ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. บัญชีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนราย ในไตรมาส 3 ธปท. รายงานตัวเลขยอดเงินฝากของ ธ.พาณิชย์ใน
ประเทศแยกตามอายุเงินฝาก ณ สิ้นเดือน ก.ย.50 เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นเดือน มิ.ย.50 ซึ่งเป็นช่วงที่ ก.คลังเสนอร่าง พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
กำหนดวงเงินประกันสูงสุดที่ 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการฝากเงินของประชาชนทันที โดยเริ่มเห็น
การกระจายเงินฝากจากก้อนใหญ่เป็นบัญชีต่ำกว่า 1 ล้านบาทมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่าในเดือน ก.ย.50 มีบัญชีเงินฝากทุกอายุทุกวงเงินทั้งสิ้น
71,961,710 บัญชี เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือน มิ.ย.50 จำนวน 627,559 บัญชี คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 6,710,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105,223 ล้านบาท
โดยแยกเป็นบัญชีตั้งแต่วงเงินไม่เกิน 50,000 — 1,000,000 ล้านบาท ทั้งสิ้น 71,075,405 บัญชี หรือร้อยละ 98.76 ของวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนหน้า 610,948 บัญชี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่เป็นบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 886,305 บัญชี หรือร้อยละ 1.24
ขอวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 6,611 บัญชี หรือร้อยละ 0.7 (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เดือนแรกสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 740 ล้านบาท นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผอ.สนง.คณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจประจำปี งปม.51 ในเดือน ต.ค.50 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการนำส่งรายได้ รัฐวิสาหกิจสามารถ
นำส่งรายได้ให้ ก.คลังสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3.22 จากที่ตั้งไว้ 23,012.04 ล้านบาท นำส่งจริง 23,752.50 ล้านบาท หรือสูงกว่าที่
ประมาณการไว้ 740.46 ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงสุด ได้แก่ กฟผ. จำนวน 8,913 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำนวน 7,338.75
ล้านบาท และ สนง.สลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,319.21 ล้านบาท ด้านการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่ง ประจำปี 50
สิ้นสุดเดือน ต.ค.50 สามารถเบิกจ่ายได้จริง 174,030.45 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.10 ของงบลงทุนทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติในปีนี้ จำนวน
318,776.88 ล้านบาท และคาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนเมื่อถึงสิ้นปี (ธ.ค.50) จะสามารถเบิกจ่ายได้ 226,700 ล้านบาท หรือร้อยละ 68
(ผู้จัดการรายวัน, มติชน, เดลินิวส์)
3. อัตราดอกเบี้ยในปีหน้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มชะลอตัว นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กก.ผจก. ธ.อาคาร
สงเคราะห์ เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้ว่า มีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากความไม่ชัดเจนทางการเมือง เศรษฐกิจชะลอตัว
และผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนตลาด ทำให้ผู้ประกอบชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบหดตัว แต่
ตลาดแนวสูงขยายตัวดี สำหรับแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยปี 51 ภาพรวมคงชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยลบ ได้แก่ ปัญหาการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ
ราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อ ส่วนแนวโน้มราคาบ้านใหม่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 — 10 ตามราคาน้ำมันและวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยปี 51 อยู่ในช่วงขาขึ้น คาดว่าจะปรับขึ้นในครึ่งปีหลังจากทิศทางของค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ โดยจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากก่อน
(ไทยรัฐ)
4. ตลท. ตั้งเป้าเพิ่มมาร์เก็ตแคปเป็น 3 แสนล้านบาท ในปีหน้า นางภัทรียา เบญจพลชัย กก.ผจก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.) เปิด
เผยถึงแผนงานปี 51 ว่า ตลท. ตั้งเป้าหมายที่จะมีบริษัทเข้าจดทะเบียน 37 บริษัท มีมูลค่าตามราคาตลาดรวม 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นในตลาด
หลักทรัพย์ 25 บริษัท ทั้งนี้ หากแบ่งตามมาร์เก็ตแคปจะมีขนาดใหญ่ 5 แห่ง มูลค่าตั้งแต่ 1 หมื่นล้านบาท ขนาดกลางมีมูลค่า 1 พัน ถึง 1 หมื่นล้าน
