แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 2, 2011 17:05 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 13 /2554

ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนเดือนตุลาคม 2554 ชะลอตัวต่อเนื่อง จากผลของอุทกภัยในหลายพื้นที่ มีส่วนทาให้ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน หดตัวลง ส่วนการท่องเที่ยวได้รับอานิสงค์ส่วนหนึ่งจากผู้หลีกภัยน้าท่วม ขณะที่ภาคการค้า การส่งออกและนาเข้า และการใช้จ่ายของภาครัฐยังขยายตัวดี ทางด้านเสถียรภาพ เงินเฟ้อปรับลดลงเล็กน้อยผลจากมาตรการดูแลราคาพลังงานของภาครัฐ ด้านการว่างงานยังอยู่ในระดับต่า สาหรับเงินให้สินเชื่อและเงินฝากยังขยายตัวดี

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ มีดังนี้

อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายจังหวัด ทาให้ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.1 ส่วนหนึ่งจากปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภทขาดแคลนจากการหยุดการผลิตและพบอุปสรรคด้านการขนส่ง ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 14.3 เนื่องจากยังพบอุปสรรคในการก่อสร้างบางพื้นที่ อย่างไรก็ดี เริ่มมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพหลังน้าลดเพิ่มขึ้น สาหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 6.0 ส่วนหนึ่งจากการเลื่อนพิจารณาและประกาศ ใช้พระราชบัญญัติงบประมาณปี 2555

การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่า 309.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 ตามการส่งออกผ่านด่านชายแดนโดยเฉพาะไปพม่าและลาว ขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 124.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 9.3 ตามการนาเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลาง ส่วนการนาเข้าผ่านด่านชายแดนหดตัว ตามการนาเข้าจากพม่าและจีนที่ลดลง

ภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 5.1 ตามการลดลงในหลายสาขาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไดโอด ไอซี และมอเตอร์ ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและคาสั่งซื้อลดลง รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบบางส่วนจากผลกระทบต่อเนื่องจากน้าท่วมโรงงานผลิตในภาคกลาง ขณะที่การผลิตอาหารลดลงตามการชะลอตัวของความต้องการในตลาดญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี การผลิตวัสดุก่อสร้างเร่งตัวขึ้นตามความต้องการเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและส่งออก ขณะที่การผลิตเครื่องดื่มขยายตัวจากการรับโอนการผลิตจากโรงงานในเครือที่ประสบอุทกภัยในภาคกลาง ด้านรายได้เกษตรกรหดตัวร้อยละ 9.4 (ข้อมูลเบื้องต้น) ต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากด้านผลผลิตที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากขึ้น โดยผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 8.1 เนื่องจากแหล่งผลิตหลักในภาคเหนือตอนล่างประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรงกว่าทุกปี ส่งผลให้พืชสาคัญหลายชนิดเสียหายและมีผลผลิตต่อไร่ต่าลง อาทิ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสาปะหลัง ด้านราคาพืชผลสาคัญยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตพืชสาคัญกระทบฝนทาให้คุณภาพลดลงและมีความชื้นสูง โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสาปะหลัง และถั่วเหลือง อย่างไรก็ดี ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีปรับสูง ขึ้นจากเดือนก่อนและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ตามราคารับจานาที่กาหนดไว้สูงกว่าทุกปี การท่องเที่ยว ได้รับอานิสงค์ส่วนหนึ่งจากผู้อพยพและกลับถิ่นเดิมชั่วคราวเพื่อหลีกภัยน้าท่วม แม้พฤติกรรมการใช้จ่ายไม่สูงเท่านักท่องเที่ยวทั่วไป ทางด้านดัชนีการค้าขยายตัวร้อยละ 9.6 จากการเพิ่มขึ้นของหมวดยานยนต์และหมวดค้าปลีก ตามความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

เสถียรภาพในประเทศ จากผลของมาตรการดูแลราคาพลังงานของภาครัฐ ทาให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.10 จากร้อยละ 5.21 เดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว อาหารสด เนื้อ และผักสด เพราะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยและค่าขนส่งได้ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 3.75

การว่างงานเดือนกันยายน 2554 มีอัตราร้อยละ 0.7 ซึ่งอยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง ขณะที่จานวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม รวมมาตรา 33 (ภาคบังคับ) และมาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) เพียงสิ้นเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 จาแนกเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จานวน 646,807 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จานวน 120,872 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3

เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2554 มีจานวน 432,788 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากของส่วนราชการเป็นสาคัญ ด้านเงินให้สินเชื่อมีจานวน 385,566 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.9 ความต้องการสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และในหลายธุรกิจ เช่น การค้าปลีกค้าส่ง สหกรณ์ออมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการผลิต รับเหมา/ค้าวัสดุก่อสร้าง สาหรับสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 89.1

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ทวีศักดิ์ ใจคาสืบ

โทร. 0-5393-1162 e-mail : Thaveesc@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