บทความ: การจัดทำดัชนีการค้า

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 1, 2011 14:11 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีบทบาทหน้าที่ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศจึงจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่มีความหลากหลาย เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บทความนี้จึงทำการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำดัชนีการค้าซึ่งครอบคลุมทั้งภาคค้าปลีกและค้าส่ง สำหรับใช้ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยในการจัดทำดัชนีการค้าทั้งการค้าปลีกและการค้าส่งนั้นใช้ยอดขายสินค้าและบริการที่ได้จากฐานข้อมูลยอดขายของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง

ในการเลือกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อจัดทำเป็นดัชนีค้าปลีกนั้น การศึกษาฉบับนี้ได้ทำการทดสอบความเหมาะสมของดัชนีการค้าในการติดตามภาวะเศรษฐกิจเทียบกับดัชนีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index: PCI) และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Expenditure: PCE) ณ ราคาคงที่ พบว่า ดัชนีค้าปลีกครอบคลุมกิจกรรมการขายปลีก ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลที่ระบุไว้ในหมวด 52 และกิจกรรมอื่นๆ ที่มิใช่หมวด 52 ได้แก่ การการขาย การบำรุงรักษาและการซ่อมแวมยานยนต์และรถจักรยานต์รวมทั้งการขายปลีกน้ำมันเพลิงรถยนต์ ซึ่งอยู่ภายใต้หมวด 50 มีความเหมาะสมในการติดตามภาวะเศรษฐกิจได้ดีกว่าดัชนีค้าปลีกรูปแบบอื่นๆ แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายจึงมีการจัดหมวดหมู่ของดัชนีค้าปลีกออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ยอดขายสินค้าไม่คงทน 2) ยอดขายสินค้าคงทน 3) ยอดขายห้างสรรพสินค้า 4) ยอดขายรถยนต์ ซ่อมรถยนต์ และนำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ 5) ยอดขายอื่นๆ และจัดทำดัชนีให้อยู่ในรูปปริมาณโดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็น Deflator ส่วนดัชนีค้าส่งนั้นนับรวมเฉพาะกิจกรรมที่อยู่ในหมวด 51 โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ยอดขายสินค้าไม่คงทน 2) ยอดขายสินค้าคงทน 3) ยอดขายสินค้าขั้นกลาง และ 4) ยอดขายอื่นๆ โดยใช้ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็น Deflator

อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำแนกราย ISIC เพื่อใช้ในการจัดทำดัชนีค้าปลีกและค้าส่งนั้นมีความล่าช้าประมาณ 2 เดือนเทียบกับงวดข้อมูล เช่น ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2554 ธปท. จะมีข้อมูลของเดือนพฤษภาคม โดยมีจำนวนแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 95 ของจำนวนแบบเฉลี่ยในปี 2553 ดังนั้นข้อมูลที่ทำการเผยแพร่จึงเป็นข้อมูลที่ได้จากการประมาณการโดยใช้จำนวนแบบเฉลี่ยย้อนหลัง 1 เดือนซึ่งเป็นวิธีที่มีความสามารถในการประมาณการดีที่สุด

ทั้งนี้ ธปท. ได้จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลดัชนีการค้าในเดือนกรกฎาคม 2554 โดยมีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543เป็นต้นไป

การจัดทำดัชนีการค้า

อโนทัย พุทธารี

พรสวรรค์ รักเป็นธรรม

ธัญญษร เอกอภิรักษ์

ภาคการค้ามีบทบาทสำคัญในการกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค เพื่อนำไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือนำไปใช้ในทางอื่นๆ เช่น เพื่อการลงทุน และในส่วนของการค้าปลีกถือเป็นเครื่องชี้ที่สำคัญที่ใช้ในการติดตามภาวะการอุปโภคบริโภคในประเทศซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ GDP รวมทั้งเป็นแนวทางในการเสริมสร้างแผนการดำเนินการของกลุ่มธุรกิจรายย่อยให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม

ธปท. มีบทบาทหน้าที่ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศจึงจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่มีความหลากหลายเพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บทความนี้จึงทำการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำดัชนีการค้า ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคค้าปลีกและค้าส่งเพื่อใช้ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยบทความนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) การจัดทำดัชนีค้าปลีกในต่างประเทศ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจในส่วนของการจัดทำข้อมูลดัชนีค้าปลีกในต่างประเทศ 2) การจัดทำดัชนีค้าปลีกและค้าส่งของไทย ซึ่งครอบคลุมวิธีการและขอบเขตของข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำ รวมทั้งการเปรียบเทียบความสามารถของดัชนีกับดัชนีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการติดตามภาวะการอุปโภคบริโภค และ 3) การเผยแพร่ดัชนีค้าปลีกและดัชนีค้าส่งของ ธปท.

