ปี 2555 กุ้งไทยยังสดใสหรือไม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 16, 2012 13:24 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ถนอมจิตร สิริภคพร

ส่วนเศรษฐกิจภาค ธปท. สำนักงานภาคใต้

กุมภาพันธ์ 2555

ปี 2554 ที่ผ่านมาถือเป็นอีกปีทองของภาคการผลิตกุ้งไทย โดยราคากุ้งขาวทุกขนาดปรับตัวสูงขึ้นอยู่เหนือระดับราคาในปี 2553 และสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับราคาส่งออกกุ้งที่เพิ่มสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า ในปี 2555 ราคากุ้งของไทยจะยังดีต่อเนื่องเหมือนกับปี 2553 และ 2554 อีกหรือไม่

เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2554 ราคากุ้งขาวดีดตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2553 และทรงตัวอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี โดยในปี 2554 ราคากุ้งขาวที่ตลาดทะเลไทย ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม อยู่ที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.87 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 113.50 บาทในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 และยังส่งผลทำให้ราคาส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งของไทยปี 2554 เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยอยู่ที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 257.66 บาท เพิ่มจากกิโลกรัมละ 218.62 บาทในปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 สอดคล้องกับราคากุ้งขาวในตลาดหลักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจากข้อมูล INFOFISH Trade News ปี 2554 ราคากุ้งขาวในตลาดสหรัฐอเมริกา อาทิ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง (Headless shell-on ขนาด 41/50 ตัวต่อกิโลกรัม) เฉลี่ยปอนด์ละ 3.50 ดอลลาร์สรอ. เพิ่มจากปอนด์ละ 2.92 ดอลลาร์ สรอ.ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 และราคาในตลาดญี่ปุ่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.83 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มจากกิโลกรัมละ 6.41 ดอลลาร์ สรอ.ในปี 2553 หรือปรับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคากุ้งปี 2554 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องมาจาก
  • ผลผลิตกุ้งโลก และผลผลิตกุ้งไทย ปี 2554 อยู่ในระดับต่ำ จากข้อมูลสำ นักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผลผลิตกุ้งโลกปี 2554 อยู่ที่ระดับ 2.1 ล้านตัน ลดลงจาก 2.3 ล้านตันในปี 2553 หรือลดลงร้อยละ 9.6 เนื่องจากเกิดปัญหาโรคระบาดและสภาพอากาศแปรปรวนในแหล่งเพาะเลี้ยงสำ คัญหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม จีน ไทย และอินโดนีเซียที่ยังมีผลกระทบจากโรคไวรัสกล้ามเนื้อขุ่น (IMNV)
ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของโลก

หน่วย : พันตัน ปี 2551 2552 2553 2554* % yoy %สัดส่วน

โลก       2,084  2,192  2,322  2,100    -9.6   100.0
จีน          523    560    600    535   -10.8    25.5
ไทย         466    567    554    502    -9.3    23.9
เวียดนาม     200    200    224    203    -9.4     9.7
เอกวาดอร์    150    140    145    131    -9.7     6.2
อินโดนีเซีย    230    180    140    126   -10.0     6.0
อินเดีย        87    100    120    125     4.2     5.9
บราซิล        65     65     72     65    -9.7     3.1
อื่น ๆ        363    380    467    413   -11.6    19.7
หมายเหตุ :* ประมาณการโดย สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก.
ที่มา: สมาคมกุ้งไทย อ้างในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สำ หรับ ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงโดยรวมของไทยปี 2554 อยู่ที่ 502,188 ตัน (คิดเป็นกุ้งขาวร้อยละ 99.71 และกุ้งกุลาดำร้อยละ 0.29) ลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 9.3 เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายจากภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานีในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2554 และยังมีปัญหาโรคขี้ขาวระบาดอยู่ในบางพื้นที่ ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยมีฝนตกชุก จึงทำให้การเลี้ยงยากขึ้น ส่งผลให้โรงงานแปรรูปกุ้งหลายแห่งต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอย่างหนักช่วงต้นปี

จากภาวะราคากุ้งที่เร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2554 จูงใจให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงกุ้งเพิ่มมากขึ้น ทำให้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2554 เริ่มมีผลผลิตกุ้งเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และเพิ่มมากในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 สามารถตอบสนองทันกับความต้องการวัตถุดิบกุ้งของภาคการผลิต เพื่อเร่งผลิตและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าในต่างประเทศได้ทันในช่วงเทศกาลสำคัญปลายปี ในขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมยาวนานทางภาคกลางของไทยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งภาคการผลิตและภาคการส่งออกกุ้งแต่อย่างใด โดยมีเพียงผลกระทบทางอ้อมต่อห่วงโซ่อุปทาน อาทิ บรรจุภัณฑ์ เป็นสำคัญ

ผลผลิตกุ้งของไทย ปี 2550-2554

หน่วย : ตัน

ปี          ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยง

กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งรวม 2550 441,451 3,300 444,751 2551 464,418 1,912 466,330 2552 565,898 1,078 566,976 2553 551,516 2,393 553,909 2554 500,726 1,462 502,188

%yoy      -9.2    -38.9      -9.3
ที่มา : ศูนย์ประสานงานความปลอดภัยด้านอาหารประมงสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
  • ความต้องการกุ้งในตลาดส่งออกยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจในตลาดหลักทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยในปี 2554 ไทยมีปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป(ไม่รวมกุ้งกระป๋อง) จำนวน387,172.9 ตัน คิดเป็นมูลค่า 108,292.9 ล้านบาท ซึ่งแม้ปริมาณจะลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 7.0 เนื่องจากผลผลิตกุ้งไทยได้รับความเสียหายจากภาวะอุทกภัยต้นปี แต่ทว่ามูลค่าการส่งออกปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 สะท้อนถึงราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เนื่องจากในปีนี้ไทยเราส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป (Prepared or Preserved Shrimp or Prawn not canned) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.4 ขณะที่มี การส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง (Shrimp Fresh and Frozen) ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 16.5 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของผู้ซื้อโดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่นที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปนิยมสินค้าแปรรูปเพิ่มมูลค่ามากขึ้น ประกอบกับผู้ส่งออกไทยที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากอุทกภัยช่วงต้นปี ส่วนหนึ่งปรับตัวหันมาเน้นผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากใช้วัตถุดิบกุ้งน้อยกว่าแต่จำหน่ายได้ราคาดี
ตลาดส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปไทย

หน่วย : ตัน / ล้านบาท

ประเทศ                 2553                2554
                ปริมาณ      มูลค่า     ปริมาณ        มูลค่า
สหรัฐอเมริกา  191,684.6   46,756.2   176,861.1   50,380.3
ญี่ปุ่น          74,525.9   19,930.6    77,830.2   24,038.6
สหภาพยุโรป    66,111.1   14,847.2    58,758.9   15,755.7
แคนาดา       22,085.6    5,324.8    22,394.3    6,377.4
เกาหลีใต้       9,389.0    1,821.4    10,274.0    2,316.9
ตลาดอื่นๆ      52,342.8    9,564.9    41,054.4    9,424.0
ส่งออกรวม    416,139.0   98,245.1   387,172.9  108,292.9
% yoy             8.6        9.3        (7.0)      10.2
ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดย ธปท.สำนักงานภาคใต้

แนวโน้มราคากุ้งไทย ปี 2555คาดว่า ราคากุ้งปี 2555 จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเนื่องจากตลาดยังมีความต้องการต่อเนื่อง อาทิ ตลาดญี่ปุ่นในส่วนของผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่า และตลาดใหม่อย่างจีนที่มีแนวโน้มการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้นรวมทั้ง ตลาดเกาหลีใต้ที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โประหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม - 12 สิงหาคม 2555 รวม 93 วัน ขณะที่ตลาดหลักสหรัฐอเมริกาและยุโรปแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ระมัดระวังการใช้จ่ายแต่ก็ยังมีความต้องการกุ้งต่อเนื่อง โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมานิยมบริโภคกุ้งขนาดเล็กลงและมีราคาถูก

ทั้งนี้ ทางสมาคมกุ้งไทยได้มีการคาดการณ์ผลผลิตกุ้งไทยปี 2555 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 และตั้งเป้าปริมาณการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 4.8-5 แสนตันต่อปีมูลค่ารวมกว่า 1.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ทั้งปริมาณและมูลค่า

อย่างไรก็ตาม ปี 2555 ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคากุ้งของไทยจาก1) ปริมาณผลผลิตกุ้งในตลาดโลกที่อาจปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผลผลิตจากอินเดียที่คาดกันว่าในปี 2555 จะเป็นปีทองของกุ้งอินเดีย ขณะเดียวกันยังมีการผลิตเพิ่มขึ้นในเวียดนาม และอินโดนีเซียที่ฟื้นตัวจากโรคระบาดได้ระดับหนึ่ง 2) ปัญหาโรคระบาดอาทิ โรคตัวแดงดวงขาว และโรคขี้ขาวเป็นต้น 3) ภัยธรรมชาติ และสภาพอากาศแปรปรวน โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมปลายปี และประการสำคัญสุดท้าย 4)ปัญหาการกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองว่าตลาดหลักมีความพยายามนำเอามาตรการกีดกันทางการค้ามาใช้มากขึ้นในปีนี้ อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti-dumping : AD) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งปัจจุบันไทยถูกเก็บที่อัตรา 0.73 ขณะที่คู่แข่งจีน และเวียดนาม มีแนวโน้มจะหลุดจากภาษีนี้ในระยะต่อไปซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันได้นอกจากนั้น ไทยอาจถูกสหภาพยุโรประงับการให้สิทธิ GSP ซึ่งจะทำให้กุ้งแช่เย็นแช่แข็งของไทยถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 12.0 และกุ้งแปรรูปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ 20.0

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


แท็ก ภาคใต้   ธปท.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