ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุ ความจำเป็นในการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 51 มีน้อยลงเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจไทยและการลงทุนหลังการเลือกตั้ง” ณ ธปท. สำนัก
งานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้ความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2551
มีน้อยลง ขณะที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะวัดที่การลงทุนและการใช้จ่ายของภาคเอกชนเป็นส่วนสำคัญ ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ยังคงเคลื่อนไหว
เกาะกลุ่มค่าเงินในภูมิภาค และยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก (ไทยโพสต์, แนวหน้า, ไทยรัฐ)
2. ครม.เห็นชอบแผนส่งเสริมเอสเอ็มอีระยะ 5 ปี (2550-2554) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.วานนี้
(13 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ระยะ 5 ปี (2550-2554) ตามที่ ก.อุตสาหกรรม
เสนอ เพื่อใช้เป็นทิศทางส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ยั่งยืน สมดุล และก้าวไปสู่ความเป็นกิจการที่ใช้ความรู้และมี
พลวัตสูง โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเอสเอ็มอีจากปัจจุบัน 39% ขยายตัวต่อเนื่องเป็น 42% ในปี 2554 พร้อม
กำหนดเป้าหมายเพิ่มอัตราขยายตัวการส่งออกของเอสเอ็มอีไม่น้อยกว่าอัตราขยายตัวของการส่งออกรวม ตลอดจนเพิ่มผลิตภาพการผลิตโดยรวมไม่
น้อยกว่า 3% ต่อปี รวมทั้งเพิ่มผลิตภาพแรงงานเอสเอ็มอีไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ทั้งนี้ มีทิศทางส่งเสริม 2 แนวทาง คือ 1) เติบโตเชิงคุณภาพ โดยการ
เพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรม และ 2) เติบโตเชิงขนาด โดยมุ่งพัฒนาเอสเอ็มอีขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีเอสเอ็มอี 99.5%
ของธุรกิจทั้งประเทศ จำนวน 2.27 ล้านราย สร้างมูลค่าจีดีพี 39% หรือ 3.04 ล้านล้านบาท สร้างมูลค่าการส่งออก 29% ของมูลค่าส่งออกรวม
คิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พลังงานปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของดีเซลและไบโอดีเซล รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและ
แผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ผู้ค้าน้ำมันทุกรายปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลอีก 30 สตางค์/ลิตร ในวันที่ 14 พ.ย. ตั้งแต่เวลา
05.00 น. ยกเว้นบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ที่ไม่ขึ้นเฉพาะราคาเบนซิน 95 เนื่องจากปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่งผลให้ราคาขายปลีกในเขต
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นดังนี้ เบนซิน 95 อยู่ที่ 31.99 บาท/ลิตร เบนซิน 91 ที่ 31.19 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 28.49 บาท/ลิตร
และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 27.69 บาท/ลิตร ดีเซลอยู่ที่ 28.94 บาท/ลิตร ไบโอดีเซลบี 5 อยู่ที่ 27.94 บาท/ลิตร นอกจากนี้ รมว.พลังงาน
กล่าวว่า ได้ประกาศปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของดีเซลและไบโอดีเซลบี 5 ลงอีก 20 สตางค์/ลิตร มีผลวันที่ 15
พ.ย. เพื่อเป็นการชะลอการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ แม้ว่าขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวลดลง แต่ภาพรวมค่าการตลาดของ
บริษัทผู้ค้าน้ำมันยังอยู่ในระดับติดลบ ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นก่อนหน้านี้ (ข่าวสด, โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ระดับ 43.8 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 พ.ย.
