจของ ธปท. ในส่วนของ พรบ.สถาบันการเงิน เนื่องจากมีการเสนอ
ให้ ธปท. มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการสั่งปิดสถาบันการเงิน แต่เห็นว่าควรให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันกับ ก.คลัง ส่วนร่างแก้ไข พรบ.ธปท.
เห็นด้วยกับหลักการแยกหน้าที่กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินออกจากหน้าที่ของธนาคารกลาง ซึ่งมีหน้าที่หลักดำเนินนโยบายการเงิน และไม่ควร
ระบุตายตัวในกฎหมายว่า ธปท. มีอำนาจกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน แต่ควรระบุว่าอำนาจอื่น ๆ นอกเหนือจากการกำหนดนโยบายการเงิน
ให้เป็นไปตามที่ปรากฏในกฎหมายอื่นที่อาจกำหนดเพิ่มเติมให้ได้ และไม่ควรกำหนดให้ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธานกรรมการ ทั้งคณะกรรมการ
ธปท. คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เนื่องจากผู้ว่าการ ธปท.
จะมีอำนาจมากเกินไป (มติชน, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. บัตรเครดิตติดชิปไม่ช่วยป้องกันการโจรกรรมผ่านบัตรเครดิต นายโชค ณ ระนอง ประธานชมรมบัตรเครดิต กล่าวว่า
ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้บัตรเครดิตติดชิปแทนที่บัตรเครดิตแบบแถบแม่เหล็กก็ไม่ได้ช่วยป้องกันการโจรกรรมผ่านบัตรเครดิต เนื่องจากก
ลุ่มมิจฉาชีพจะหาวิธีการใหม่ ๆ มาโจรกรรมข้อมูลลูกค้า โดยล่าสุดใช้วิธีการโทรศัพท์หลอกถามข้อมูลส่วนตัวจากลูกค้า ขณะที่บัตรติดชิปจะช่วย
เรื่องการถูกปลอมแปลงเท่านั้น ซึ่งขณะที่สามารถติดตามจนพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกถามข้อมูลทางโทรศัพท์จนได้เลขที่บัญชีบัตรเครดิต
เลขประจำตัวบัตรประชาชน และวันเดือนปีเกิด ได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการทุจริตใน 2 ลักษณะ คือ นำข้อมูลไปใช้ทำธุรกรรมซื้อขายสินค้า
และบริการทันที อีกลักษณะคือแอบอ้างเป็นผู้ถือบัตรเพื่อติดต่อขอยกเลิกบัตรเครดิตใบเก่ากับธนาคารต้นสังกัด โดยอ้างว่าบัตรหายหรือถูกขโมย
แล้วขอให้ธนาคารออกบัตรใหม่และส่งให้ตามที่อยู่ใหม่ เพื่อนำไปใช้ต่อไป ทั้งนี้ นอกเหนือจากการแจ้งเตือนลูกค้า สถาบันการเงินอาจต้องเพิ่ม
มาตรการตรวจสอบตัวตนลูกค้าให้เข้มงวดกว่าเดิม จากที่ผ่านมาสอบถามเฉพาะข้อมูลบางอย่างจากลูกค้าก็ยินยอมออกบัตรใบใหม่ให้แล้ว ดังนั้น
ต่อไปอาจต้องขอดูเอกสารประกอบ เช่น บัตรประชาชน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งลูกค้าอาจต้องเสียความเป็นส่วนตัวบ้างเพื่อความ
ปลอดภัย (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
4. คาดว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายร้อยละ 12.5 นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ปลายเดือน พ.ย.นี้ ก.พาณิชย์จะประกาศเป้าหมายตัวเลขส่งออกปี 51 ส่วนการส่งออกปีนี้เชื่อว่าจะยังขยายตัวได้ตามเป้าร้อยละ 12.5
สำหรับการส่งออกปี 51 จะพิจารณาบนพื้นฐานสำคัญคือเศรษฐกิจและภาวะการค้าโลก ส่วนการผลักดันตลาดใหม่เพื่อชดเชยตลาดเก่ายังคง
เป็นแผนต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ต้องดูปัจจัยกระทบจากความผันผวนและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งการพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียวต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจไม่ได้สูงนัก ดังนั้น ในปีต่อ ๆ ไป อาจต้องหันมาหาการลงทุนและการพัฒนาภายในประเทศและพึ่งตนเองมากขึ้น
โดยเฉพาะการสนับสนุนการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศ และการปรับปรุงให้ธุรกิจมีความแข้งแข็ง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญต่อการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในปีหน้า พร้อมกันนี้ ต้องดูอัตราเฉลี่ยการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ หากปีหน้าจีดีพีขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 — 5.5 เงินเฟ้อ
ในระดับร้อยละ 3 ก็น่าจะเป็นไปตามคาดการณ์ แต่ในปีนี้เชื่อว่าจะรักษาอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกินร้อยละ 2.5 (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คณะกรรมาธิการสภายุโรปคาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone ในปีหน้าจะชะลอตัวลง รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 9 พ.ย.50
