ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านการฟื้นตัวของความต้องการในประเทศที่อาจขยายตัวไม่ทันรองรับการส่งออกที่ชะลอตัว
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และ
แนวโน้มการลงทุน” ว่า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงในเรื่องของความไม่ชัดเจนว่า การฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศจะสามารถปรับสูงขึ้น
ได้ทันกับการชะลอตัวของการส่งออกในระยะต่อไปหรือไม่ โดยปัจจัยที่เห็นว่านักธุรกิจต้องการให้มีความชัดเจนคือ ความแน่นอนของนโยบายรัฐบาล
เช่น นโยบายการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็ก ความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว หรือแม้แต่การเบิกจ่ายในกรณีที่จะใช้นโยบาย
รัฐสวัสดิการ เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับภาวะความไม่แน่นอนทางนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ประกอบด้วย เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯ รวมถึงปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, มติชน,
แนวหน้า)
2. ธปท.ชี้แจงกรณีการถือหุ้นใน ธพ.ของต่างชาติเกิน 25% เป็นอำนาจการพิจารณาของ ก.คลัง นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความให้การถือหุ้นใน ธพ.ของต่างชาติเกิน 25% ได้เฉพาะกรณีที่มี
ความจำเป็นต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของ ธพ. ซึ่งบางฝ่ายเกรงว่าจะส่งผลต่อการเจรจาซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติกับ ธ.กรุงเทพที่ถือหุ้น
อยู่ใน ธ.สินเอเชียกว่า 19% และอาจมีผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดว่า การขออนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกินกว่าสัดส่วนที่
กำหนดได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติจาก ก.คลัง ส่วนหน้าที่ของ ธปท.ซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำการพิจารณาเบื้องต้นในขณะนี้ ยังไม่ได้รับ
หนังสือการแสดงฐานะและการดำเนินของ ธ.สินเอเชีย แต่อย่างใด จึงยังตอบไม่ได้ว่า ธ.สินเอเชียเข้าข่ายที่ต้องแก้ไขฐานะและการดำเนินงาน
หรือไม่ (แนวหน้า)
3. ก.พลังงานยืนยันความจำเป็นในการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาตลาดโลกก๊าซหุงต้มได้ปรับตัวสูงขึ้น
อยู่ที่ระดับ 720 เหรียญต่อตัน จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 500 กว่าเหรียญต่อตัน ซึ่งราคาดังกล่าวสะท้อนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้กองทุน
น้ำมันเชื้อเพลิงต้องอุดหนุนราคาโดยตรงอยู่ประมาณ 1-1.29 บาทต่อ กก. และมีการอุดหนุนทางอ้อมผ่านโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นในประเทศ ดังนั้น
นโยบายรัฐบาลยืนยันความจำเป็นที่ต้องขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม เพื่อชะลอการใช้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงน้ำมันแพง ซึ่งจะส่งผลให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มในอีก 2
ปีข้างหน้า และจะทำให้ไทยขาดดุลการค้ามากขึ้น สำหรับราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงในช่วงนี้ หากมีการลดลงต่อเนื่องอีก ผู้ค้าน้ำมันคงจะไม่มีความ
จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนราคาอีกในช่วงสัปดาห์นี้ เพราะค่าการตลาดอาจกลับสู่ระดับปกติได้ (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 พ.ย.50 กรมแรงงาน
ของ สรอ.รายงานราคาผู้ผลิตหรือราคาสินค้าหน้าฟาร์มและหน้าโรงงานของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือนในเดือน ต.ค.50 ที่ผ่านมา ต่ำกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.1 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.50 โดยเป็นผลจากราคาพลังงานและรถบรรทุก
เบาลดลง โดยราคาพลังงานของผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน ต.ค.50 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในเดือน ก.ย.50 ในขณะที่ราคารถ
บรรทุกเบาซึ่งรวมถึงรถเอนกประสงค์ SUV และรถปิคอัพด้วยนั้นลดลงร้อยละ 2.7 ในเดือน ต.ค.50 ลดลงมากสุดนับตั้งแต่ลดลงร้อยละ 4.7 ใน
เดือนเดียวกันปีก่อน แต่อย่างไรก็ดี ราคาผู้ผลิตพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานในเดือน ต.ค.50 อยู่ในระดับคงที่เท่ากับเดือนก่อน หลัง
จากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน แต่ราคาผู้ผลิตพื้นฐานที่ไม่รวมราคารถโดยสารและรถบรรทุกเบาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค.50 ทั้งนี้
หากเทียบต่อปีแล้ว ราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปีใน
เดือน ก.ย.48 (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 0.7 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
เมื่อวันที่ 14 พ.ย.50 สนง.สถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ในไตรมาส 3
ขยายตัวร้อยละ 0.7 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาส 2 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.6 ทำให้อัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.5 ในไตรมาส 2 โดยเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของ 3 ประเทศหลัก คือ
เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะขยายตัวลดลง เนื่องจากมี