1. การจัดทำดัชนีค้าปลีกในต่างประเทศ

โดยทั่วไป การจัดทำดัชนีค้าปลีกของแต่ละประเทศจะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยในการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (International Standard Industrial Classification: ISIC) ภาคค้าปลีกจะปรากฏอยู่ในหมวด 52 (ISIC Rev.3)*(1) ซึ่งครอบคลุม 1) การขายปลีกในร้านค้าทั่วไป 2) การขายปลีกอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ในร้านค้าเฉพาะอย่างของสินค้านั้นๆ 3) การขายปลีกสินค้าใหม่อื่นๆ ในร้านค้าเฉพาะอย่างของสินค้านั้นๆ 4) การขายปลีกของที่ใช้แล้วในร้าน 5) การขายปลีกสินค้าโดยไม่มีร้าน และ 6) การซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน แต่ในทางปฏิบัติการจัดทำดัชนีค้าปลีกเพื่อสะท้อนการอุปโภคบริโภคของประเทศต่างๆ นั้น อาจมีความแตกต่างจากหมวดต่างๆ ข้างต้นได้ โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ให้แนวการจำกัดความการค้าปลีกไว้ กล่าวคือ การขายสินค้าให้แก่บุคคลหรือครัวเรือนเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค โดยไม่ได้คำนึงถึงประเภทของสินค้า สถานที่ขาย หรือแม้กระทั่งวิธีการจำหน่าย แต่ให้คำนึงถึงความสอดคล้องของโครงสร้างทางเศรษฐกิจของตนเป็นหลัก2 ดังนั้น ในบางประเทศจึงมีการรวมกิจกรรมอื่นๆ ที่มิใช่หมวด 5*(2) (ISIC Rev. 3) ไว้ในการจัดทำดัชนีค้าปลีก อาทิ การการขาย การบำรุงรักษาและการซ่อมแวมยานยนต์และรถจักรยานต์รวมทั้งการขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ ซึ่งอยู่ภายใต้หมวด 50 หรือการขายอาหารและเครื่องดื่มที่พร้อมบริโภคได้ทันทีในสถานที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้หมวด 55 หรืออาจจะมีกิจกรรมบางประเภทที่อยู่ภายใต้หมวด 52 แต่ไม่ถูกนับอยู่ในดัชนีการค้าปลีก อาทิ การซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และการขายปลีกสินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ ทั้งนี้ ในการ จัดหมวดหมู่อุตสาหกรรมในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ North American Industry Classification System (NAICS) ส่วนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ใช้ระบบ Australian and New Zealand Standard Industrial Classification (ANZSIC) แต่เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่างประเทศเกี่ยวกับหมวดต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทำดัชนีค้าปลีก ในตารางที่ 1 จึงเทียบกับ ISIC Rev. 3 เท่านั้น

Table 1: Activity Coverage Inclusions and Exclusions (based on ISIC Rev. 3)
               Non retail activities inclusions            Specific retail activities exclusions
Australia    - Eating and drinking places (5520)          - Repair of personal household goods (5260)
  • Hair Dressing and beauty salons (9302)
Canada       - Motor vehicle dealers (5010)               - Mail-order houses (5251)
             - Gasoline service stations (5050)           - Other direct selling establishments (5252)
  • Electronic shopping and vending machine

operators (5259)

Denmark        None                                       - Sales to institutes, business and exports.

Sales of pharmacies

Greece         None                                         None
Iceland        None                                       - Goods not subject to VAT
Japan        - Motor vehicle dealers (5010)               - Repair of personal household goods (5260)
  • Gasoline service stations (5050)
Mexico       - Motor vehicle dealers (5010)               - Repair of personal household goods (5260)
  • Gasoline service stations (5050)
New Zealand  - Motor vehicle dealers (5010)                 None
  • Gasoline service stations (5050)
  • Eating and drinking places (5520)
UK None - Repair of personal household goods (5260)
USA          - Motor vehicle dealers (5010)                 None
  • Gasoline service stations (5050)
  • Eating and drinking places (5520)

Source: National Statistics Office in each country and “Main Economic Indicators”, The Organisation for

Economic Co-operation and Development.