50 Investor’s Business Daily and TechnoMetrica Market Intelligence (IBD/TIPP) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ
สรอ.ในเดือน พ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 47.3 ในเดือน ต.ค.50 ซึ่งนับเป็นการลดลงต่ำสุดเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่มี
การเก็บตัวเลขในรอบเกือบ 7 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่เดือน ก.ย.และ ต.ค.48 สรอ.ได้รับผลกระทบพายุเฮอร์ริเคนและริต้า ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวหาก
อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่เลวร้ายลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน พ.ย.นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 เนื่อง
จากผลกระทบจากความวุ่นวายตลาดที่อยู่อาศัย และราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม IBD/TIPP มีความกังวลว่า ความยุ่งยากใน
ตลาดที่อยู่อาศัยของ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่รัดกุม และการปลดพนักงานออกจำนวนมากของสถาบันการเงิน สรอ. อาจส่งผล
กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 2 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 50 คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวร้อยละ 0.7 ฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 2 ที่ขยาย
ตัวเพียงร้อยละ 0.3 และสอดคล้องกับผลสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ทางการเยอรมนีมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลข GDP อย่าง
เป็นทางการในวันพุธนี้ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจอิตาลี สเปน และเนเธอร์แลนด์ที่เปิดเผยเมื่อวันอังคาร บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจของยุโรปในไตรมาสที่
3 ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามบรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าเศรษฐกิจได้เริ่มส่งสัญญานชะลอตัวลงแล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง
การแข็งค่าของเงินยูโร การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และภาวะสินเชื่อตึงตัว จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4
ขณะที่เมื่อวานนี้ ZEW institute ได้รายงานว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ย. ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบเกือบ 15 ปี
เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะตลาดการเงิน และค่าเงินยูโรที่แข็งค่าทำสถิติสูงสุดรอบใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ระดับ 1.47 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ
ยูโร และจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นในต้นปีหน้า (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน พ.ย.50 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 15 ปี รายงานจากเมนเฮล์ม
เยอรมนี เมื่อ 13 พ.ย.50 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 269 คนในระหว่างวันที่ 29 ต.ค.และ 12 พ.ย.50 โดย
ZEW พบว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงมาอยู่ที่ระดับ — 32.5 ในเดือน พ.ย.50 จากระดับ — 18.1 ในเดือน ต.ค.50 ต่ำสุดนับตั้งแต่
เดือน ก.พ.36 และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ — 20.0 ผลจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับความวุ่นวายในตลาดเงินและค่าเงิน
ยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ในความพยายามควบคุมอัตรา
เงินเฟ้อของ Euro zone ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี โดยอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ต.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ
2.6 ต่อปี สูงกว่าที่ ECB ตั้งเป้าไว้ แต่อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของ Euro zone จะชะลอตัวลงมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิด
ภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีส่วนทำให้ ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 สูงเหนือระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ต.ค. 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ทำให้
อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี
และนับเป็นครั้งแรกที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 โดยมีสาเหตุมาจากราคาพลังงานและอาหารยังคง
เพิ่มสูงขึ้น แสดงว่าความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความหวังที่จะให้ ธ.กลางอังกฤษปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลงคง
จะเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้ ยังมีนักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 5.5 ในต้นปีหน้า โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจ
จะชะลอตัวจากความผันผวนของตลาดการเงิน ขณะที่ สนง.สถิติแห่งชาติ กล่าวว่าปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาจากต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อ
เพลิงที่มีสัดส่วนร้อยละ 0.29 ของอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 พ.ย. 50 13 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.832 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6351/33.9629 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 857.66/17.27 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,750/12,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.37 87.33 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 31.99*/28.94* 31.69/28.64 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุ ความจำเป็นในการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 51 มีน้อยลงเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจไทยและการลงทุนหลังการเลือกตั้ง” ณ ธปท. สำนัก
งานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้ความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2551
มีน้อยลง ขณะที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะวัดที่การลงทุนและการใช้จ่ายของภาคเอกชนเป็นส่วนสำคัญ ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ยังคงเคลื่อนไหว
เกาะกลุ่มค่าเงินในภูมิภาค และยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก (ไทยโพสต์, แนวหน้า, ไทยรัฐ)
2. ครม.เห็นชอบแผนส่งเสริมเอสเอ็มอีระยะ 5 ปี (2550-2554) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.วานนี้
(13 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ระยะ 5 ปี (2550-2554) ตามที่ ก.อุตสาหกรรม
เสนอ เพื่อใช้เป็นทิศทางส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ยั่งยืน สมดุล และก้าวไปสู่ความเป็นกิจการที่ใช้ความรู้และมี
พลวัตสูง โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเอสเอ็มอีจากปัจจุบัน 39% ขยายตัวต่อเนื่องเป็น 42% ในปี 2554 พร้อม
กำหนดเป้าหมายเพิ่มอัตราขยายตัวการส่งออกของเอสเอ็มอีไม่น้อยกว่าอัตราขยายตัวของการส่งออกรวม ตลอดจนเพิ่มผลิตภาพการผลิตโดยรวมไม่
น้อยกว่า 3% ต่อปี รวมทั้งเพิ่มผลิตภาพแรงงานเอสเอ็มอีไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ทั้งนี้ มีทิศทางส่งเสริม 2 แนวทาง คือ 1) เติบโตเชิงคุณภาพ โดยการ
เพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรม และ 2) เติบโตเชิงขนาด โดยมุ่งพัฒนาเอสเอ็มอีขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีเอสเอ็มอี 99.5%
ของธุรกิจทั้งประเทศ จำนวน 2.27 ล้านราย สร้างมูลค่าจีดีพี 39% หรือ 3.04 ล้านล้านบาท สร้างมูลค่าการส่งออก 29% ของมูลค่าส่งออกรวม
คิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พลังงานปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของดีเซลและไบโอดีเซล รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและ
แผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ผู้ค้าน้ำมันทุกรายปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลอีก 30 สตางค์/ลิตร ในวันที่ 14 พ.ย. ตั้งแต่เวลา
05.00 น. ยกเว้นบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ที่ไม่ขึ้นเฉพาะราคาเบนซิน 95 เนื่องจากปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่งผลให้ราคาขายปลีกในเขต
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นดังนี้ เบนซิน 95 อยู่ที่ 31.99 บาท/ลิตร เบนซิน 91 ที่ 31.19 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 28.49 บาท/ลิตร
และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 27.69 บาท/ลิตร ดีเซลอยู่ที่ 28.94 บาท/ลิตร ไบโอดีเซลบี 5 อยู่ที่ 27.94 บาท/ลิตร นอกจากนี้ รมว.พลังงาน
กล่าวว่า ได้ประกาศปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของดีเซลและไบโอดีเซลบี 5 ลงอีก 20 สตางค์/ลิตร มีผลวันที่ 15
พ.ย. เพื่อเป็นการชะลอการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ แม้ว่าขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวลดลง แต่ภาพรวมค่าการตลาดของ
บริษัทผู้ค้าน้ำมันยังอยู่ในระดับติดลบ ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นก่อนหน้านี้ (ข่าวสด, โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ระดับ 43.8 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 พ.ย.
