ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. แจ้ง ธ.พาณิชย์สรุปยอดเบิกจ่ายเงินสดส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสมชาย เสตกรณุกูล ผอส. สนง.ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ ธปท. กล่าวว่า จากการตรวจสอบการใช้จ่ายและการแลกเปลี่ยนเงินตราตลอดเดือน ต.ค. — 15 พ.ย. พบว่า มีการเบิกจ่ายเงิน
ผ่านตู้เอทีเอ็มและการแลกเงินผ่าน ธ.พาณิชย์และ สนง.คลังจังหวัดทั้ง 19 จังหวัดภาคอีสาน ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นจากปกติกว่า 1 เท่าตัว เฉพาะ
ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 500 บาท และ 100 บาท มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ธปท. จึงได้ทำหนังสือแจ้ง
ไปยัง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งให้สรุปยอดการเบิกจ่ายเงินสดในแต่ละสัปดาห์ส่งให้ สนง.คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในส่วนกลาง เพื่อดำเนินการ
ตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินร่วมกัน เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปด้วยความโปร่งใส (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
2. การผ่อนผันให้บุคคลถือหุ้น ธ.พาณิชย์ได้เกินกว่าร้อยละ 5 ต่อราย และให้ต่างชาติถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 25 จะต้องเป็นไปเพื่อฟื้นฟู
ฐานะหรือการดำเนินงานเท่านั้น นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้
ตอบข้อหารือของ ก.คลังถึงอำนาจของ รมว.คลัง ในการผ่อนผันให้บุคคลถือหุ้น ธ.พาณิชย์ได้เกินกว่าร้อยละ 5 ต่อราย และให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน
กว่าร้อยละ 25 จะต้องเป็นไปเพื่อการฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานเท่านั้น ซึ่งความเห็นดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดไว้อยู่แล้ว แต่สาเหตุที่ต้องหารือ
เพื่อความชัดเจนในทางกฎหมาย เนื่องจากในระยะหลังมี ธ.พาณิชย์หลายแห่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่จะขายหุ้นให้กับพันธมิตรต่างชาติ เช่น กรณี
ธ.ทหารไทยที่จะขายหุ้นเพิ่มทุนให้กลุ่มไอเอ็นจี และกรณี ธ.สินเอเชียที่ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธ.กรุงเทพกำลังหานักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้น ซึ่งการแก้ไขฐานะ
หรือการดำเนินงานคนมักมองว่าต้องให้เงินกองทุนติดลบเสียก่อน แต่ในเมื่อมองเห็นปัญหาแล้วก็ควรต้องระวังก่อน ซึ่งไม่ว่าธนาคารใดจะขออนุญาตถือ
หุ้นเกินในทั้งสองกรณีนี้ สิ่งที่ต้องทำคือพิสูจน์ให้เห็น ต้องทำประมาณการมาให้ ธปท. ซึ่งธนาคารต้องนำเสนอข้อมูลโดยละเอียด หากปล่อยให้เกิดปัญหา
กับ ธ.พาณิชย์ขึ้นก่อนแล้วค่อยให้นักลงทุนใส่เงินเข้าไปอาจจะเกิดปัญหาได้ว่าเมื่อถึงเวลาดังกล่าวจะไม่มีนักลงทุนรายใดต้องการลงทุนก็ได้ อีกทั้งหาก
รอให้เกิดปัญหารุนแรงก็จะกลายเป็นต้นทุนในการแก้ไขที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ยอมรับว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ธปท. อาจจะไม่ได้มองถึงอนาคต แต่บทเรียนที่
ผ่านมาเป็นประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และนำมาปรับปรุง (มติชน)
3. ยอดเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท รายงานข่าวจาก
ธปท. แจ้งว่า ยอดเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,425,766 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
30,395 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.18 จากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลงทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งกระตุ้นยอด
ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วยการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยและเร่งแคมเปญส่งท้ายปลายปี เพื่อจูงใจให้ประชาชนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น โดย