ในส่วนของดัชนีค้าส่งนั้นมีความยุ่งยากในการจัดทำน้อยกว่าดัชนีค้าปลีก กล่าวคือจะนับเฉพาะหมวด 51 ทั้งหมดเป็นการค้าส่ง ซึ่งประกอบด้วย 1) การขายส่งโดยได้รับค่าธรรมเนียมตอบแทนหรือโดยการทำสัญญาจ้าง 2) การขายส่งวัตถุดิบทางการเกษตร สัตว์ที่มีชีวิต อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 3) การขายส่งของใช้ในครัวเรือน 4) การขายส่งสินค้าขั้นกลางที่มิใช่ทางการเกษตร เศษและของที่ใช้ไม่ได้ 5) การขายส่งเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ และ เครื่องมือเครื่องใช้ และ 6) การขายส่งสินค้าประเภทอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น

สำหรับรายละเอียดของวิธีการจัดทำดัชนีของแต่ละประเทศนั้น ส่วนใหญ่อาศัยวิธีการสำรวจ*(3) ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บประกอบไปด้วย ยอดขายสินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ภาษี ค่าธรรมเนียมการจัดหา ค่าขนส่ง และการติดตั้งที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการ แต่ในบางประเทศที่มีข้อจำกัดในการดำเนินการสำรวจก็จะใช้ฐานข้อมูลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งวิธีการจัดทำทั้ง 2 แบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป (ตารางที่ 2) โดยความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะขึ้นอยู่กับการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ในขณะที่การใช้ฐานข้อมูลจากการจัดเก็บภาษีนั้นจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนในการจัดทำข้อมูลแต่ก็มีความล่าช้าในการจัดทำค่อนข้างมาก

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการจัดทำข้อมูลโดยวิธีการสำรวจและการใช้ฐานข้อมูลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
 วิธีการจัดทำ                 ข้อดี                                         ข้อเสีย
การสำรวจ    - ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเป็นข้อมูลยอดขายจริง           - การเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีในการสะท้อนภาพประชากร
            - ข้อมูลมีความรวดเร็วทันต่อการใช้งาน                    ทั้งหมดทำได้ยาก
            - หากตัวอย่างที่ได้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรข้อมูล         - ความต่อเนื่องของข้อมูลจากตัวอย่าง
              ที่ได้สามารถนำไปพยากรณ์ทางเศรษฐกิจได้              - การประมาณค่าข้อมูลจากตัวอย่างกลับมาเป็นประชากร

ใกล้เคียงและแม่นยำ

VAT         - มีความครอบคลุมข้อมูลของทั้งประชากรที่อยู่ภายใต้         - ข้อมูลมีความล่าช้า
              กรอบการจัดเก็บภาษี                              - ไม่สามารถจำแนกตามภูมิภาคได้
            - ใช้ต้นทุนน้อยในการจัดเก็บ                          - มีข้อจำกัดในการนำมาใช้พยากรณ์ทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็น

ข้อมูลเก็บตามข้อกำหนดของรัฐบาลมิได้จัดเก็บเพื่อใช้

อ้างอิงดัชนีการค้าปลีกโดยเฉพาะ Source: National Statistics Office in each country and “Main Economic Indicators”, The Organisation for Economic Co-operation and Development.

Table 3: Comparison of retail trade methodology
                Method           Sample size                   Price Deflator
Australia       Survey          About 500 large            Implicit Price Index

businesses, 2,700

smaller businesses

Canada          Survey          10,000                     Implicit Price Index
Denmark         Survey          9,000                      enterprises Turnover index
Greece          Survey          1,824                      enterprises Turnover Index
Iceland         VAT             -                          Retail Price Index
Japan           Survey          All stores of 50 or        CPI all items

more employees

Mexico          Survey          19,486                     CPI all items
New Zealand     Survey / VAT    3,500 / 37,000             Retail Price Index
UK              Survey          5,000 businesses in        derived by weighting
                                Great Britain              together the CPI’s for the

appropriate commodities

USA             Survey          12,000 retail              n.a.

businesses

Source: National Statistics Office in each country and “Main Economic Indicators”, The

Organisation for Economic Co-operation and Development and Other Official

Websites.