50 Investor’s Business Daily and TechnoMetrica Market Intelligence (IBD/TIPP) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ
สรอ.ในเดือน พ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 47.3 ในเดือน ต.ค.50 ซึ่งนับเป็นการลดลงต่ำสุดเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่มี
การเก็บตัวเลขในรอบเกือบ 7 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่เดือน ก.ย.และ ต.ค.48 สรอ.ได้รับผลกระทบพายุเฮอร์ริเคนและริต้า ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวหาก
อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่เลวร้ายลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน พ.ย.นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 เนื่อง
จากผลกระทบจากความวุ่นวายตลาดที่อยู่อาศัย และราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม IBD/TIPP มีความกังวลว่า ความยุ่งยากใน
ตลาดที่อยู่อาศัยของ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยสินเชื่อที่ไม่รัดกุม และการปลดพนักงานออกจำนวนมากของสถาบันการเงิน สรอ. อาจส่งผล
กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 2 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 50 คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวร้อยละ 0.7 ฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 2 ที่ขยาย
ตัวเพียงร้อยละ 0.3 และสอดคล้องกับผลสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ทางการเยอรมนีมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลข GDP อย่าง
เป็นทางการในวันพุธนี้ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจอิตาลี สเปน และเนเธอร์แลนด์ที่เปิดเผยเมื่อวันอังคาร บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจของยุโรปในไตรมาสที่
3 ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามบรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าเศรษฐกิจได้เริ่มส่งสัญญานชะลอตัวลงแล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง
การแข็งค่าของเงินยูโร การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และภาวะสินเชื่อตึงตัว จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4
ขณะที่เมื่อวานนี้ ZEW institute ได้รายงานว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ย. ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบเกือบ 15 ปี
เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะตลาดการเงิน และค่าเงินยูโรที่แข็งค่าทำสถิติสูงสุดรอบใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ระดับ 1.47 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ
ยูโร และจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นในต้นปีหน้า (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน พ.ย.50 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 15 ปี รายงานจากเมนเฮล์ม
เยอรมนี เมื่อ 13 พ.ย.50 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 269 คนในระหว่างวันที่ 29 ต.ค.และ 12 พ.ย.50 โดย
ZEW พบว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงมาอยู่ที่ระดับ — 32.5 ในเดือน พ.ย.50 จากระดับ — 18.1 ในเดือน ต.ค.50 ต่ำสุดนับตั้งแต่
เดือน ก.พ.36 และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ — 20.0 ผลจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับความวุ่นวายในตลาดเงินและค่าเงิน
ยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ในความพยายามควบคุมอัตรา
เงินเฟ้อของ Euro zone ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี โดยอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ต.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ
2.6 ต่อปี สูงกว่าที่ ECB ตั้งเป้าไว้ แต่อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของ Euro zone จะชะลอตัวลงมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิด
ภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีส่วนทำให้ ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 สูงเหนือระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ต.ค. 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ทำให้
อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี
และนับเป็นครั้งแรกที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 โดยมีสาเหตุมาจากราคาพลังงานและอาหารยังคง
เพิ่มสูงขึ้น แสดงว่าความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความหวังที่จะให้ ธ.กลางอังกฤษปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลงคง
จะเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้ ยังมีนักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 5.5 ในต้นปีหน้า โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจ
จะชะลอตัวจากความผันผวนของตลาดการเงิน ขณะที่ สนง.สถิติแห่งชาติ กล่าวว่าปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาจากต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อ
เพลิงที่มีสัดส่วนร้อยละ 0.29 ของอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 พ.ย. 50 13 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.832 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6351/33.9629 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 857.66/17.27 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,750/12,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.37 87.33 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 31.99*/28.94* 31.69/28.64 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--