คณะกรรมาธิการสภายุโรปคาดว่าเศรษฐกิจของ Euro zone ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 ในประมาณการครั้งก่อน
เมื่อเดือน ก.ย.50 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปีก่อน และคาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone ในปี 51 และ 52 จะชะลอตัวลงโดยขยายตัว
ร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 ต่อปีตามลำดับ จากผลกระทบของความวุ่นวายในตลาดการเงินและเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งคาดว่าจะชะลอตัวลง
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการสภายุโรปยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ Euro zone ในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ก่อนที่จะสูงขึ้นเล็กน้อย
เป็นร้อยละ 2.1 ในปี 51 และลดกลับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 52 โดยคาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 70.60 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล ก่อนที่เพิ่มขึ้นเป็น 78.80 และ 76.00 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในปี 51 และ 52 ตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 ต่อปีจากผลกระทบของราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์
คาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.0 ต่อปีจนถึงปีหน้าเนื่องจากเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่
จะชะลอตัวลงจากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อทั่วโลกและเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งคาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของจีนในไตรมาส 4 ปี 50 จะเติบโตชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 11.2 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 12 พ.ย.50
The State Information Centre (SIC) ซึ่งอยู่ภายใต้ The National Development and Reform Commission อันเป็นสำนักงาน
วางแผนทางเศรษฐกิจของจีน เปิดเผยในวารสารเผยแพร่ของตลาดหลักทรัพย์จีนว่า คาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในไตรมาส 4
ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 11.2 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 4 จะเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 50 แต่เฉพาะเดือน ก.ย.50 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2
ชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในเดือน ส.ค.50 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบทศวรรษ ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์
ว่าราคาอาหารในเดือน ต.ค.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 นอกจากนี้ SIC ยังคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาส 4 ปี 50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.8 เทียบต่อปี ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ต.ค.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี ขณะเดียวกัน ยังคาดการณ์ว่า
จีนจะเกินดุลการค้าทั้งปี 50 ที่จำนวน 273 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจีนจะเกินดุลเฉพาะเดือน ต.ค.50 เดือน
เดียวจำนวน 30 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. จีนปรับเพิ่มสัดส่วนการดำรงทุนสำรองของ ธพ. เป็นร้อยละ 13.5 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ รายงานจากเชียงไฮ
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 50 ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการควบคุมการขยายตัวของปริมาณเงิน และการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจึงได้
ประกาศเพิ่มสัดส่วนการดำรงทุนสำรองของ ธพ. อีกร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 13.5 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 26 พ.ย. และทำให้ ธพ.
ต้องดำรงเงินสดสำรองสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้การปรับดังกล่าวเป็นครั้งที่ 9 ในรอบปีนี้และก่อนหน้านั้น ธ.กลางได้ออกคำเตือน
อย่างจริงจังเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อเดือน ส.ค.อัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6.5 อยู่ในระดับสูง
ที่สุดในรอบ 10 ปีก่อนที่จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ในเดือน ก.ย. สำหรับเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ที่มีกำหนดจะประกาศในวันอังคารนี้
ตลาดการเงินคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 6.4 เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้น ธ.กลางจีนยังได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5
ในรอบปีนี้เพื่อที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่ห่างจากอัตราเงินเฟ้อจนเกินควร(รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์จะไม่ใช้มาตรการควบคุมระดับราคาสินค้า รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 50 นสพ. Business Times
อ้างคำพูดของ นรม. Lee Hsien Loong ของสิงคโปร์ว่า รัฐบาลจะไม่ใช้มาตรการควบคุมระดับราคาอาหาร และสาธารณูปโภคที่จะส่งผล
ต่อภาวะเงินเฟ้อ แต่จะใช้แนวทางอื่นเพื่อที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ภายใต้ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง
โดยให้ความมั่นใจว่าผู้มีรายได้ต่ำจะมีสิ่งที่จำเป็นในการครองชีพรวมทั้งมีที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ Lee Hsien Loong เตือนว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะ
รักษาระดับค่าครองชีพให้คงที่หรืออยู่ในระดับต่ำเนื่องจากที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน และอาหารสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์
บางคนได้เคยเตือนว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 129 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ได้ขยายตัวอย่างร้อนแรงเนื่องจากการขยายตัวของค่าจ้าง
และการจ้างงาน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นค่าเช่าสำนักงานและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดในรอบ 12 ปี ทั้งนี้การขยายตัว
ของเศรษฐกิจในปีนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากการก่อสร้างและการสร้าง casino 2 แห่งมูลค่า 7 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. รวมถึงศูนย์การเงินใหม่
รถไฟใต้ดิน และการก่อสร้างอพาร์ทเม้นใหม่ที่สิงคโปร์ที่มีมูลค่าสูงถึงหลายสิบพัน ล. ดอลลาร์ สรอ.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 พ.ย. 50 9 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.918 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.7233/34.0547 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 874.64/16.95 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,050/13,150 13,250/13,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 88.65 88.19 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 31.69*/28.64* 31.69*/28.64* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เครดิตบูโรเตรียมพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลลูกค้า นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.
เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเครดิต เพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็นหลัก คือ กรณีที่ ธ.พาณิชย์จะขอดู
ข้อมูลการขอสินเชื่อของผู้ค้ำประกันจากบริษัทข้อมูลเครดิต และกรณีที่บริษัทประกันภัยเสนอเรื่องกรณีที่ลูกค้าของบริษัทกู้เงินจากมูลค่าเงินสด
ของตนเองที่มีอยู่ในกรมธรรม์เพื่อชำระค่ากรมธรรม์ จะถือว่าเป็นการขอสินเชื่อหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวนี้ทางบริษัทข้อมูลเครดิตได้
เสนอเรื่องและสอบถามมายัง ธปท. มาก่อนหน้านี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร สำหรับข้อมูลในส่วนของผู้ค้ำประกันที่ผ่านมาทางบริษัทข้อมูลเครดิต
ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลในส่วนของผู้ค้ำประกัน และธนาคารก็ไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลในส่วนดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งในส่วนของข้อมูลลูกหนี้ในเครดิตบูโร
ธ.พาณิชย์สามารถขอดูประวัติลูกหนี้ได้เฉพาะในส่วนของผู้กู้เท่านั้น ส่วนกรณีที่เป็นผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องดูที่ตัวสัญญาว่ามีการตกลงกันไว้อย่างไร ทั้งนี้
โดยปกติแล้วตามหลักมาตรฐานสากลการพิจารณาให้สินเชื่อ ธ.พาณิชย์จะดูประวัติข้อมูลของลูกหนี้เป็นหลัก เช่น ความสามารถในการชำระหนี้
และสภาพคล่องของลูกหนี้ เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้ค้ำประกันจะเป็นแค่ตัวเสริมเท่านั้น สำหรับร่างแก้ไข พรบ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
ขณะนี้การแก้ไขร่างดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาขั้นสุดท้ายของ ก.คลัง เพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณา โดยหลักการที่มีการแก้ไข
จะเพิ่มอำนาจให้บริษัทข้อมูลเครดิตหรือเครดิตบูโรสามารถนำข้อมูลเครดิตของลูกค้าที่ได้รับจากบริษัทสมาชิกมาประมวลผล เพื่อจัดทำเป็นประวัติ
การให้สินเชื่อลูกค้าและจัดเกรดหรืออันดับความน่าเชื่อถือของลูกค้าได้ และอีกประเด็นคือให้บริษัทข้อมูลเครดิตนำข้อมูลเครดิตที่ได้จากสมาชิก
มาประมวลเพื่อจัดทำเป็นรายงานประวัติการให้สินเชื่อในแต่ละภาคธุรกิจออกเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ต่อการทำนโยบายทางเศรษฐกิจและการ
ดำเนินงานของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการปรับเปลี่ยนการแจ้งข้อมูลเครดิตที่ส่งเข้าบริษัทข้อมูลเครดิตให้ลูกค้าทราบ ซึ่งมีการ
ขอเปลี่ยนจาก ธ.พาณิชย์หรือบริษัทที่ให้สินเชื่อต้องแจ้งลูกค้าให้ทราบถึงข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าที่ส่งเข้าบริษัทข้อมูลเครดิตภายใน 30 วัน
ฃเป็นให้บริษัทข้อมูลเครดิตเป็นผู้แจ้งลูกค้านั้น ได้พิจารณาแล้วว่าไม่ควรแก้ไขให้คงไว้อย่างเดิม (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, แนวหน้า)
2. คาดว่าผลขาดทุนจากการบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. จะลดลง นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผอ.ส่วนนโยบาย
ระบบการเงิน สำนักนโยบายระบบการเงิน สนง.เศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึงการดำเนินงานของ ธปท. ปี 50 ว่า คาดว่าจะมีขาดทุนจาก
การบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าปีก่อน จากการที่ ธปท. ปรับสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศ
ใหม่ โดยปรับลดสินทรัพย์ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลงเหลือร้อยละ 55 — 58 และเพิ่มสินทรัพย์ในรูปเงินยูโรแทน ทำให้ผลการขาดทุนที่คาดว่า
จะสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท ในปีนี้ปรับลดลงดังกล่าว สำหรับการพิจารณาร่างแก้ไข พรบ.สถาบันการเงิน และ พรบ.ธปท. ของ สนช.
อยู่ในขั้นแปรญัตติของกรรมาธิการ ซึ่งต้องการให้ สนช. พิจารณาถึงอำนาจของ ธปท. ในส่วนของ พรบ.สถาบันการเงิน เนื่องจากมีการเสนอ
ให้ ธปท. มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการสั่งปิดสถาบันการเงิน แต่เห็นว่าควรให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันกับ ก.คลัง ส่วนร่างแก้ไข พรบ.ธปท.
เห็นด้วยกับหลักการแยกหน้าที่กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินออกจากหน้าที่ของธนาคารกลาง ซึ่งมีหน้าที่หลักดำเนินนโยบายการเงิน และไม่ควร
ระบุตายตัวในกฎหมายว่า ธปท. มีอำนาจกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน แต่ควรระบุว่าอำนาจอื่น ๆ นอกเหนือจากการกำหนดนโยบายการเงิน
ให้เป็นไปตามที่ปรากฏในกฎหมายอื่นที่อาจกำหนดเพิ่มเติมให้ได้ และไม่ควรกำหนดให้ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธานกรรมการ ทั้งคณะกรรมการ
ธปท. คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เนื่องจากผู้ว่าการ ธปท.
