นางสาววรรณวิมล สว่างเงินยวง
ทีมวิเคราะห์สาขาเศรษฐกิจ
สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตอนที่แล้ว (6 มี.ค.) ได้กล่าวถึงผลกระทบของอุทกภัยในปี 54 ของไทยต่อการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive: HDD) และชิ้นส่วน HDD ทาให้ต้องหยุดการผลิตอย่างกะทันหันและเกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน จนเกิดการขาดแคลน HDD ในตลาดโลกในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 โดยมีการหดตัวลงถึงร้อยละ 26 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และยังทาให้ยอดจาหน่ายคอมพิวเตอร์ในไตรมาสที่ 1 ปี 55 ลดลงถึงร้อยละ 11.6 จากไตรมาสก่อน ซึ่งผลกระทบนี้ชี้ให้เห็นความสาคัญของอุตสาหกรรม HDD ไทยต่ออุตสาหกรรม HDD ของโลก
นอกเหนือจากอุตสาหกรรม HDD อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่มีความสาคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกเช่นกัน โดยในปี 2554 ไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์ (Assembler) รายใหญ่เป็นอันดับ 13*(1) ของโลก (เพิ่งถูกรัสเซียเบียดตกจากอันดับ 12 จากปัญหาการผลิตในปี 2554) และเป็นหนึ่งในเครือข่ายการผลิตรถยนต์ ที่สาคัญของญี่ปุ่น โดยรถยนต์ที่ผลิตในไทยกว่าร้อยละ 80 เป็นรถยนต์จากค่ายญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นฮอนด้า โตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ อีซูซุ และ ฮิโน่ และนอกจากไทยจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่แล้ว เรายังเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สาคัญทั้งการผลิตชิ้นส่วนและระบบหลักของรถยนต์ (กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ขั้นที่ 1: Tier 1) และการผลิตชิ้นส่วนย่อยและชิ้นส่วนขั้นพื้นฐาน (กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3: Tier 2,3) สะท้อนจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยต้องหยุดผลิตอย่างกะทันหันจากอุทกภัย ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน และทาให้โรงงานประกอบรถยนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศหลายแห่งต้องชะลอการผลิตหรือหยุดการผลิตชั่วคราว ตัวอย่างเช่น ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. 54 หดตัวลงประมาณร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเป็นสาเหตุหลักที่ทาให้ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนเดียวกันหดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 2.6 นอกจากนี้ อุทกภัยยังส่งผลให้รถยนต์รุ่นใหม่ที่ต้องใช้ชิ้นส่วนจากไทยต้องเลื่อนการเปิดตัวออกไป เช่น ฮอนด้า ต้องเลื่อนการเปิดตัวรถรุ่น Life Diva ในมาเลเซียเนื่องจากขาดแคลนล้ออลูมิเนียมจากไทย เป็นต้น
การขาดแคลนวัตถุดิบดังกล่าวส่งผลให้บริษัทผลิตรถยนต์หลายแห่งต้องปรับตัวโดยวิธีการต่างๆ อาทิ (1) การลดกาลังการผลิตลงชั่วคราว เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้าในญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือต้องลดการผลิตเหลือเพียงร้อยละ 50-70 ของกาลังการผลิตปกติ โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม รวมทั้งโรงงานของฟอร์ดในแอฟริกาใต้ต้องชะลอการผลิต เป็นต้น และ (2) การลดจานวนวันทางานของคนงานชั่วคราว เช่น โรงงานประกอบรถยนต์มิตซูบิชิ ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ได้ประกาศลดจานวนวันทางานลง
*(1) ข้อมูลเบื้องต้นจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จาก 5 วันต่อสัปดาห์เหลือเพียง 3 วัน ซึ่งการชะลอการผลิตและลดจานวนวันทางานดังกล่าวเกิดขึ้นมากในช่วงเดือน ต.ค. และ พ.ย. 54 และสถานการณ์จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติในไม่ช้า เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน การผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากการหาชิ้นส่วนทดแทนจากแหล่งอื่นในประเทศ และการนาเข้าและจากการฟื้นฟูโรงงานผลิตชิ้นส่วนและโรงงานประกอบรถยนต์ที่เสียหาย โดยบริษัทรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นเกือบทุกแห่งกลับมาผลิตได้เต็มที่ตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ขณะที่ฮอนด้าคาดว่าจะกลับมาเริ่มผลิตได้เร็วกว่าที่คาดไว้โดยจะเริ่มผลิตในปลายเดือน มี.ค. และจะผลิตได้เต็มที่ภายในเดือน เม.ย. นี้
อุทกภัยครั้งนี้แสดงถึงความสาคัญของอุตสาหกรรม HDD และยานยนต์ของไทยต่อภาคการผลิตของโลก การหยุดผลิตอย่างกะทันหันของอุตสาหกรรมดังกล่าวทาให้ห่วงโซ่อุปทานต้องหยุดชะงักทันที และยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิต HDD และยานยนต์ทั่วโลก แม้อุตสาหกรรมทั้งสองจะฟื้นตัวได้เร็วแต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร และจากการหยุดผลิตทาให้บริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติต้องกลับมาพิจารณาแผนการลงทุนในระยะต่อไปโดยอาจจะเลือกกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่พึ่งพาฐานการผลิตที่ใดที่หนึ่งมากจนเกินไป ดังนั้น การเร่งสร้างระบบป้องกันอุทกภัยที่น่าเชื่อถือและเป็นรูปธรรมเพื่อเร่งสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนในการตัดสินใจลงทุนในไทยต่อไปจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยควรให้ความสาคัญ
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จาเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2555
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย