ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สินเชื่อรวมทั้งระบบ ธพ.ในช่วงไตรมาส 3 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลการ
ให้สินเชื่อของ ธพ.ทั้งระบบในไตรมาส 3 ปี 50 ว่า มีจำนวนสินเชื่อรวมทั้งระบบจำนวน 6,073,702 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่มียอดสินเชื่อ
จำนวน 5,978,892 ล.บาท เพิ่มขึ้น 94,810 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 1.59% โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังขยายตัวได้ดี
เพิ่มขึ้น 3.71% นอกจากนี้ สินเชื่อประเภทตัวกลางทางการเงินขยายตัว 21.27% สินเชื่อเพื่อการบริหารราชการและป้องกันประเทศขยายตัว
52.38% สินเชื่อด้านสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ขยายตัว 2.52% และสินเชื่อบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ ขยายตัว
2.22% ขณะที่สินเชื่อที่หดตัว ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการผลิตลดลง 1.19% สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างลดลง 1.87% สินเชื่อเพื่อการเกษตรลดลง 4.33%
สินเชื่อเพื่อการประมงลดลง 2.94% และสินเชื่อเพื่อการขนส่งลดลง 9.83% (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธนาคารโลกประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 50 ที่ระดับ 4.3% ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 45 นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร
นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธ.โลกประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 50 ที่ร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นอัตรา
การขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 45 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัวลงมาก ส่วนอัตราการขยายตัวในปี 51 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
4.6 โดยยังมีความไม่แน่นอนหลายปัจจัยคือ ระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น การชะลอตัวของการส่งออก การแข็งค่าของเงิน
บาท และความไม่ชัดเจนทางการเมือง ซึ่งยังมีผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนและประชาชน นอกจากนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและ
เศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าในปี 51 การส่งออกอาจลดลงร้อยละ 7.2 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ส่งผลให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดในปี 51 เกินดุลลดลง 5,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 2.2 ของจีดีพี (โลกวันนี้, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
3. สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้น 4.29% เทียบต่อปี อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงสถิติการ
จดทะเบียนธุรกิจในเดือน ต.ค.50 ว่า มีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 3,695 ราย เพิ่มขึ้น 4.29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และหากเทียบกับเดือน ก.ย.50 เพิ่มขึ้น 11.03% คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 8,843.50 ล.บาท โดยธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งมากที่สุด 3 อันดับ
แรก คิดเป็น 14.40% ของการจัดตั้งทั้งหมด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และบริการด้านธุรกิจอื่นๆ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการ
จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเพราะเพื่อเข้ารับงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ในส่วนของการ
จดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 1,228 ราย เพิ่มขึ้น 6.45% คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 8,895.95 ล.บาท โดยธุรกิจที่จดทะเบียนเลิกกิจการ
มากที่สุด 3 อันดับแรก ซึ่งคิดเป็น 16.89% ของการจดทะเบียนเลิกกิจการทั้งหมด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ
ขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
4. ส.อ.ท.ปรับลดเป้าหมายอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปี 50 ลงเหลือ 5% ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้ปรับอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปี 50 ลงเหลือ 5% จากที่ประมาณการไว้ที่ 6% หลังประเมินภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศพบว่า ยังไม่ฟื้นตัวดีขึ้นตามที่คาดการณ์ โดยมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจนกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและต้น
ทุนการผลิต ขณะที่การเลือกตั้งแม้จะมีความชัดเจนแต่ความเชื่อมั่นก็ยังไม่กลับคืนมา ทำให้ตลาดในประเทศชะลอตัว โดยอุตสาหกรรมก่อสร้างที่อยู่ใน
ภาวะซบเซา เป็นส่วนสำคัญที่ฉุดอัตราเติบโตโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมให้ลดลงมากที่สุด (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี สูงสุดในรอบ 1 ปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15
พ.ย.50 ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ผล
จากน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 12.3 ในปีนี้ สูงเป็น 4 เท่าของทั้งปี 49 ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.9 ต่อปี และราคาอาหารซึ่งเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 5.5 ในปีนี้ เทียบกับร้อยละ 2.1 ในปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี หากเทียบต่อ
เดือนแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ต.ค.50 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.2 จากราคารถยนต์ เฟอร์นิเจอร์และค่าเช่าที่พักอาศัยที่ชะลอตัวลง ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกใน
สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 20,000 คนเป็น 339,000 คน สูงกว่าที่คาดไว้ จากจำนวน 319,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลาง สรอ.อาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน ธ.ค.50 นี้เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความวุ่นวายในตลาดการเงินและการชะลอตัว
ของตลาดบ้าน (รอยเตอร์)
2. ภาวะเงินเฟ้อของยูโรโซนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 50 นาย Klaus Liebscher กรรมาธิการ
ธ.กลางยุโรปกล่าวว่า ยูโรโซนมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและ ธ.กลางยุโรปจะดำเนินนโยบายเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อทัน
ท่วงทีหากมีความจำเป็น ทั้งนี้มีแนวโน้มอย่างชัดเจนว่าภาวะเงินเฟ้อของยูโรโนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Liebscher ผวก. ธ.กลาง
ออสเตรเลีย คาดว่าในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าจะเห็นภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น เนื่องจากการพัฒนา
ในปัจจุบัน ทั้งนี้ราคาพลังงานที่สูงขึ้น อาหาร และสินค้าอื่นๆ รวมทั้งภาวะตลาดแรงงาน และระดับการผลิตที่เต็มประสิทธิภาพ ล้วนมีส่วนทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทำให้มีความเสี่ยงในด้านเสถียรภาพราคา อย่างไรก็ตาม ธ.กลางยุโรปยังคงคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจของยูโรโซนจะขยายตัว
ในระดับที่เหมาะสมระหว่างร้อยละ 2.1 — 2.3 แม้จะเกรงว่าเศรษฐกิจจะชะลอลงตัวก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในเยอรมนีลดลงในเดือน ต.ค.50 เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 15 พ.ย.50 ราคาบ้านใน
เยอรมนีลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ต.ค.50 เท่ากับเดือนก่อน โดยนับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน และหากเทียบต่อปี ราคาบ้าน
ในเดือน ต.ค.50 ลดลงร้อยละ 3.8 หลังจากลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อน และคาดว่าราคาบ้านมีแนวโน้มจะลดลงต่อไปอีกจนถึงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้
หากเทียบกับเดือน ก.ย.49 แล้ว มีเพียงราคาบ้านใหม่เท่านั้นที่สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ในขณะที่ราคาอพาร์ทเมนท์และบ้านเก่าลดลงร้อยละ 4.9 และ
8.3 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านที่ได้รับอนุมัติยังอยู่ในระดับคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าความวุ่น
วายในตลาดการเงินเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ได้ส่งผลให้สถาบันการเงินในเยอรมนีเข้มงวดในการปล่อยกู้เพื่อซื้อบ้านแต่อย่างไร (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อ
วันที่ 15 พ.ย.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ยอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ใน
เดือน ต.ค. ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2.0 จากเดือน ก.ย. เนื่องจากการส่งออกเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วจะต้องชดเชยกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงและมีสัญญาณหลายอย่างแสดงแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และอาจจะไม่เห็นการฟื้น
ตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ภายในปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนีที่แสดงการสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน ต.ค. ชี้ให้เห็นว่าคำสั่งซื้อสินค้ารายใหม่ลดลงอย่างมาก
ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ อนึ่ง การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันทั้ง
หมดของสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 พ.ย. 50 15 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.856 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6467/33.9717 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 855.52/12.65 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,600/12,700 12,900/13,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.46 84.09 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 31.99*/28.94* 31.99*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สินเชื่อรวมทั้งระบบ ธพ.ในช่วงไตรมาส 3 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลการ
ให้สินเชื่อของ ธพ.ทั้งระบบในไตรมาส 3 ปี 50 ว่า มีจำนวนสินเชื่อรวมทั้งระบบจำนวน 6,073,702 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่มียอดสินเชื่อ
จำนวน 5,978,892 ล.บาท เพิ่มขึ้น 94,810 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 1.59% โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังขยายตัวได้ดี
เพิ่มขึ้น 3.71% นอกจากนี้ สินเชื่อประเภทตัวกลางทางการเงินขยายตัว 21.27% สินเชื่อเพื่อการบริหารราชการและป้องกันประเทศขยายตัว
52.38% สินเชื่อด้านสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ขยายตัว 2.52% และสินเชื่อบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ ขยายตัว
2.22% ขณะที่สินเชื่อที่หดตัว ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการผลิตลดลง 1.19% สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างลดลง 1.87% สินเชื่อเพื่อการเกษตรลดลง 4.33%
สินเชื่อเพื่อการประมงลดลง 2.94% และสินเชื่อเพื่อการขนส่งลดลง 9.83% (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธนาคารโลกประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 50 ที่ระดับ 4.3% ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 45 นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร
นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธ.โลกประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 50 ที่ร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นอัตรา
การขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 45 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัวลงมาก ส่วนอัตราการขยายตัวในปี 51 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
4.6 โดยยังมีความไม่แน่นอนหลายปัจจัยคือ ระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น การชะลอตัวของการส่งออก การแข็งค่าของเงิน
บาท และความไม่ชัดเจนทางการเมือง ซึ่งยังมีผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนและประชาชน นอกจากนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและ
เศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าในปี 51 การส่งออกอาจลดลงร้อยละ 7.2 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ส่งผลให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดในปี 51 เกินดุลลดลง 5,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 2.2 ของจีดีพี (โลกวันนี้, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
3. สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้น 4.29% เทียบต่อปี อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงสถิติการ
จดทะเบียนธุรกิจในเดือน ต.ค.50 ว่า มีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 3,695 ราย เพิ่มขึ้น 4.29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และหากเทียบกับเดือน ก.ย.50 เพิ่มขึ้น 11.03% คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 8,843.50 ล.บาท โดยธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งมากที่สุด 3 อันดับ
แรก คิดเป็น 14.40% ของการจัดตั้งทั้งหมด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และบริการด้านธุรกิจอื่นๆ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการ
จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเพราะเพื่อเข้ารับงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ในส่วนของการ
จดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 1,228 ราย เพิ่มขึ้น 6.45% คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 8,895.95 ล.บาท โดยธุรกิจที่จดทะเบียนเลิกกิจการ
มากที่สุด 3 อันดับแรก ซึ่งคิดเป็น 16.89% ของการจดทะเบียนเลิกกิจการทั้งหมด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ
ขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
4. ส.อ.ท.ปรับลดเป้าหมายอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปี 50 ลงเหลือ 5% ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้ปรับอัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปี 50 ลงเหลือ 5% จากที่ประมาณการไว้ที่ 6% หลังประเมินภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศพบว่า ยังไม่ฟื้นตัวดีขึ้นตามที่คาดการณ์ โดยมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจนกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและต้น
ทุนการผลิต ขณะที่การเลือกตั้งแม้จะมีความชัดเจนแต่ความเชื่อมั่นก็ยังไม่กลับคืนมา ทำให้ตลาดในประเทศชะลอตัว โดยอุตสาหกรรมก่อสร้างที่อยู่ใน
ภาวะซบเซา เป็นส่วนสำคัญที่ฉุดอัตราเติบโตโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมให้ลดลงมากที่สุด (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี สูงสุดในรอบ 1 ปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15
พ.ย.50 ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ผล
จากน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 12.3 ในปีนี้ สูงเป็น 4 เท่าของทั้งปี 49 ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.9 ต่อปี และราคาอาหารซึ่งเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 5.5 ในปีนี้ เทียบกับร้อยละ 2.1 ในปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี หากเทียบต่อ
เดือนแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ต.ค.50 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.2 จากราคารถยนต์ เฟอร์นิเจอร์และค่าเช่าที่พักอาศัยที่ชะลอตัวลง ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกใน
สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 20,000 คนเป็น 339,000 คน สูงกว่าที่คาดไว้ จากจำนวน 319,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นักวิเคราะห์จึงคาดว่า
ธ.กลาง สรอ.อาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน ธ.ค.50 นี้เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความวุ่นวายในตลาดการเงินและการชะลอตัว
ของตลาดบ้าน (รอยเตอร์)
2. ภาวะเงินเฟ้อของยูโรโซนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 50 นาย Klaus Liebscher กรรมาธิการ
ธ.กลางยุโรปกล่าวว่า ยูโรโซนมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและ ธ.กลางยุโรปจะดำเนินนโยบายเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อทัน
ท่วงทีหากมีความจำเป็น ทั้งนี้มีแนวโน้มอย่างชัดเจนว่าภาวะเงินเฟ้อของยูโรโนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Liebscher ผวก. ธ.กลาง
ออสเตรเลีย คาดว่าในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าจะเห็นภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น เนื่องจากการพัฒนา
ในปัจจุบัน ทั้งนี้ราคาพลังงานที่สูงขึ้น อาหาร และสินค้าอื่นๆ รวมทั้งภาวะตลาดแรงงาน และระดับการผลิตที่เต็มประสิทธิภาพ ล้วนมีส่วนทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทำให้มีความเสี่ยงในด้านเสถียรภาพราคา อย่างไรก็ตาม ธ.กลางยุโรปยังคงคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจของยูโรโซนจะขยายตัว
ในระดับที่เหมาะสมระหว่างร้อยละ 2.1 — 2.3 แม้จะเกรงว่าเศรษฐกิจจะชะลอลงตัวก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในเยอรมนีลดลงในเดือน ต.ค.50 เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 15 พ.ย.50 ราคาบ้านใน
เยอรมนีลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ต.ค.50 เท่ากับเดือนก่อน โดยนับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน และหากเทียบต่อปี ราคาบ้าน
ในเดือน ต.ค.50 ลดลงร้อยละ 3.8 หลังจากลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อน และคาดว่าราคาบ้านมีแนวโน้มจะลดลงต่อไปอีกจนถึงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้
หากเทียบกับเดือน ก.ย.49 แล้ว มีเพียงราคาบ้านใหม่เท่านั้นที่สูงขึ้นร้อยละ 1.8 ในขณะที่ราคาอพาร์ทเมนท์และบ้านเก่าลดลงร้อยละ 4.9 และ
8.3 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านที่ได้รับอนุมัติยังอยู่ในระดับคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าความวุ่น
วายในตลาดการเงินเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ได้ส่งผลให้สถาบันการเงินในเยอรมนีเข้มงวดในการปล่อยกู้เพื่อซื้อบ้านแต่อย่างไร (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อ
วันที่ 15 พ.ย.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ยอดการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ใน
เดือน ต.ค. ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2.0 จากเดือน ก.ย. เนื่องจากการส่งออกเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วจะต้องชดเชยกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงและมีสัญญาณหลายอย่างแสดงแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และอาจจะไม่เห็นการฟื้น
ตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ภายในปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนีที่แสดงการสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน ต.ค. ชี้ให้เห็นว่าคำสั่งซื้อสินค้ารายใหม่ลดลงอย่างมาก
ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ อนึ่ง การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันทั้ง
หมดของสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 พ.ย. 50 15 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.856 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6467/33.9717 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 855.52/12.65 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,600/12,700 12,900/13,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.46 84.09 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 31.99*/28.94* 31.99*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--