ธ.พาณิชย์ยังคงมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องมียอดรวมทั้งสิ้น 738,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,256 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 2.82 จากไตรมาสก่อน ส่วน ธ.อาคารสงเคราะห์มียอดเงินให้กู้ทั้งสิ้น 565,060 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,241 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 1.85 จากไตรมาสก่อน ด้าน ธ.ออมสินมียอดรวมทั้งสิ้น 120,906 ล้านบาท ลดลง 65 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.05 จากไตรมาสก่อน รวมถึง
บง. และ บล. มียอดเงินให้กู้ทั้งสิ้น 796 ล้านบาท ลดลง 36 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.33 จากไตรมาสก่อน และ บค. มียอดรวมทั้งสิ้น 51 ล้าน
บาท ลดลง 1 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.92 จากไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่อง
จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังชะลอตัว (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. ยอดเงินออมภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.4 ล้านล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า
ยอดเงินรับฝากจากครัวเรือนของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 5,479,677 ล้านบาท (ไม่รวมเงินออมจากการประกันชีวิต)
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 12,131 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.22 ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องและค่าครองชีพมีแนวโน้มปรับตัวสูง
ขึ้นขณะที่รายได้ยังคงเดิม ส่งผลให้ประชาชนไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ จึงมีการชะลอการใช้จ่ายและหันมาออมเงินฝากกันมากขึ้น โดย ธ.พาณิชย์มี
ยอดเงินออมทั้งสิ้น 4,388,964 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 18,520 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.42 ธ.ออมสินมีจำนวนทั้งสิ้น 554,572 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้น 3,973 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.72 และ ธกส. มีจำนวนทั้งสิ้น 275,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,401 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.51
ขณะที่สถาบันการเงินที่มียอดเงินออมลดลง ได้แก่ ธอส. มียอดรวมทั้งสิ้น 242,018 ล้านบาท ลดลง 11,068 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.37 บง.
และ บล. มียอดรวมทั้งสิ้น 17,660 ล้านบาท ลดลง 617 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.37 และ บค. มียอดรวมทั้งสิ้น 500 ล้านบาท ลดลง 83 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 14.2 (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ย.50 Federal
Reserve Board เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.50 หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า และสวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เป็นผลจาก
การชะลอตัวของผลผลิตโรงงาน ซึ่งลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ประกอบกับการลดลงของผลผลิตเหมืองแร่ที่ลดลงร้อยละ 0.6
หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และผลผลิตด้านสาธารณูปโภคที่ลดลงร้อยละ 1.6 จากที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ประสิทธิ
ภาพการผลิตของ สรอ. ในเดือน ต.ค. ก็ลดลงที่ระดับร้อยละ 81.7 จากร้อยละ 82.2 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะ
อยู่ที่ระดับร้อยละ 82 (รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ก.ย.50 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 พ.ย.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลของ Euro zone มีจำนวน 3.1 พันล้านยูโรหรือ
ประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ย.50 สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 2.3 พันล้านยูโร และสูงกว่าเดือนก่อน (ส.ค.
