ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ให้สถาบันการเงินเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพื่อการเลือกตั้ง รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
แจ้งว่า นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้ลงนามในหนังสือเวียนขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง อำนวยความสะดวกให้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เพื่อการเลือกตั้งของผู้สมัครรับ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมือง พร้อมทั้งแจ้งธุรกรรมทางการเงินให้แก่คณะกรรมการเลือกตั้งทราบ หลังคณะกรรมการ
การเลือกตั้งส่งหนังสือถึงผู้ว่าการ ธปท. ลงวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันใช้ชื่อบัญชีว่า บัญชีเงินฝาก ระบุชื่อผู้สมัคร
หรือชื่อของพรรคการเมือง เพื่อการเลือกตั้ง โดยสถาบันการเงินต้องมีการตรวจสอบหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝาก และเก็บเอกสาร
หลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้ประกอบหลักฐานในการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในการ
เลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีหนังสือแจ้งเพื่อให้ประสานการปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.โลกปรับเพิ่มอันดับการเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจของไทยขึ้นเป็นลำดับที่ 15 จากลำดับที่ 17
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง กล่าวภายหลัง ก.คลังประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ก.พาณิชย์
และธนาคารโลก ถึงการวัดผลเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจประจำปี 2551 (Doing Business 2008) ว่า จากข้อมูลช่วงเดือน
เมษายน 2549 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 ธ.โลกได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 15 เลื่อนขึ้น
จากลำดับที่ 17 ในปีก่อนหน้า จากทั้งหมดจำนวน 178 ประเทศในเขตเศรษฐกิจต่างๆ และในปีหน้าไทยตั้งเป้าหมายจะติด 1 ใน 10 ประเทศ
ที่สะดวกในการประกอบธุรกิจด้วย ทั้งนี้ รายงานวัดผลเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่จะจัดทำขึ้นในแต่ละปี มีดัชนีชี้วัด 10 ด้าน
ประกอบด้วย การเริ่มต้นธุรกิจ การขอใบอนุญาต การจ้างงาน การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี
การค้าระหว่างประเทศ การบังคับใช้ตามสัญญา และการปิดกิจการ (มติชน, ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงตามสภาวะตลาดในภูมิภาค ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ว่า ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 12 พ.ย.50 เคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวันตามดัชนีตลาดหุ้นในต่างประเทศ โดยดัชนีปิดตลาดอยู่ที่
861.93 จุด ลดลง 12.71 จุด ส่วนใหญ่เป็นแรงเทขายสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติทั้งสิ้น 4,541.81 ล.บาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุน
รายย่อยในประเทศ ซื้อสุทธิทั้งสิ้น 451.32 และ 4,090.49 ล.บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน
กล่าวว่า การประกาศผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดของบริษัทในกลุ่มพลังงาน และสภาวะตลาดในภูมิภาค อันเนื่องมาจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ
หรือปัญหาราคาน้ำมัน น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีตลาดติดลบ โดยคาดว่าสัปดาห์นี้อาจจะมีแนวรับอยู่ที่ 840 จุด (ข่าวสด)
4. สศอ.คงประมาณการการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในปี 50 ที่ระดับ 4.5-4.7% ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(สศอ.) เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้นจนอาจส่งผลกระทบด้านต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม แต่ สศอ.จะยังคง
ยืนตัวเลขคาดการณ์การเติบโตภาคอุตสาหกรรมในปี 50 ที่ 4.5-4.7% ซึ่งเป็นประมาณการที่ปรับลดลงแล้วจากเดิมคาดว่าจะเติบโต 5% เนื่องจาก
อีก 2 เดือนที่เหลือ ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ ไอซี และยานยนต์ ยังเติบโตดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้น
ทุก 1 ดอลลาร์ สรอ. จะส่งผลให้จีดีพีภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.01% โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มที่ใช้พลังงานมาก เช่น
แก้ว เซรามิก อย่างไรก็ตาม หากปี 51 ราคาน้ำมันยังเพิ่มสูงขึ้นอีก สศอ.จะพิจารณาถึงผลกระทบอีกครั้ง (ข่าวสด)
5. ก.พลังงานยืนยันยังไม่ปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า
ขณะนี้ ก.พลังงานจะยังไม่ปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยจะขอดูสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงต้นสัปดาห์นี้ก่อน
เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปลายสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลงกว่า 1 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 87.68 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ค้าน้ำมันจะขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันทุกประเภทอีกลิตรละ 50 สตางค์ แต่ผู้ค้ายังต้องแบกภาระ
ค่าการตลาดที่ติดลบอยู่อีกลิตรละ 50 สตางค์ โดยค่าการตลาดที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. อาจสร้างความเสียหายสูงถึง 400 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
วันที่ 12 พ.ย. 50 Mike Mayo นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank Securities Inc. คาดว่า ธพ.ต่างๆทั่วโลกอาจขาดทุนจากปัญหา
สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (subprime mortgages) ของ สรอ. อย่างน้อย 1 ใน 4 ของสินเชื่อบ้านที่มีปัญหาการชำระหนี้ ทั้งนี้
คาดว่ายอดความเสียหายจะอยู่ระหว่าง 150 — 250 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งความเสียหายจากตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับหนี้เสียจาก
subprime mortgages อีก 150 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ David Hilder นักวิเคราะห์จาก Bear Stearns
& Co นอกจากนั้นแนวโน้มจากปัจจัยพื้นฐานคาดว่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัญหาหนี้เสียทั้งสินเชื่อจำนอง และสินเชื่อธุรกิจ เชื่อว่าสถานการณ์
ดังกล่าวจะเลวลงอีก ทั้งนี้ ธพ.ต่างๆ รวมทั้ง Citigroup Inc. Merrill Lynch & Co และ Wachovia Corp ได้ประกาศที่จะตัดลูกหนี้
กว่า 40 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในปีนี้ ขณะที่ สรอ. ได้ยึดอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้ทำสถิติสูงสุด หลังจากที่นักลงทุนยุติการซื้อหลักทรัพย์
หลายชนิดที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ Mike Mayo กล่าวว่าบรรดา ธพ. และ โบรกเกอร์ขนาดใหญ่ ต่างขาดทุนจากปัญหา subprime mortgages
ไม่น้อยกว่า 100 — 130 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษจะต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.50
ผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ต.ค.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ทำให้
อัตราเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย.แต่ต่ำกว่าที่เคยขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในรอบทศวรรษที่ร้อยละ 3.1
เมื่อเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตาม เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาผู้ผลิตสินค้าได้ปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2538 เนื่องจากต้นทุน
พลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งได้สร้างความกังวลว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นและอาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของ
เศรษฐกิจ ขณะที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นแม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเริ่มชะลอตัว
จากปัญหาความผันผวนของตลาดการเงิน ทำให้เป็นการยากที่จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 5.75 ในปัจจุบัน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียทั้งปี 50 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2-2.5 รายงานจากมุมไบ เมื่อ 12 พ.ย.50 ภายหลัง
การประชุม Indian Financial Hub ที่มุมไบ ผู้ว่าการ ธ.กลาง มาเลเซีย กล่าวคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียทั้งปี 50 จะอยู่
ในช่วงระหว่างร้อยละ 2 — 2.5 แต่คาดว่าอาจปรับเพิ่มขึ้นได้อีก หากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย
ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด
ตั้งแต่ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในเดือน ก.พ.50 อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซียกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจมาเลเซียในปี 50
จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ภายใต้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างมาก กิจกรรมในประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการลงทุนโดยตรง
ระหว่างประเทศและการบริโภคภาคเอกชนของประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อาจสูงขึ้นถึงร้อยละ 5 ในต้นปีหน้า รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 12พ.ย.50 รัฐบาลสิงคโปร์คาดว่า
อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อปีหรือสูงกว่าในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปีในไตรมาสแรกก่อน
ที่อัตราเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นถึงร้อยละ 5 ต่อปีในไตรมาสแรกปีหน้า อันเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปี
และส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปีในช่วง 3 ปี
ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 46 ซึ่งมีส่วนทำให้ค่าจ้างสูงขึ้น และคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 — 8 ปี จากการขยายตัวของภาค
การก่อสร้าง การผลิตและการบริการทางการเงิน ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์ซึ่งกำหนดนโยบายการเงินโดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อเดือน
ที่แล้วได้ปล่อยให้เงินดอลลาร์ สิงคโปร์มีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.โดยการปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์ สิงคโปร์เคลื่อนไหวในช่วงกว้างขึ้น
ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สิงคโปร์ในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 พ.ย. 50 12 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.846 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6442/33.9730 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 861.93/16.34 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 13,050/13,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.33 88.65 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 31.69*/28.64* 31.69*/28.64* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ให้สถาบันการเงินเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพื่อการเลือกตั้ง รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
แจ้งว่า นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้ลงนามในหนังสือเวียนขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง อำนวยความสะดวกให้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เพื่อการเลือกตั้งของผู้สมัครรับ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมือง พร้อมทั้งแจ้งธุรกรรมทางการเงินให้แก่คณะกรรมการเลือกตั้งทราบ หลังคณะกรรมการ
การเลือกตั้งส่งหนังสือถึงผู้ว่าการ ธปท. ลงวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันใช้ชื่อบัญชีว่า บัญชีเงินฝาก ระบุชื่อผู้สมัคร
หรือชื่อของพรรคการเมือง เพื่อการเลือกตั้ง โดยสถาบันการเงินต้องมีการตรวจสอบหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝาก และเก็บเอกสาร
หลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้ประกอบหลักฐานในการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในการ
เลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีหนังสือแจ้งเพื่อให้ประสานการปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.โลกปรับเพิ่มอันดับการเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจของไทยขึ้นเป็นลำดับที่ 15 จากลำดับที่ 17
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง กล่าวภายหลัง ก.คลังประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ก.พาณิชย์
และธนาคารโลก ถึงการวัดผลเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจประจำปี 2551 (Doing Business 2008) ว่า จากข้อมูลช่วงเดือน
เมษายน 2549 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 ธ.โลกได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 15 เลื่อนขึ้น
จากลำดับที่ 17 ในปีก่อนหน้า จากทั้งหมดจำนวน 178 ประเทศในเขตเศรษฐกิจต่างๆ และในปีหน้าไทยตั้งเป้าหมายจะติด 1 ใน 10 ประเทศ
ที่สะดวกในการประกอบธุรกิจด้วย ทั้งนี้ รายงานวัดผลเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่จะจัดทำขึ้นในแต่ละปี มีดัชนีชี้วัด 10 ด้าน
ประกอบด้วย การเริ่มต้นธุรกิจ การขอใบอนุญาต การจ้างงาน การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี
การค้าระหว่างประเทศ การบังคับใช้ตามสัญญา และการปิดกิจการ (มติชน, ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงตามสภาวะตลาดในภูมิภาค ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ว่า ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 12 พ.ย.50 เคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวันตามดัชนีตลาดหุ้นในต่างประเทศ โดยดัชนีปิดตลาดอยู่ที่
861.93 จุด ลดลง 12.71 จุด ส่วนใหญ่เป็นแรงเทขายสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติทั้งสิ้น 4,541.81 ล.บาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุน
รายย่อยในประเทศ ซื้อสุทธิทั้งสิ้น 451.32 และ 4,090.49 ล.บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน
กล่าวว่า การประกาศผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดของบริษัทในกลุ่มพลังงาน และสภาวะตลาดในภูมิภาค อันเนื่องมาจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ
หรือปัญหาราคาน้ำมัน น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีตลาดติดลบ โดยคาดว่าสัปดาห์นี้อาจจะมีแนวรับอยู่ที่ 840 จุด (ข่าวสด)
4. สศอ.คงประมาณการการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในปี 50 ที่ระดับ 4.5-4.7% ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(สศอ.) เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้นจนอาจส่งผลกระทบด้านต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม แต่ สศอ.จะยังคง
ยืนตัวเลขคาดการณ์การเติบโตภาคอุตสาหกรรมในปี 50 ที่ 4.5-4.7% ซึ่งเป็นประมาณการที่ปรับลดลงแล้วจากเดิมคาดว่าจะเติบโต 5% เนื่องจาก
อีก 2 เดือนที่เหลือ ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ ไอซี และยานยนต์ ยังเติบโตดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้น
ทุก 1 ดอลลาร์ สรอ. จะส่งผลให้จีดีพีภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.01% โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มที่ใช้พลังงานมาก เช่น
แก้ว เซรามิก อย่างไรก็ตาม หากปี 51 ราคาน้ำมันยังเพิ่มสูงขึ้นอีก สศอ.จะพิจารณาถึงผลกระทบอีกครั้ง (ข่าวสด)
5. ก.พลังงานยืนยันยังไม่ปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า
ขณะนี้ ก.พลังงานจะยังไม่ปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยจะขอดูสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงต้นสัปดาห์นี้ก่อน
เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปลายสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลงกว่า 1 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 87.68 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ค้าน้ำมันจะขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันทุกประเภทอีกลิตรละ 50 สตางค์ แต่ผู้ค้ายังต้องแบกภาระ
ค่าการตลาดที่ติดลบอยู่อีกลิตรละ 50 สตางค์ โดยค่าการตลาดที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. อาจสร้างความเสียหายสูงถึง 400 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
วันที่ 12 พ.ย. 50 Mike Mayo นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank Securities Inc. คาดว่า ธพ.ต่างๆทั่วโลกอาจขาดทุนจากปัญหา
สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (subprime mortgages) ของ สรอ. อย่างน้อย 1 ใน 4 ของสินเชื่อบ้านที่มีปัญหาการชำระหนี้ ทั้งนี้
คาดว่ายอดความเสียหายจะอยู่ระหว่าง 150 — 250 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งความเสียหายจากตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับหนี้เสียจาก
subprime mortgages อีก 150 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ David Hilder นักวิเคราะห์จาก Bear Stearns
& Co นอกจากนั้นแนวโน้มจากปัจจัยพื้นฐานคาดว่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัญหาหนี้เสียทั้งสินเชื่อจำนอง และสินเชื่อธุรกิจ เชื่อว่าสถานการณ์
ดังกล่าวจะเลวลงอีก ทั้งนี้ ธพ.ต่างๆ รวมทั้ง Citigroup Inc. Merrill Lynch & Co และ Wachovia Corp ได้ประกาศที่จะตัดลูกหนี้
กว่า 40 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในปีนี้ ขณะที่ สรอ. ได้ยึดอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้ทำสถิติสูงสุด หลังจากที่นักลงทุนยุติการซื้อหลักทรัพย์
หลายชนิดที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ Mike Mayo กล่าวว่าบรรดา ธพ. และ โบรกเกอร์ขนาดใหญ่ ต่างขาดทุนจากปัญหา subprime mortgages
ไม่น้อยกว่า 100 — 130 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษจะต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 พ.ย.50
ผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ต.ค.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ทำให้
อัตราเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย.แต่ต่ำกว่าที่เคยขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในรอบทศวรรษที่ร้อยละ 3.1
เมื่อเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตาม เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาผู้ผลิตสินค้าได้ปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2538 เนื่องจากต้นทุน
พลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งได้สร้างความกังวลว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นและอาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของ
เศรษฐกิจ ขณะที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นแม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเริ่มชะลอตัว
จากปัญหาความผันผวนของตลาดการเงิน ทำให้เป็นการยากที่จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 5.75 ในปัจจุบัน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียทั้งปี 50 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2-2.5 รายงานจากมุมไบ เมื่อ 12 พ.ย.50 ภายหลัง
การประชุม Indian Financial Hub ที่มุมไบ ผู้ว่าการ ธ.กลาง มาเลเซีย กล่าวคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียทั้งปี 50 จะอยู่
ในช่วงระหว่างร้อยละ 2 — 2.5 แต่คาดว่าอาจปรับเพิ่มขึ้นได้อีก หากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย
ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด
ตั้งแต่ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในเดือน ก.พ.50 อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซียกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจมาเลเซียในปี 50
จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ภายใต้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างมาก กิจกรรมในประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการลงทุนโดยตรง
ระหว่างประเทศและการบริโภคภาคเอกชนของประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อาจสูงขึ้นถึงร้อยละ 5 ในต้นปีหน้า รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 12พ.ย.50 รัฐบาลสิงคโปร์คาดว่า
อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อปีหรือสูงกว่าในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปีในไตรมาสแรกก่อน
ที่อัตราเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นถึงร้อยละ 5 ต่อปีในไตรมาสแรกปีหน้า อันเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปี
และส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปีในช่วง 3 ปี
ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 46 ซึ่งมีส่วนทำให้ค่าจ้างสูงขึ้น และคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 — 8 ปี จากการขยายตัวของภาค
การก่อสร้าง การผลิตและการบริการทางการเงิน ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์ซึ่งกำหนดนโยบายการเงินโดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อเดือน
ที่แล้วได้ปล่อยให้เงินดอลลาร์ สิงคโปร์มีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.โดยการปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์ สิงคโปร์เคลื่อนไหวในช่วงกว้างขึ้น
ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สิงคโปร์ในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 พ.ย. 50 12 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.846 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6442/33.9730 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 861.93/16.34 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 13,050/13,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.33 88.65 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 31.69*/28.64* 31.69*/28.64* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--