จะมีอำนาจมากเกินไป (มติชน, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. บัตรเครดิตติดชิปไม่ช่วยป้องกันการโจรกรรมผ่านบัตรเครดิต นายโชค ณ ระนอง ประธานชมรมบัตรเครดิต กล่าวว่า
ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้บัตรเครดิตติดชิปแทนที่บัตรเครดิตแบบแถบแม่เหล็กก็ไม่ได้ช่วยป้องกันการโจรกรรมผ่านบัตรเครดิต เนื่องจากก
ลุ่มมิจฉาชีพจะหาวิธีการใหม่ ๆ มาโจรกรรมข้อมูลลูกค้า โดยล่าสุดใช้วิธีการโทรศัพท์หลอกถามข้อมูลส่วนตัวจากลูกค้า ขณะที่บัตรติดชิปจะช่วย
เรื่องการถูกปลอมแปลงเท่านั้น ซึ่งขณะที่สามารถติดตามจนพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกถามข้อมูลทางโทรศัพท์จนได้เลขที่บัญชีบัตรเครดิต
เลขประจำตัวบัตรประชาชน และวันเดือนปีเกิด ได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการทุจริตใน 2 ลักษณะ คือ นำข้อมูลไปใช้ทำธุรกรรมซื้อขายสินค้า
และบริการทันที อีกลักษณะคือแอบอ้างเป็นผู้ถือบัตรเพื่อติดต่อขอยกเลิกบัตรเครดิตใบเก่ากับธนาคารต้นสังกัด โดยอ้างว่าบัตรหายหรือถูกขโมย
แล้วขอให้ธนาคารออกบัตรใหม่และส่งให้ตามที่อยู่ใหม่ เพื่อนำไปใช้ต่อไป ทั้งนี้ นอกเหนือจากการแจ้งเตือนลูกค้า สถาบันการเงินอาจต้องเพิ่ม
มาตรการตรวจสอบตัวตนลูกค้าให้เข้มงวดกว่าเดิม จากที่ผ่านมาสอบถามเฉพาะข้อมูลบางอย่างจากลูกค้าก็ยินยอมออกบัตรใบใหม่ให้แล้ว ดังนั้น
ต่อไปอาจต้องขอดูเอกสารประกอบ เช่น บัตรประชาชน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งลูกค้าอาจต้องเสียความเป็นส่วนตัวบ้างเพื่อความ
ปลอดภัย (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
4. คาดว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายร้อยละ 12.5 นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ปลายเดือน พ.ย.นี้ ก.พาณิชย์จะประกาศเป้าหมายตัวเลขส่งออกปี 51 ส่วนการส่งออกปีนี้เชื่อว่าจะยังขยายตัวได้ตามเป้าร้อยละ 12.5
สำหรับการส่งออกปี 51 จะพิจารณาบนพื้นฐานสำคัญคือเศรษฐกิจและภาวะการค้าโลก ส่วนการผลักดันตลาดใหม่เพื่อชดเชยตลาดเก่ายังคง
เป็นแผนต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ต้องดูปัจจัยกระทบจากความผันผวนและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งการพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียวต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจไม่ได้สูงนัก ดังนั้น ในปีต่อ ๆ ไป อาจต้องหันมาหาการลงทุนและการพัฒนาภายในประเทศและพึ่งตนเองมากขึ้น
โดยเฉพาะการสนับสนุนการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศ และการปรับปรุงให้ธุรกิจมีความแข้งแข็ง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญต่อการขยายตัว
ของเศรษฐกิจในปีหน้า พร้อมกันนี้ ต้องดูอัตราเฉลี่ยการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ หากปีหน้าจีดีพีขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 — 5.5 เงินเฟ้อ
ในระดับร้อยละ 3 ก็น่าจะเป็นไปตามคาดการณ์ แต่ในปีนี้เชื่อว่าจะรักษาอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกินร้อยละ 2.5 (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คณะกรรมาธิการสภายุโรปคาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone ในปีหน้าจะชะลอตัวลง รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 9 พ.ย.50
คณะกรรมาธิการสภายุโรปคาดว่าเศรษฐกิจของ Euro zone ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 ในประมาณการครั้งก่อน
เมื่อเดือน ก.ย.50 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปีก่อน และคาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone ในปี 51 และ 52 จะชะลอตัวลงโดยขยายตัว
ร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 ต่อปีตามลำดับ จากผลกระทบของความวุ่นวายในตลาดการเงินและเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งคาดว่าจะชะลอตัวลง
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการสภายุโรปยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ Euro zone ในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ก่อนที่จะสูงขึ้นเล็กน้อย
เป็นร้อยละ 2.1 ในปี 51 และลดกลับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 52 โดยคาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 70.60 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล ก่อนที่เพิ่มขึ้นเป็น 78.80 และ 76.00 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในปี 51 และ 52 ตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 ต่อปีจากผลกระทบของราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์
คาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.0 ต่อปีจนถึงปีหน้าเนื่องจากเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่
จะชะลอตัวลงจากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อทั่วโลกและเศรษฐกิจ สรอ.ซึ่งคาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของจีนในไตรมาส 4 ปี 50 จะเติบโตชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 11.2 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 12 พ.ย.50
The State Information Centre (SIC) ซึ่งอยู่ภายใต้ The National Development and Reform Commission อันเป็นสำนักงาน