บาท จำนวน 10 แห่ง ขนาดเล็ก น้อยกว่า 1 พันล้านบาท จำนวน 10 แห่ง และอีก 12 แห่ง เข้าจดทะเบียนในเอ็มเอไอมีมาร์เก็ตแคปเฉลี่ยอยู่ที่
500 ล้านบาท สำหรับระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในปีหน้าจะลดเวลาภายในวันทำการที่ 3 หรือ T+3 เป็นภายในวันทำการที่ 2 หรือ T+2
และการพัฒนาระบบทำงานเพื่อรองรับธุรกรรมการซื้อพันธบัตรเอกชน ส่วนด้านอุปสงค์จะมีการเพิ่มขยายฐานผู้ลงทุน โดยกำหนดเป้าหมายให้จำนวนผู้
ถือหลักทรัพย์และผู้ถือหน่วยลงทุนรวมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 (มติชน, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.คาดว่าเศรษฐกิจ สรอ.ในปีหน้าจะขยายตัวระหว่าง 1.6 ถึง 2.6 ต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 พ.ย.50
ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 — 31 ต.ค.50 ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ. ได้มีมติให้มีการปรับเพิ่มความถี่ในการออกรายงานการคาดการณ์
เศรษฐกิจเป็น 4 ครั้งต่อปีและขยายขอบเขตการคาดการณ์ให้ครอบคลุมช่วงระยะเวลา 3 ปี และในการประชุมครั้งนี้ ธ.กลาง สรอ.คาดว่าอัตราเงิน
เฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของ สรอ.ในอีก 3 ปีข้างหน้าคือในปี 53 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 และ 2.0 ต่อปี นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจ สรอ.ในปีหน้าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.6 ถึง 2.6 ต่อปี เทียบกับการคาดการณ์ครั้งก่อนเมื่อเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมาซึ่งคาดว่า
เศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 2.5 และ 3.0 ต่อปี โดยให้ข้อสังเกตว่าศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ.ลดลงเมื่อ
เทียบกับช่วงต้นทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. บ้านสร้างใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นแต่แนวโน้มยังคงอยู่ในระดับต่ำ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 50
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่าในเดือน ต.ค. ยอดสร้างบ้านใหม่มีจำนวน 1.229 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.0 ฟื้นตัวจากที่
ลดลงถึงร้อยละ 11 เมื่อเดือนที่แล้ว แต่คำขออนุญาตสร้างบ้านที่บ่งชี้ตลาดบ้านในอนาคตลดลงร้อยละ 6.6 อยู่ที่ 1.178 ล้านหลัง และอยู่ในระดับต่ำ
สุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 36 บ่งชี้ว่าตลาดบ้าน สรอ.จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
3. คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 11.5 ท่ามกลางความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 พ.ย.
50 ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า ในปีนี้เศรษฐกิจจีนจะเติบโตเกินกว่าร้อยละ 11.0 ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 46 เป็นต้นมาจีนซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่
4 ในโลกมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าร้อยละ 10 อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นใกล้สถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี ซึ่งทางการจีนมี
ความวิตกในเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและป้องกันการสูงขึ้น
ของระดับราคา เพื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ขณะที่เงินหยวนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นภายหลังจากที่ นรม. Wen
Jiabao ของจีนแสดงความเห็นที่ดีต่อนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน โดยเขาได้กล่าวในการประชุมว่า งานที่สำคัญคือการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ลดมลพิษในสภาวะแวดล้อม และส่งเสริมรายได้สำหรับผู้ยากจน นอกจากนั้น นรม. Wen Jiabao ยังได้พบปะกับบรรดาผู้
นำจาก South East Asian ในเรื่องการส่งเสริมการค้าระหว่างกลุ่มประเทศดังกล่าวด้วย (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 21 พ.ย.50 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 จำนวน 1.0186 ล้านล้านเยน (9.27 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.)
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1 เทียบต่อปี เทียบกับที่นักวิเคราะห์ประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.0522 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
71.5 และหากเทียบต่อเดือน เกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ที่จำนวน 1.0726 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.
เนื่องจากมีการส่งออกจำนวน 7.5155 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ขณะที่มี
การนำเข้าจำนวน 6.4969 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 อนึ่ง ในเดือน ต.ค.
ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.5 ที่จำนวน 1.4982 ล้านล้านเยน ขณะที่ส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ที่จำนวน 1.1717
ล้านล้านเยน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 พ.ย. 50 20 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.887 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6770/33.9957 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37813 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 830.05/27.55 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,450/12,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.27 86.77 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94** 32.49*/28.94** 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 17 พ.ย. 50 ** ปรับเพิ่มเมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. บัญชีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนราย ในไตรมาส 3 ธปท. รายงานตัวเลขยอดเงินฝากของ ธ.พาณิชย์ใน
ประเทศแยกตามอายุเงินฝาก ณ สิ้นเดือน ก.ย.50 เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นเดือน มิ.ย.50 ซึ่งเป็นช่วงที่ ก.คลังเสนอร่าง พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
กำหนดวงเงินประกันสูงสุดที่ 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการฝากเงินของประชาชนทันที โดยเริ่มเห็น
การกระจายเงินฝากจากก้อนใหญ่เป็นบัญชีต่ำกว่า 1 ล้านบาทมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่าในเดือน ก.ย.50 มีบัญชีเงินฝากทุกอายุทุกวงเงินทั้งสิ้น
71,961,710 บัญชี เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือน มิ.ย.50 จำนวน 627,559 บัญชี คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 6,710,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105,223 ล้านบาท
โดยแยกเป็นบัญชีตั้งแต่วงเงินไม่เกิน 50,000 — 1,000,000 ล้านบาท ทั้งสิ้น 71,075,405 บัญชี หรือร้อยละ 98.76 ของวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนหน้า 610,948 บัญชี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่เป็นบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 886,305 บัญชี หรือร้อยละ 1.24
ขอวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 6,611 บัญชี หรือร้อยละ 0.7 (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เดือนแรกสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 740 ล้านบาท นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผอ.สนง.คณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจประจำปี งปม.51 ในเดือน ต.ค.50 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการนำส่งรายได้ รัฐวิสาหกิจสามารถ
นำส่งรายได้ให้ ก.คลังสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3.22 จากที่ตั้งไว้ 23,012.04 ล้านบาท นำส่งจริง 23,752.50 ล้านบาท หรือสูงกว่าที่
ประมาณการไว้ 740.46 ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงสุด ได้แก่ กฟผ. จำนวน 8,913 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำนวน 7,338.75
ล้านบาท และ สนง.สลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,319.21 ล้านบาท ด้านการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่ง ประจำปี 50
สิ้นสุดเดือน ต.ค.50 สามารถเบิกจ่ายได้จริง 174,030.45 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.10 ของงบลงทุนทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติในปีนี้ จำนวน
318,776.88 ล้านบาท และคาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนเมื่อถึงสิ้นปี (ธ.ค.50) จะสามารถเบิกจ่ายได้ 226,700 ล้านบาท หรือร้อยละ 68
(ผู้จัดการรายวัน, มติชน, เดลินิวส์)
3. อัตราดอกเบี้ยในปีหน้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มชะลอตัว นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กก.ผจก. ธ.อาคาร
สงเคราะห์ เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้ว่า มีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากความไม่ชัดเจนทางการเมือง เศรษฐกิจชะลอตัว
และผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนตลาด ทำให้ผู้ประกอบชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบหดตัว แต่
ตลาดแนวสูงขยายตัวดี สำหรับแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยปี 51 ภาพรวมคงชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยลบ ได้แก่ ปัญหาการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ
ราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อ ส่วนแนวโน้มราคาบ้านใหม่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 — 10 ตามราคาน้ำมันและวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยปี 51 อยู่ในช่วงขาขึ้น คาดว่าจะปรับขึ้นในครึ่งปีหลังจากทิศทางของค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ โดยจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากก่อน
(ไทยรัฐ)
4. ตลท. ตั้งเป้าเพิ่มมาร์เก็ตแคปเป็น 3 แสนล้านบาท ในปีหน้า นางภัทรียา เบญจพลชัย กก.ผจก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.) เปิด
เผยถึงแผนงานปี 51 ว่า ตลท. ตั้งเป้าหมายที่จะมีบริษัทเข้าจดทะเบียน 37 บริษัท มีมูลค่าตามราคาตลาดรวม 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นในตลาด
หลักทรัพย์ 25 บริษัท ทั้งนี้ หากแบ่งตามมาร์เก็ตแคปจะมีขนาดใหญ่ 5 แห่ง มูลค่าตั้งแต่ 1 หมื่นล้านบาท ขนาดกลางมีมูลค่า 1 พัน ถึง 1 หมื่นล้าน
บาท จำนวน 10 แห่ง ขนาดเล็ก น้อยกว่า 1 พันล้านบาท จำนวน 10 แห่ง และอีก 12 แห่ง เข้าจดทะเบียนในเอ็มเอไอมีมาร์เก็ตแคปเฉลี่ยอยู่ที่
500 ล้านบาท สำหรับระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในปีหน้าจะลดเวลาภายในวันทำการที่ 3 หรือ T+3 เป็นภายในวันทำการที่ 2 หรือ T+2
และการพัฒนาระบบทำงานเพื่อรองรับธุรกรรมการซื้อพันธบัตรเอกชน ส่วนด้านอุปสงค์จะมีการเพิ่มขยายฐานผู้ลงทุน โดยกำหนดเป้าหมายให้จำนวนผู้
ถือหลักทรัพย์และผู้ถือหน่วยลงทุนรวมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 (มติชน, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.คาดว่าเศรษฐกิจ สรอ.ในปีหน้าจะขยายตัวระหว่าง 1.6 ถึง 2.6 ต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 พ.ย.50
ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 — 31 ต.ค.50 ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ. ได้มีมติให้มีการปรับเพิ่มความถี่ในการออกรายงานการคาดการณ์
เศรษฐกิจเป็น 4 ครั้งต่อปีและขยายขอบเขตการคาดการณ์ให้ครอบคลุมช่วงระยะเวลา 3 ปี และในการประชุมครั้งนี้ ธ.กลาง สรอ.คาดว่าอัตราเงิน
เฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของ สรอ.ในอีก 3 ปีข้างหน้าคือในปี 53 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 และ 2.0 ต่อปี นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจ สรอ.ในปีหน้าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.6 ถึง 2.6 ต่อปี เทียบกับการคาดการณ์ครั้งก่อนเมื่อเดือน มิ.ย.50 ที่ผ่านมาซึ่งคาดว่า
เศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 2.5 และ 3.0 ต่อปี โดยให้ข้อสังเกตว่าศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ.ลดลงเมื่อ
เทียบกับช่วงต้นทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. บ้านสร้างใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นแต่แนวโน้มยังคงอยู่ในระดับต่ำ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 50
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่าในเดือน ต.ค. ยอดสร้างบ้านใหม่มีจำนวน 1.229 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.0 ฟื้นตัวจากที่
ลดลงถึงร้อยละ 11 เมื่อเดือนที่แล้ว แต่คำขออนุญาตสร้างบ้านที่บ่งชี้ตลาดบ้านในอนาคตลดลงร้อยละ 6.6 อยู่ที่ 1.178 ล้านหลัง และอยู่ในระดับต่ำ
สุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 36 บ่งชี้ว่าตลาดบ้าน สรอ.จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
3. คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 11.5 ท่ามกลางความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 พ.ย.
50 ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า ในปีนี้เศรษฐกิจจีนจะเติบโตเกินกว่าร้อยละ 11.0 ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 46 เป็นต้นมาจีนซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่
4 ในโลกมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าร้อยละ 10 อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นใกล้สถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี ซึ่งทางการจีนมี
ความวิตกในเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและป้องกันการสูงขึ้น
ของระดับราคา เพื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ขณะที่เงินหยวนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นภายหลังจากที่ นรม. Wen
Jiabao ของจีนแสดงความเห็นที่ดีต่อนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน โดยเขาได้กล่าวในการประชุมว่า งานที่สำคัญคือการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ลดมลพิษในสภาวะแวดล้อม และส่งเสริมรายได้สำหรับผู้ยากจน นอกจากนั้น นรม. Wen Jiabao ยังได้พบปะกับบรรดาผู้
นำจาก South East Asian ในเรื่องการส่งเสริมการค้าระหว่างกลุ่มประเทศดังกล่าวด้วย (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 21 พ.ย.50 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 จำนวน 1.0186 ล้านล้านเยน (9.27 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.)
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1 เทียบต่อปี เทียบกับที่นักวิเคราะห์ประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 1.0522 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
71.5 และหากเทียบต่อเดือน เกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ที่จำนวน 1.0726 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.
เนื่องจากมีการส่งออกจำนวน 7.5155 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ขณะที่มี
การนำเข้าจำนวน 6.4969 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 อนึ่ง ในเดือน ต.ค.
ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.5 ที่จำนวน 1.4982 ล้านล้านเยน ขณะที่ส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ที่จำนวน 1.1717
ล้านล้านเยน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 พ.ย. 50 20 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.887 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6770/33.9957 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37813 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 830.05/27.55 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,450/12,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.27 86.77 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94** 32.49*/28.94** 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 17 พ.ย. 50 ** ปรับเพิ่มเมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--