50) ซึ่งมีจำนวน 1.9 พันล้านยูโร โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของยอดนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 4.0 แต่อย่างไรก็ดี หากปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ก.ย.50 จะมีจำนวน 3.9 พันล้านยูโร
ชะลอตัวจากเดือน ส.ค.50 ซึ่งมีจำนวน 4.5 พันล้านยูโร ผลจากยอดส่งออกที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ม.ค. - ส.ค.50 Euro zone มียอดขาดดุลการค้ากับจีนสูงขึ้นมีจำนวน 70 พันล้านยูโร เทียบกับจำนวน 55.9 พันล้านยูโรในปี
ก่อน แต่ยอดขาดดุลการค้ากับรัสเซียลดลงมาอยู่ที่ 20.1 พันล้านยูโรจากจำนวน 32.6 พันล้านยูโรในปีก่อน ในขณะที่ยอดขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นค่อน
ข้างคงที่อยู่ที่ 15.4 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. ลดลงอย่างผิดคาด รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 50 trade agency
International Enterprise ของสิงคโปร์เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 อยู่ที่ระดับ 15.8 พัน ล. ดอลลาร์ สิงคโปร์ (10.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงอย่างผิดคาดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่อง
จากการขยายตัวของการส่งออกยาและเวชภัณฑ์ไม่อาจที่จะชดเชยกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องได้ ทั้งนี้การส่งออกที่ลด
ลงในเดือน ต.ค. เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสรอ.ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของสิงคโปร์ลดลง ก่อนหน้านั้น
ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอตัวจากที่ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเดือน ก.ย. ทั้งนี้ Joseph Tan นัก
กลยุทธ์จาก Fortis กล่าวว่าในเดือน ก.ย. ได้มีสัญญานของการชะลอตัวในภาคอิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว แต่คาดว่าตัวเลขการส่งออกดังกล่าวจะไม่ส่ง
ผลกระทบถึงการทบทวนตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 ของสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้เกินดุลการค้าลดลงในเดือน ต.ค.50 รายงานจากโซลเมื่อ 16 พ.ย.50 The Korea Customs Service เปิด
เผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.50 มีมูลค่า 34.50 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 23.1 เทียบต่อปี ต่ำกว่าการประมาณ
การครั้งก่อนหน้าที่มีการคาดการณ์ว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 24.2 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 32.61 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ
27.3 เทียบต่อปี ใกล้เคียงกับการประมาณการครั้งก่อนหน้าที่ร้อยละ 27.2 ส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 เป็นจำนวน 1,890
ล.ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าการประมาณการครั้งก่อนที่ระดับ 2,203 ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 พ.ย. 50 16 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.861 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6531/33.9809 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38149 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 849.07/13.96 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,600/12,700 12,600/12,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.12 85.46 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94** 31.99/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 17 พ.ย. 50 ** ปรับเพิ่มเมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. แจ้ง ธ.พาณิชย์สรุปยอดเบิกจ่ายเงินสดส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสมชาย เสตกรณุกูล ผอส. สนง.ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ ธปท. กล่าวว่า จากการตรวจสอบการใช้จ่ายและการแลกเปลี่ยนเงินตราตลอดเดือน ต.ค. — 15 พ.ย. พบว่า มีการเบิกจ่ายเงิน
ผ่านตู้เอทีเอ็มและการแลกเงินผ่าน ธ.พาณิชย์และ สนง.คลังจังหวัดทั้ง 19 จังหวัดภาคอีสาน ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นจากปกติกว่า 1 เท่าตัว เฉพาะ
ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 500 บาท และ 100 บาท มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ธปท. จึงได้ทำหนังสือแจ้ง
ไปยัง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งให้สรุปยอดการเบิกจ่ายเงินสดในแต่ละสัปดาห์ส่งให้ สนง.คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในส่วนกลาง เพื่อดำเนินการ
ตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินร่วมกัน เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปด้วยความโปร่งใส (โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
2. การผ่อนผันให้บุคคลถือหุ้น ธ.พาณิชย์ได้เกินกว่าร้อยละ 5 ต่อราย และให้ต่างชาติถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 25 จะต้องเป็นไปเพื่อฟื้นฟู