วางแผนทางเศรษฐกิจของจีน เปิดเผยในวารสารเผยแพร่ของตลาดหลักทรัพย์จีนว่า คาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในไตรมาส 4
ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 11.2 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 4 จะเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 5.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 50 แต่เฉพาะเดือน ก.ย.50 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2
ชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในเดือน ส.ค.50 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบทศวรรษ ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์
ว่าราคาอาหารในเดือน ต.ค.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 นอกจากนี้ SIC ยังคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาส 4 ปี 50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.8 เทียบต่อปี ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ต.ค.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี ขณะเดียวกัน ยังคาดการณ์ว่า
จีนจะเกินดุลการค้าทั้งปี 50 ที่จำนวน 273 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจีนจะเกินดุลเฉพาะเดือน ต.ค.50 เดือน
เดียวจำนวน 30 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. จีนปรับเพิ่มสัดส่วนการดำรงทุนสำรองของ ธพ. เป็นร้อยละ 13.5 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ รายงานจากเชียงไฮ
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 50 ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการควบคุมการขยายตัวของปริมาณเงิน และการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจึงได้
ประกาศเพิ่มสัดส่วนการดำรงทุนสำรองของ ธพ. อีกร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 13.5 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 26 พ.ย. และทำให้ ธพ.
ต้องดำรงเงินสดสำรองสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้การปรับดังกล่าวเป็นครั้งที่ 9 ในรอบปีนี้และก่อนหน้านั้น ธ.กลางได้ออกคำเตือน
อย่างจริงจังเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อเดือน ส.ค.อัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6.5 อยู่ในระดับสูง
ที่สุดในรอบ 10 ปีก่อนที่จะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ในเดือน ก.ย. สำหรับเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ที่มีกำหนดจะประกาศในวันอังคารนี้
ตลาดการเงินคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 6.4 เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้น ธ.กลางจีนยังได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5
ในรอบปีนี้เพื่อที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่ห่างจากอัตราเงินเฟ้อจนเกินควร(รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์จะไม่ใช้มาตรการควบคุมระดับราคาสินค้า รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 50 นสพ. Business Times
อ้างคำพูดของ นรม. Lee Hsien Loong ของสิงคโปร์ว่า รัฐบาลจะไม่ใช้มาตรการควบคุมระดับราคาอาหาร และสาธารณูปโภคที่จะส่งผล
ต่อภาวะเงินเฟ้อ แต่จะใช้แนวทางอื่นเพื่อที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ภายใต้ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง
โดยให้ความมั่นใจว่าผู้มีรายได้ต่ำจะมีสิ่งที่จำเป็นในการครองชีพรวมทั้งมีที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ Lee Hsien Loong เตือนว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะ
รักษาระดับค่าครองชีพให้คงที่หรืออยู่ในระดับต่ำเนื่องจากที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน และอาหารสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์
บางคนได้เคยเตือนว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 129 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ได้ขยายตัวอย่างร้อนแรงเนื่องจากการขยายตัวของค่าจ้าง
และการจ้างงาน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นค่าเช่าสำนักงานและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดในรอบ 12 ปี ทั้งนี้การขยายตัว
ของเศรษฐกิจในปีนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากการก่อสร้างและการสร้าง casino 2 แห่งมูลค่า 7 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. รวมถึงศูนย์การเงินใหม่
รถไฟใต้ดิน และการก่อสร้างอพาร์ทเม้นใหม่ที่สิงคโปร์ที่มีมูลค่าสูงถึงหลายสิบพัน ล. ดอลลาร์ สรอ.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 พ.ย. 50 9 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.918 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.7233/34.0547 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 874.64/16.95 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,050/13,150 13,250/13,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 88.65 88.19 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 31.69*/28.64* 31.69*/28.64* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--