2. การจัดทำดัชนกี รค้าในประเทศไทย
ในการจัดทำดัชนีการค้าปลีกและการค้าส่งเพื่อใช้สะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกนั้น ธปท. ใช้ยอดขายสินค้าและบริการที่ได้จากฐานข้อมูลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (เฉพาะแบบ ภ.พ. 30) ซึ่งจัดเก็บโดยกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ซึ่งมีความล่าช้าในการจัดทำข้อมูลประมาณ 2 เดือนเทียบกับงวดของข้อมูล อย่างไรก็ตาม นอกจากฐานข้อมูลดังกล่าวแล้วยังมีฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) อีก 2 ประเภทที่ได้จากดำเนินการสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการซึ่งเป็นการสำรวจรายปี และการสำรวจยอดขายรายไตรมาสซึ่งมีความล่าช้าในการจัดทำข้อมูลประมาณ 7 สัปดาห์เทียบกับงวดของข้อมูล

2.1 ลักษณะการจัดทำ (Coverage and Methodology)

ในการเลือกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อจัดทำเป็นดัชนีค้าปลีกนั้น การศึกษาฉบับนี้ได้เลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพื่อให้สามารถสะท้อนภาวะเศรษฐกิจมหภาคด้านการบริโภคของประเทศรวมถึงเพื่อใช้ติดตามภาวะการค้าและภาวะของตลาดในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที โดยข้อมูลดัชนีค้าปลีกครอบคลุมกิจกรรมที่ระบุไว้ในหมวด 52 และกิจกรรมอื่นๆ ที่มิใช่หมวด 52 ที่สามารถสะท้อนภาวะการอุปโภคบริโภคของประเทศ ได้แก่ การขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ และการขายยานยนต์ อะไหล่ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ภายใต้หมวด 50 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายจึงมีการจัดหมวดหมู่ของดัชนีค้าปลีกโดยมีทั้งสิ้น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ยอดขายสินค้าไม่คงทน 2) ยอดขายสินค้าคงทน 3) ยอดขายห้างสรรพสินค้า 4) ยอดขายรถยนต์ ซ่อมรถยนต์ และนำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ 5) ยอดขายอื่นๆ (ตารางที่ 4) และจัดทำดัชนีให้อยู่ในรูปปริมาณโดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็น Deflator*(4)

ส่วนดัชนีค้าส่งนั้นนับรวมเฉพาะกิจกรรมการขายส่งและการค้าเพื่อนายหน้า ยกเว้นยานยนต์และรถจักรยานยนต์ที่อยู่ในหมวด 51 โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ยอดขายสินค้าไม่คงทน 2) ยอดขายสินค้าคงทน 3) ยอดขายสินค้าขั้นกลาง และ 4) ยอดขายอื่นๆ (ตารางที่5) โดยใช้ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็น Deflator

สำหรับการเผยแพร่นั้น หลายประเทศมีการเผยแพร่ข้อมูลค้าปลีกทั้งในรูปแบบมูลค่า (Value) และปริมาณ (Volume) ซึ่งในการทำดัชนีราคา หรือ Price Deflator นั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 3)ส่วนข้อมูลค้าส่งนั้นจะเผยแพร่ในรูปของมูลค่าเพื่อให้สามารถนำมาคำนวณ Inventory to Sale Ratio ของกลุ่มต่างๆ ได้

ตารางที่ 4 หมวดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในการจัดทำดัชนีค้าปลีก

1. ยอดขายสินค้าไม่คงทน
  5211           การขายปลีกสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ
  5220           การขายปลีกสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ในร้านเฉพาะอย่างของสินค้านั้นๆ
  5231           การขายปลีกสินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ เครื่องสำอางและเครื่องประทินร่างกายหรือประเทืองโฉม
2. ยอดขายสินค้าคงทน
  5232           การขายปลีกสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนัง
  5233           การขายปลีกเครื่องใช้ สิ่งของ และอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน
  5234           การขายปลีกเครื่องโลหะ สีทา และกระจก
3. ยอดขายห้างสรรพสินค้า
  5219           การขายปลีกสินค้าทั่วไปอื่นๆ อาทิ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านทั่วไป
4. ยอดขายรถยนต์ ซ่อมแซมรถยนต์ และน้ำมันเชื้องเพลิงรถยนต์
  5010           การขายยานยนต์
  5020           การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมยานยนต์
  5030           การขายอะไหล่ยานยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  5040           การขาย การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ อะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  5050           การขายยานยนต์
5. อื่นๆ
  5239           การขายปลีกสินค้าอื่น ๆ ในร้านเฉพาะอย่างของสินค้านั้น ๆ
  5240           การขายปลีกของที่ใช้แล้วในร้าน
  5251           การขายปลีกโดยสถานประกอบการที่รับสั่งสินค้าทางไปรษณีย์
  5252           การขายปลีกตามแผงลอยและตลาดสด
  5259           การขายปลีกสินค้าอื่น ๆ โดยไม่มีร้าน
ที่มา: “การจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล ปี 2542”, สำนักงานสถิตแห่งชาติ.

ตารางที่ 5 หมวดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในการจัดทำดัชนีค้าส่ง
1. ยอดขายสินค้าไม่คงทน
  5121           การขายส่งวัตถุดิบทางการเกษตรและสัตว์ที่มีชีวิต
  5122           การขายส่งอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ
2. ยอดขายสินค้าคงทน
  5131           การขายส่งสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้า และรองเท้า
  5139           การขายส่งของใช้อื่น ๆ ในครัวเรือน
3. ยอดขายสินค้าขั้นกลาง
  5141           การขายส่งเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  5142           การขายส่งโลหะและแร่โลหะ
  5143           การขายส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องโลหะ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวางท่อและการทำความร้อน และเครื่องมือเครื่องใช้
  5149           การขายส่งสินค้าขั้นกลางอื่น ๆ เศษและของที่ใช้ไม่ได้
  5150           การขายส่งเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้
4. อื่นๆ
  5110           การขายส่งโดยได้รับค่าธรรมเนียมตอบแทนหรือโดยการทำสัญญาจ้าง
  5190           การขายส่งสินค้าประเภทอื่น ๆ
ที่มา: “การจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล ปี 2542”, สำนักงานสถิตแห่งชาติ.

2.2 ความสามารถของดัชนีการค้าในการติดตามภาวะเศรษฐกิจ

ในการทดสอบความเหมาะสมทางสถิติ สำหรับดัชนีการค้าเพื่อการติดตามภาวะเศรษฐกิจนั้น ได้พิจารณาเทียบกับดัชนีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index: PCI) และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Expenditure: PCE) ณ ราคาคงที่ สรุปได้ดังนี้

อัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนของดัชนีค้าปลีกและดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกัน (รูปที่ 1 — 2) และจากการทดสอบสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) พบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลรายเดือนดัชนีค้าปลีกกับ PCI อยู่ที่ 0.67 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลรายไตรมาสของดัชนีค้าปลีกกับ PCI และ PCE อยู่ที่ 0.71 และ 0.79 ตามลำดับ (ตารางที่ 6)

ในการทดสอบความสัมพันธ์ของวัฏจักรของดัชนีค้าปลีกมีทิศทางเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับ วัฏจักรของ PCI และ PCE (Procyclical) (รูปที่ 3 — 4) โดย Correlation Coefficient เท่ากับ 0.70 และ 0.71 ตามลำดับและเป็นที่น่าสังเกตว่าดัชนีค้าปลีกมีคุณสมบัติในการใช้เป็นดัชนีชี้นำ PCE อยู่ 1 ไตรมาส (ตารางที่ 6)

Table 6: Correlation Coefficients between Retail Sales Index and Macroeconomic Indicators
Correlation coefficient    Monthly data (2001:1 — 2010:12)     Quarterly data (2001:1 — 2010:4)
                                    PCI                               PCI           PCE
Retail sales index                 0.669                            0.705          0.788
                                 (9.770)**                        (6.127)**      (7.783)**
Retail sales index Cycle          0.698**                           0.697          0.712**
                               (Coincidence)                    (Coincidence)     (Lead 1Q)
Source: Authors’ calculation
Note: * Indicates that two variables are significantly correlated only at 5% level.
** Indicates that two variables are significantly correlated at 1% and 5 %. Levels.