ฐานะหรือการดำเนินงานเท่านั้น นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า จากกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้
ตอบข้อหารือของ ก.คลังถึงอำนาจของ รมว.คลัง ในการผ่อนผันให้บุคคลถือหุ้น ธ.พาณิชย์ได้เกินกว่าร้อยละ 5 ต่อราย และให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน
กว่าร้อยละ 25 จะต้องเป็นไปเพื่อการฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานเท่านั้น ซึ่งความเห็นดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดไว้อยู่แล้ว แต่สาเหตุที่ต้องหารือ
เพื่อความชัดเจนในทางกฎหมาย เนื่องจากในระยะหลังมี ธ.พาณิชย์หลายแห่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่จะขายหุ้นให้กับพันธมิตรต่างชาติ เช่น กรณี
ธ.ทหารไทยที่จะขายหุ้นเพิ่มทุนให้กลุ่มไอเอ็นจี และกรณี ธ.สินเอเชียที่ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธ.กรุงเทพกำลังหานักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้น ซึ่งการแก้ไขฐานะ
หรือการดำเนินงานคนมักมองว่าต้องให้เงินกองทุนติดลบเสียก่อน แต่ในเมื่อมองเห็นปัญหาแล้วก็ควรต้องระวังก่อน ซึ่งไม่ว่าธนาคารใดจะขออนุญาตถือ
หุ้นเกินในทั้งสองกรณีนี้ สิ่งที่ต้องทำคือพิสูจน์ให้เห็น ต้องทำประมาณการมาให้ ธปท. ซึ่งธนาคารต้องนำเสนอข้อมูลโดยละเอียด หากปล่อยให้เกิดปัญหา
กับ ธ.พาณิชย์ขึ้นก่อนแล้วค่อยให้นักลงทุนใส่เงินเข้าไปอาจจะเกิดปัญหาได้ว่าเมื่อถึงเวลาดังกล่าวจะไม่มีนักลงทุนรายใดต้องการลงทุนก็ได้ อีกทั้งหาก
รอให้เกิดปัญหารุนแรงก็จะกลายเป็นต้นทุนในการแก้ไขที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ยอมรับว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ธปท. อาจจะไม่ได้มองถึงอนาคต แต่บทเรียนที่
ผ่านมาเป็นประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และนำมาปรับปรุง (มติชน)
3. ยอดเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท รายงานข่าวจาก
ธปท. แจ้งว่า ยอดเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,425,766 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
30,395 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.18 จากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลงทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งกระตุ้นยอด
ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วยการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยและเร่งแคมเปญส่งท้ายปลายปี เพื่อจูงใจให้ประชาชนตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น โดย
ธ.พาณิชย์ยังคงมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องมียอดรวมทั้งสิ้น 738,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,256 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 2.82 จากไตรมาสก่อน ส่วน ธ.อาคารสงเคราะห์มียอดเงินให้กู้ทั้งสิ้น 565,060 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,241 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 1.85 จากไตรมาสก่อน ด้าน ธ.ออมสินมียอดรวมทั้งสิ้น 120,906 ล้านบาท ลดลง 65 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.05 จากไตรมาสก่อน รวมถึง
บง. และ บล. มียอดเงินให้กู้ทั้งสิ้น 796 ล้านบาท ลดลง 36 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.33 จากไตรมาสก่อน และ บค. มียอดรวมทั้งสิ้น 51 ล้าน
บาท ลดลง 1 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.92 จากไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่อง
จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังชะลอตัว (ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. ยอดเงินออมภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.4 ล้านล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า
ยอดเงินรับฝากจากครัวเรือนของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 5,479,677 ล้านบาท (ไม่รวมเงินออมจากการประกันชีวิต)
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 12,131 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.22 ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องและค่าครองชีพมีแนวโน้มปรับตัวสูง
ขึ้นขณะที่รายได้ยังคงเดิม ส่งผลให้ประชาชนไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ จึงมีการชะลอการใช้จ่ายและหันมาออมเงินฝากกันมากขึ้น โดย ธ.พาณิชย์มี
ยอดเงินออมทั้งสิ้น 4,388,964 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 18,520 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.42 ธ.ออมสินมีจำนวนทั้งสิ้น 554,572 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้น 3,973 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.72 และ ธกส. มีจำนวนทั้งสิ้น 275,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,401 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.51
ขณะที่สถาบันการเงินที่มียอดเงินออมลดลง ได้แก่ ธอส. มียอดรวมทั้งสิ้น 242,018 ล้านบาท ลดลง 11,068 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.37 บง.
