สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนมกราคม ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 2, 2012 11:37 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 5/2555

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมกราคม 2555 ชะลอตัวตามผลผลิตการเกษตรที่ชะลอตัวลง ประกอบกับ คาสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และมีวันหยุดในเทศกาลตรุษจีนทาให้การผลิตของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกหดตัว ขณะเดียวกันราคายางลดลงอย่างต่อเนื่องและผลกระทบจากอุทกภัยใน ภาคกลางยังมีอยู่ส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุน แม้ว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีจากนักท่องเที่ยวเอเชียและยุโรป ได้แก่ จีน มาเลเซีย และรัสเซียก็ตาม สาหรับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 ตามราคาน้ามันเชื้อเพลิงเป็นสาคัญ รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ภาคการผลิตชะลอตัวตามผลผลิตภาคเกษตร โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 18.1 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 62.5 เป็นผลจากผลผลิตยางพาราชะลอลงเหลือร้อยละ 4.9 ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ามันยังขยายตัวสูง ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวลง โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.2 จากการผลิตอุตสาหกรรมยางแปรรูปและไม้ยางแปรรูป เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นและตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักชะลอการซื้อ รวมทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง การผลิตลดลงเช่นเดียวกันผลจากราคาวัตถุดิบที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากในเดือนนี้และกาลังซื้อผู้บริโภคจากตลาดหลักลดลงจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนอุตสาหกรรมน้ามันปาล์มเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาด

อย่างไรก็ตาม ในภาคการท่องเที่ยวขยายตัวสูงขึ้นทั้งภาคใต้ฝั่งอันดามัน ฝั่งอ่าวไทย และภาคใต้ชายแดน จากเทศกาลตรุษจีนที่ต่อเนื่องจากเทศกาลปีใหม่และสภาพอากาศที่หนาวจัดในยุโรป ทาให้นักท่องเที่ยวจากเอเชียและยุโรป ได้แก่ จีน มาเลเซีย และรัสเซีย ขยายตัวในอัตราสูง โดยที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.8 และอัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 72.5 สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 67.3

แม้ว่ารายได้จากภาคการท่องเที่ยวจะขยายตัวดีจากจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้เกษตรกรยังหดตัวร้อยละ 21.4 เป็นผลจากด้านราคาเป็นสาคัญ ขณะเดียวกันรายได้จากการส่งออกลดลง ประกอบกับผลกระทบของอุทกภัยในภาคกลางทาให้รถยนต์และสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภทยังคงมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนนี้ชะลอตัวชัดเจนมากขึ้นโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7

ภาวะการลงทุนภาคเอกชนหดตัวอย่างเห็นได้ชัด หลังจากมีสัญญานชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 โดยในเดือนนี้ลดลงถึงร้อยละ 9.0 มูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 23.2 ตามการลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดยางพาราที่ลดลงทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า นอกจากนี้อาหารบรรจุกระป๋องและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกลดลงเช่นเดียวกัน สาหรับมูลค่าการนาเข้าหดตัวร้อยละ 60.5 ผลจากการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ลดลงมากถึงร้อยละ 62.8 เป็นสาคัญ

จากภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ในภาพรวมที่ชะลอลง ทาให้เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ชะลอตัว โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 ส่วนเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.38 เทียบกับ ร้อยละ 4.21 ในเดือนก่อนตามราคาน้ามันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ ขณะที่ราคาอาหารและเครื่องดื่มแม้จะยังอยู่ในระดับสูงแต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออานวยและ การขนส่งสินค้าจากภาคกลางกลับสู่ภาวะปกติภายหลังอุทกภัย

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร.0-7427-2000 ต่อ 4717 e-mail : Pasuthar@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