ปัจจัยเสี่ยงมากมาย อาทิ ความผันผวนของตลาดการเงิน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของ สรอ. เงินยูโรที่แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีดีพีในไตรมาส 4 จะขยายตัวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2 ซึ่งจะทำให้ ธ.กลางสหภาพยุโรปไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อจะกำลังเพิ่มขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกในเดือน ต.ค. ของจีนเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดร้อยละ 18.1 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 50 โฆษกสำนักงาน
สถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดค้าปลีกในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.1 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 42 ที่
สำนักงานสถิติเริ่มเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกเป็นรายเดือน และมากกว่าผลสำรวจที่คาดการณ์ไว้ว่าก่อนหน้านั้นว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
17.2 เนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และราคาหุ้นสูงขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของยอด
ค้าปลีกดังกล่าวจะไม่ยั่งยืนเนื่องจากช่วงต้นเดือน ต.ค. มีวันหยุดยาวทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายมากขึ้นประกอบกับผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้นจากการสูงขึ้น
ของราคาหุ้น และราคาบ้าน แต่คาดว่าในระยะ 2 เดือนข้างหน้ายอดค้าปลีกจะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 17.0 (รอยเตอร์)
4. ราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 17 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 14 พ.ย.50
ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้ในรูปเงินวอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 17 เดือนนับตั้งแต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ต่อปีในเดือน พ.ค.49 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกในรูปเงินวอนเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 3.4 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 โดยราคาสินค้านำเข้านับเป็นเครื่องช่วยชี้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อใน
ประเทศเนื่องจากส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอก
เบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 พ.ย. 50 14 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.840 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6125/33.9430 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 861.51/18.27 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,900/13,000 12,750/12,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.09 85.37 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 31.99*/28.94* 31.99*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านการฟื้นตัวของความต้องการในประเทศที่อาจขยายตัวไม่ทันรองรับการส่งออกที่ชะลอตัว
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และ
แนวโน้มการลงทุน” ว่า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงในเรื่องของความไม่ชัดเจนว่า การฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศจะสามารถปรับสูงขึ้น
ได้ทันกับการชะลอตัวของการส่งออกในระยะต่อไปหรือไม่ โดยปัจจัยที่เห็นว่านักธุรกิจต้องการให้มีความชัดเจนคือ ความแน่นอนของนโยบายรัฐบาล
เช่น นโยบายการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็ก ความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว หรือแม้แต่การเบิกจ่ายในกรณีที่จะใช้นโยบาย
รัฐสวัสดิการ เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับภาวะความไม่แน่นอนทางนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ประกอบด้วย เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯ รวมถึงปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, มติชน,
แนวหน้า)
2. ธปท.ชี้แจงกรณีการถือหุ้นใน ธพ.ของต่างชาติเกิน 25% เป็นอำนาจการพิจารณาของ ก.คลัง นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่า
การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความให้การถือหุ้นใน ธพ.ของต่างชาติเกิน 25% ได้เฉพาะกรณีที่มี
ความจำเป็นต้องแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของ ธพ. ซึ่งบางฝ่ายเกรงว่าจะส่งผลต่อการเจรจาซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติกับ ธ.กรุงเทพที่ถือหุ้น
อยู่ใน ธ.สินเอเชียกว่า 19% และอาจมีผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดว่า การขออนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกินกว่าสัดส่วนที่
กำหนดได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติจาก ก.คลัง ส่วนหน้าที่ของ ธปท.ซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำการพิจารณาเบื้องต้นในขณะนี้ ยังไม่ได้รับ
หนังสือการแสดงฐานะและการดำเนินของ ธ.สินเอเชีย แต่อย่างใด จึงยังตอบไม่ได้ว่า ธ.สินเอเชียเข้าข่ายที่ต้องแก้ไขฐานะและการดำเนินงาน
หรือไม่ (แนวหน้า)
3. ก.พลังงานยืนยันความจำเป็นในการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาตลาดโลกก๊าซหุงต้มได้ปรับตัวสูงขึ้น
อยู่ที่ระดับ 720 เหรียญต่อตัน จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 500 กว่าเหรียญต่อตัน ซึ่งราคาดังกล่าวสะท้อนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้กองทุน
น้ำมันเชื้อเพลิงต้องอุดหนุนราคาโดยตรงอยู่ประมาณ 1-1.29 บาทต่อ กก. และมีการอุดหนุนทางอ้อมผ่านโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นในประเทศ ดังนั้น