และ บล. มียอดรวมทั้งสิ้น 17,660 ล้านบาท ลดลง 617 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.37 และ บค. มียอดรวมทั้งสิ้น 500 ล้านบาท ลดลง 83 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 14.2 (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ย.50 Federal
Reserve Board เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.50 หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า และสวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เป็นผลจาก
การชะลอตัวของผลผลิตโรงงาน ซึ่งลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ประกอบกับการลดลงของผลผลิตเหมืองแร่ที่ลดลงร้อยละ 0.6
หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และผลผลิตด้านสาธารณูปโภคที่ลดลงร้อยละ 1.6 จากที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ประสิทธิ
ภาพการผลิตของ สรอ. ในเดือน ต.ค. ก็ลดลงที่ระดับร้อยละ 81.7 จากร้อยละ 82.2 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะ
อยู่ที่ระดับร้อยละ 82 (รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ก.ย.50 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 พ.ย.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลของ Euro zone มีจำนวน 3.1 พันล้านยูโรหรือ
ประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ย.50 สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 2.3 พันล้านยูโร และสูงกว่าเดือนก่อน (ส.ค.
50) ซึ่งมีจำนวน 1.9 พันล้านยูโร โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของยอดนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนซึ่งขยายตัว
ร้อยละ 4.0 แต่อย่างไรก็ดี หากปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน ก.ย.50 จะมีจำนวน 3.9 พันล้านยูโร
ชะลอตัวจากเดือน ส.ค.50 ซึ่งมีจำนวน 4.5 พันล้านยูโร ผลจากยอดส่งออกที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อเดือน
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ม.ค. - ส.ค.50 Euro zone มียอดขาดดุลการค้ากับจีนสูงขึ้นมีจำนวน 70 พันล้านยูโร เทียบกับจำนวน 55.9 พันล้านยูโรในปี
ก่อน แต่ยอดขาดดุลการค้ากับรัสเซียลดลงมาอยู่ที่ 20.1 พันล้านยูโรจากจำนวน 32.6 พันล้านยูโรในปีก่อน ในขณะที่ยอดขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นค่อน
ข้างคงที่อยู่ที่ 15.4 พันล้านยูโร (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. ลดลงอย่างผิดคาด รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 50 trade agency
International Enterprise ของสิงคโปร์เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 อยู่ที่ระดับ 15.8 พัน ล. ดอลลาร์ สิงคโปร์ (10.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงอย่างผิดคาดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่อง
จากการขยายตัวของการส่งออกยาและเวชภัณฑ์ไม่อาจที่จะชดเชยกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องได้ ทั้งนี้การส่งออกที่ลด
ลงในเดือน ต.ค. เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสรอ.ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของสิงคโปร์ลดลง ก่อนหน้านั้น
ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอตัวจากที่ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเดือน ก.ย. ทั้งนี้ Joseph Tan นัก
กลยุทธ์จาก Fortis กล่าวว่าในเดือน ก.ย. ได้มีสัญญานของการชะลอตัวในภาคอิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว แต่คาดว่าตัวเลขการส่งออกดังกล่าวจะไม่ส่ง
ผลกระทบถึงการทบทวนตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 ของสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้เกินดุลการค้าลดลงในเดือน ต.ค.50 รายงานจากโซลเมื่อ 16 พ.ย.50 The Korea Customs Service เปิด
เผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.50 มีมูลค่า 34.50 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 23.1 เทียบต่อปี ต่ำกว่าการประมาณ
การครั้งก่อนหน้าที่มีการคาดการณ์ว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 24.2 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 32.61 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ
27.3 เทียบต่อปี ใกล้เคียงกับการประมาณการครั้งก่อนหน้าที่ร้อยละ 27.2 ส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 เป็นจำนวน 1,890
ล.ดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าการประมาณการครั้งก่อนที่ระดับ 2,203 ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 พ.ย. 50 16 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.861 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6531/33.9809 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38149 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 849.07/13.96 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,600/12,700 12,600/12,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.12 85.46 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94** 31.99/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 17 พ.ย. 50 ** ปรับเพิ่มเมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--