ทั้งนี้ จากการทดสอบโดยใช้สมการถดถอย OLS ในการประมาณ PCE พบว่า ดัชนีค้าปลีกช่วยเพิ่มความสามารถในการประมาณการ PCE (Model 4) โดย RMSE เท่ากับ 0.97 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับ Model อื่นๆ (ตารางที่ 7) นอกจากนี้ จากประสบการณ์ของประเทศอังกฤษ*(5) พบว่า การที่ดัชนีค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะสอดคล้องกับ GDP ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนในกรณีของไทย อยู่ที่ 0.36

Table 7: Model Specification (2001:1 — 2010:4)
                 Model 1      Model 2     Model 3    Model 4

(Na?ve Model) (AR Model)

C                  3.84        3.73**      2.11**     1.63**
PCI                   -           -        0.53**     0.53**
Retail sales Index    -           -            -       0.05**
AR (1)                -        0.85**       0.84**     0.74**
Adjusted R2           -        0.72         0.91       0.93
LM (2)                -        2.74         1.07       1.69
                             (0.08)       (0.35)     (0.20)
RMSE               2.32        2.30         1.23       0.97
Source: Authors’ calculation
Note: * Indicates that two variables are significantly correlated only at a 5% level.
( ) Probability of F-test

2.3 การประมาณการ
          ฐานข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำแนกราย ISIC เพื่อใช้ในการจัดทำดัชนีค้าปลีกและค้าส่งนั้นมีความล่าช้าประมาณ 2 เดือนเทียบกับงวดของข้อมูล เช่น ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2554 ธปท. จะมีข้อมูลของเดือนพฤษภาคม โดยมีจำนวนแบบเฉลี่ยประมาณร้อยละ 95 ของจำนวนแบบเฉลี่ยในปี 2553 ดังนั้น ข้อมูลที่ทำการเผยแพร่จึงเป็นข้อมูลที่ได้จากการประมาณการ ซึ่ง ธปท. ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางในการประมาณของดัชนีค้าปลีกและดัชนีค้าส่งโดยวิธีต่างๆ รวม 5 วิธี พบว่า การใช้จำนวนแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยย้อนหลัง 1 เดือนมีความสามารถในการประมาณการดีที่สุด โดยค่า Mean Absolute Revision เท่ากับ 2.3 ส่วนค่า RMSE อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ซึ่งต่ำที่สุดเทียบกับการประมาณการแบบอื่นๆ (รูปที่ 5 และตารางที่ 8) เช่นเดียวกับการประมาณการดัชนีค้าส่งที่การใช้จำนวนแบบเฉลี่ยย้อนหลัง 1 เดือนมี Forecast Performance ดีที่สุด (รูปที่ 6 และตารางที่ 9)

Table 8: Retail Sales Forecast Error (2007:1 — 2010:12)
                                SA    12 months  6 months  3 months  1 month
Revision                      -11.0    -9.5       -6.7       -6.7      -6.7
Max. Revision                  11.2    10.0        5.8        5.8       5.8
Mean Revision                   0.3    -1.0       -0.8       -0.8      -0.8
Mean Absolute Revision          3.6     3.0        2.3        2.3       2.3
% of Positive Revision          57%     51%        45%        45%       45%
RMSE (%)                       3.4%    5.4%       4.0%       4.0%      4.0%
p-value of Mean Revision Test* 0.68    0.53       0.33       0.20      0.16
Source: Authors’ calculation
Note: The null hypothesis is that mean revision is not difference from zero.

Table 9: Wholesale Forecast Error (2007:1 — 2010:12)
                                SA  12 months   6 months  3 months   1 month
Min. Revision                 -20.6    -14.2       -20.2    -19.2     -18.0
Max. Revision                   9.7     14.8        17.9     17.1      16.5
Mean Revision                  -0.8      0.4        -0.9     -0.8      -0.7
Mean Absolute Revision          3.0      5.3         3.0      2.8       2.5
% of Positive Revision          45%      55%         43%      39%       35%
RMSE (%)                       5.4%     4.8%        4.9%     4.6%      4.0%
p-value of Mean Revision Test* 0.68     0.60        0.37     0.34      0.35
Source: Authors’ calculation
Note: * The null hypothesis is that mean revision is not difference from zero.