นโยบายรัฐบาลยืนยันความจำเป็นที่ต้องขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม เพื่อชะลอการใช้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงน้ำมันแพง ซึ่งจะส่งผลให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มในอีก 2
ปีข้างหน้า และจะทำให้ไทยขาดดุลการค้ามากขึ้น สำหรับราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงในช่วงนี้ หากมีการลดลงต่อเนื่องอีก ผู้ค้าน้ำมันคงจะไม่มีความ
จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนราคาอีกในช่วงสัปดาห์นี้ เพราะค่าการตลาดอาจกลับสู่ระดับปกติได้ (ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 พ.ย.50 กรมแรงงาน
ของ สรอ.รายงานราคาผู้ผลิตหรือราคาสินค้าหน้าฟาร์มและหน้าโรงงานของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือนในเดือน ต.ค.50 ที่ผ่านมา ต่ำกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.1 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.50 โดยเป็นผลจากราคาพลังงานและรถบรรทุก
เบาลดลง โดยราคาพลังงานของผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน ต.ค.50 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในเดือน ก.ย.50 ในขณะที่ราคารถ
บรรทุกเบาซึ่งรวมถึงรถเอนกประสงค์ SUV และรถปิคอัพด้วยนั้นลดลงร้อยละ 2.7 ในเดือน ต.ค.50 ลดลงมากสุดนับตั้งแต่ลดลงร้อยละ 4.7 ใน
เดือนเดียวกันปีก่อน แต่อย่างไรก็ดี ราคาผู้ผลิตพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานในเดือน ต.ค.50 อยู่ในระดับคงที่เท่ากับเดือนก่อน หลัง
จากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน แต่ราคาผู้ผลิตพื้นฐานที่ไม่รวมราคารถโดยสารและรถบรรทุกเบาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ต.ค.50 ทั้งนี้
หากเทียบต่อปีแล้ว ราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปีใน
เดือน ก.ย.48 (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 0.7 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
เมื่อวันที่ 14 พ.ย.50 สนง.สถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ในไตรมาส 3
ขยายตัวร้อยละ 0.7 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาส 2 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.6 ทำให้อัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.5 ในไตรมาส 2 โดยเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของ 3 ประเทศหลัก คือ
เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะขยายตัวลดลง เนื่องจากมี
ปัจจัยเสี่ยงมากมาย อาทิ ความผันผวนของตลาดการเงิน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของ สรอ. เงินยูโรที่แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีดีพีในไตรมาส 4 จะขยายตัวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2 ซึ่งจะทำให้ ธ.กลางสหภาพยุโรปไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อจะกำลังเพิ่มขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกในเดือน ต.ค. ของจีนเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดร้อยละ 18.1 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 50 โฆษกสำนักงาน
สถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดค้าปลีกในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.1 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 42 ที่
สำนักงานสถิติเริ่มเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกเป็นรายเดือน และมากกว่าผลสำรวจที่คาดการณ์ไว้ว่าก่อนหน้านั้นว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
17.2 เนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และราคาหุ้นสูงขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มีความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของยอด
ค้าปลีกดังกล่าวจะไม่ยั่งยืนเนื่องจากช่วงต้นเดือน ต.ค. มีวันหยุดยาวทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายมากขึ้นประกอบกับผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้นจากการสูงขึ้น
ของราคาหุ้น และราคาบ้าน แต่คาดว่าในระยะ 2 เดือนข้างหน้ายอดค้าปลีกจะชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 17.0 (รอยเตอร์)
4. ราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 17 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 14 พ.ย.50
ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานราคาสินค้านำเข้าของเกาหลีใต้ในรูปเงินวอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 17 เดือนนับตั้งแต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ต่อปีในเดือน พ.ค.49 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกในรูปเงินวอนเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 3.4 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปีในเดือน ก.ย.50 โดยราคาสินค้านำเข้านับเป็นเครื่องช่วยชี้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อใน
ประเทศเนื่องจากส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอก
เบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 พ.ย. 50 14 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.840 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6125/33.9430 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 861.51/18.27 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,900/13,000 12,750/12,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.09 85.37 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 31.99*/28.94* 31.99*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--