สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนพฤศจิกายน ปี 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 5, 2012 13:31 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 1/2555

เศรษฐกิจภาคใต้เดือนพฤศจิกายนโดยรวมขยายตัว ตามการผลิตภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากในช่วงเดียวกันปีก่อนผลผลิตลดลงมากจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปีและอุทกภัยในภาคใต้ช่วงปลายปี ส่วนการท่องเที่ยวขยายตัวตามจานวนนักท่องเที่ยวจากเอเชีย ยุโรป และสแกนดิเนเวีย ขณะเดียวกันการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ชะลอลงจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทางด้านการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว สอดคล้องกับสินเชื่อที่ยังขยายตัวและรายได้ภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี สาหรับเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสาเร็จรูป

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ภาคการผลิต ผลผลิตภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยผลผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.0 ตามผลผลิตปาล์มน้ามันซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 168.2 และยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เนื่องจากในปีก่อนได้รับผลกระทบจากภัยแล้งช่วงต้นปีและอุทกภัยในช่วงปลายปี ขณะที่ราคาพืชผลเกษตรลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 21.6 ตามราคาปาล์มน้ามันและยางพาราซึ่งลดลงร้อยละ 23.4 และ 23.2 ตามลาดับ เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ามันออกสู่ตลาดมาก ประกอบกับสต็อกน้ามันปาล์มดิบทั้งของมาเลเซียและไทยอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันความต้องการยางพาราชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลาง ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6 เร่งขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 ในเดือนก่อน ตามปริมาณวัตถุดิบปาล์มน้ามันที่ออกสู่ตลาดมาก และความต้องการซื้อยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะถุงมือยาง ไม้ยางพารา และอาหารทะเลแช่แข็ง

ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัว โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวแถบเอเชีย ยุโรป และสแกนดิเนเวีย เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว การเพิ่มเส้นทางบินตรงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เหตุความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจังหวัดยะลาและนราธิวาส

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจากอุทกภัยในภาคกลางส่งผลกระทบให้ยอดการจาหน่ายรถยนต์ชะลอลง

การลงทุน ขยายตัวตามพื้นที่ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.3 จากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา และสงขลา ขณะเดียวกันทุนจดทะเบียนนิติบุคคลรายใหม่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 30.3

การส่งออก ขยายตัวในเกณฑ์ดีมีมูลค่า 1,489.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงเป็นสาคัญ อย่างไรก็ตามสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ถุงมือยาง อาหารกระป๋อง และสัตว์น้าแช่แข็ง

ส่วนการนาเข้ามีมูลค่า 545.4 ล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ตามมูลค่าการนาเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากโรงงานผลิตได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลาง

ทางด้านสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 20.0 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัว ทาให้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนในภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเงินฝากขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 13.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนเป็นผลจากราคายางพาราปรับลดลง และส่วนหนึ่งธนาคารรัฐออกผลิตภัณฑ์เงินออมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจทาให้ผู้ฝากมีทางเลือกเพิ่มขึ้น

ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.56 ตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากอุทกภัยในภาคกลางที่ทาให้แหล่งผลิตสินค้าได้รับความเสียหาย อาทิ อาหารสาเร็จรูป ผักสด ไข่และผลิตภัณฑ์นมเป็นต้น ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่นที่มิใช่อาหารชะลอลงตามราคาน้ามันเชื้อเพลิงเป็นสาคัญ

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร.0-7427-2000 ต่อ 4713 e-mail: somtawis@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