          อย่างไรก็ตาม การปรับข้อมูลดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ภาพเศรษฐกิจ ดังนั้น การจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้เป็น Track Record จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างความโปร่งใสในการจัดทำข้อมูล

3. การเผยแพร่ข้อมูลดัชนีการค้า
          ธปท. ได้จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลดัชนีการค้าโดยมีความถี่เป็นรายเดือนจำแนกข้อมูลตามมาตรฐานการจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 โดยรายละเอียดในการจำแนกหมวดหมู่ทั้งในส่วนของการค้าปลีกและการค้าส่ง ปรากฏตามตารางที่ 10 - 11 ทั้งนี้ ธปท. จะดำเนินการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2554 โดยมีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ป ? 2543 เป็นต้นไป ใน BOTWebsite ภายใต้หมวดดัชนีและเครื่องชี้ภาคเศรษฐกิจจริง >>
http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/EconomicIndices/Pages/StatRealsectorIndices.aspx

ตารางที่ 10: ตารางการเผยแพร่ข้อมูลดัชนีค้าปลีก
1. สินค้าไม่คงทน (Non durable goods)    4711    การขายปลีกในร้านค้าทั่วไปที่มีอาหาร เครื่องดื่มหรือยาสูบเป็นสินค้าหลัก
                                     4721    ขายปลีกอาหาร ในร้านเฉพาะ
                                     4772    การขายปลีกสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ และทางการแพทย์ เครื่องหอม เครื่องสำอาง
                                             และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำในร้านเฉพาะ
2. สินค้าคงทน (Durable goods)          4752    การขายปลีกเครื่องมือที่ทำจากโลหะ สีและกระจกในร้านค้าเฉพาะ
                                     4759    การขายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์อุปกรณ์ไฟฟ้าให้แสงสว่าง
                                             และของใช้ในครัวเรือนชนิดอื่นๆ  ในร้านเฉพาะ
                                     4771    การขายปลีกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนังในร้านเฉพาะ
3. ยอดขายห้างสรรพสินค้า (Department     4719    การขายปลีกสินค้าอื่นๆ ในร้านค้าทั่วไป
   stores and Supermarket)
4. ยอดขายรถยนต์ และน้ำมันเชื้องเพลิง       4510    การขายยานยนต์
   รถยนต์ (Sales of motor vehicles    4520    การบำรุงรักษาและการซ่อมยานยนต์
   and automotive fuel)                      4530 การขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์
                                     4540    การขาย การบำรุงรักษาและการซ่อมจักรยานยนต์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวเนื่อง
                                     4730    การขายปลีกเชื้อเพลิงรถยนต์ในร้านเฉพาะ
5. อื่นๆ (Others)                      4773    การขายปลีกสินค้าใหม่อื่นๆ ในร้านเฉพาะ
                                     4774    การขายปลีกสินค้ามือสองในร้านเฉพาะอย่าง
                                     4781    การขายปลีกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบบนแผงลอยและตลาด
                                     4791    การขายปลีกผ่านการสั่งซื้อทางทางไปรษณีย์หรือทางอินเตอร์เน็ต

ที่มา: United Nations (2008), “International Standard Industrial Classification (ISIC Rev.4)”.
หมายเหตุ: สำหรับรายละเอียดของหมวดอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Stat — Horizon เรื่อง จาก ISIC Rev. 3 สู่ ISIC Rev. 4 ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูล ธปท.

ตารางที่ 11: ตารางการเผยแพร่ข้อมูลดัชนีค้าส่ง
1. สินค้าไม่คงทน (Non durable goods)     4631   การขายส่งอาหาร
                                      4620   การขายส่งวัตถุดิบทางการเกษตรและสัตว์ที่มีชีวิต
2. สินค้าคงทน (Durable goods)           4641   การขายส่งสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้า และรองเท้า
                                      4649   การขายส่งสินค้าในครัวเรือนอื่นๆ
                                      4659   การขายส่งเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ประเภทอื่นๆ
3. สินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods)    4661   การขายส่งเชื้อเพลิงแข็ง เชื้อเพลิงเหลว และเชื้อเพลิงก๊าซ
                                             รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง
                                      4662   การขายส่งโลหะและสินแร่โลหะ
                                      4663   การขายส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องโลหะ อุปกรณ์และเครื่องมือ
                                             เครื่องใช้เกี่ยวกับการวางท่อและการทำความร้อน
                                      4669   การขายส่งของเสียและเศษวัสดุและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
4. อื่นๆ (Others)                       4610   การขายส่ง โดยได้รับค่าตอบแทนหรือตามสัญญาจ้าง
                                      4690   การขายส่งสินค้าทั่วไป

ที่มา: United Nations (2008), “International Standard Industrial Classification (ISIC Rev.4)”.
หมายเหตุ: สำหรับรายละเอียดของหมวดอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Stat — Horizon เรื่อง จาก ISIC Rev. 3 สู่ ISIC Rev. 4 ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูล ธปท.

          *(1) การจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล: สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2542
          *(2) International Standard Industrial Classification of All Economic Activities ISIC Rev. 3.1: United Nations Statistical Commission, 5-8 March 2002
          *(3)  ในการสุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการสำรวจมี 2 แบบ คือ 1) สุ่มอย่างเป็นอิสระจากบัญชีรายชื่อร้านค้าปลีก และ 2) เลือกตัวอย่างที่มีลักษณะเฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากบัญชีรายชื่อ เช่น ประเภทของร้านค้า สถานที่ตั้งร้านค้า เป็นต้น โดยบัญชีรายชื่อจะมีการปรับให้ทันสมัย อย่างไรก็ตามร้านค้าแผงลอยตามริมทางเท้าจะไม่รวมเข้าในบัญชีรายชื่อ เนื่องมาจากการระบุสถานที่ตั้งและการเก็บข้อมูลเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ เกณฑ์การเลือกตัวอย่างของแต่ละประเทศจะขึ้นอยู่กับตามมูลค่าธุรกรรมรวมที่เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการหรือยอดขายสินค้านั้นซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลครอบคลุมทั้งประเทศ ยกเว้นบางประเทศที่นับเฉพาะธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเขตเมือง เช่นเกาหลี เม็กซิโก และกรีซ
          *(4) 4 ธปท. ได้ทำการทดสอบทางเศรษฐมิติเพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมในการเลือกคุ้มรวม (Coverage) และ Deflator แล้ว พบว่า ดัชนี ค้าปลีกมีความครอบคลุมหมวดใน 50 และหมวด 52 โดยหมวด 52 นั้นไม่ครอบคลุมหมวดการซ่อมแซมอุปกรณ์และเครื่องใช้ในครัวเรือน (หมวด 5260) ซึ่งในการจัดทำดัชนีค้าปลีกให้อยู่ในรูปปริมาณ ได้ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) เป็น Deflator ซึ่งมีความเหมาะสมในการติดตามภาวะเศรษฐกิจได้ดีกว่าดัชนีค้าปลีกรูปแบบอื่นๆ
          *(5) The Economist. Guide to Economic Indicators: Making Sense of Economics, St Edmundsbury Press, Bury St Edmunds, Great Britain: 2003: p.123.

เอกสารอ้างอิง
          Australian Bureau of Statistics, Australian Consumer Price Index: Concepts Source and Methods: 2005.
          Eun-Pyo HONG and Maria PAZOS (2000) Indicators of retail Trade: Summary of Practices in
          OECD Countries, Workshop on Key Economic Indicators, Bangkok. May.
          Irvine, Calif. Eviews 6 user’s guide / Quantitative Micro Software: 2007.
          Kajal Lahiri and Geoffrey H. Moore. Leading economic indicators: New approaches and forecasting records, Cambridge University press, printed in United State of America: 1992.
          Norman Frumkin. Guide to Economic Indicators, 4 th Edition, Print in United State of America: 2006.
          OECD (2002), Main Economic Indicators: Comparative Methodological analysis: Industry, Retail and Construction Indicators (Volume 2002, Supplement 1): 2002.
          Pami Dua. Business Cycles and Economic Growth: An Analysis Using Leading Indicators, Oxford university press: 2004.
          Richard Yamarone. The Trader’s Guide to Key Economic Indicators: Updated and Expanded Edition, Bloomberg Press, New York: 2007.
          Robert S. Pindyck & Daniel L. Rubinfeld . Econometric Models & Economic Forecasts Third Edition McGraw-Hill, Inc: 1991.
          The Economist. Guide to Economic Indicators: Making Sense of Economics, St Edmundsbury Press, Bury St Edmunds, Great Britain: 2003.
          ปุณฑริก ศุภอมรกุล และอังสุปาลี วัชราเกียรติ (2554). จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท.,
ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย: มีนาคม 2554.
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_4-4-1-wk46.html
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจยอดขายรายไตรมาส: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_4-2-1.html

Disclaimer: ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

          ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