FAQ 69: หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยน่ากังวลจริงหรือ?

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 28, 2012 11:50 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

Summary

หนี้ต่างประเทศระยะสั้นเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2010 จากสินเชื่อการค้าที่คู่ค้าในต่างประเทศให้กับผู้นำเข้าซึ่งเพิ่มขึ้นตามการนำเข้าที่ขยายตัว และจากหนี้เงินกู้ระหว่างสถาบันการเงินที่อยู่ในเครือเดียวกันในต่างประเทศ เพื่อนำเงินดอลลาร์ สรอ.มาปล่อยกู้ในตลาดกู้ยืมเงินดอลลาร์ สรอ.ในไทย (ตลาด FX Swap) เพราะสภาพคล่องเงินดอลลาร์ สรอ.ค่อนข้างขาดแคลนระหว่างปี 2010-2011 เป็นผลจากผู้ส่งออกและนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศทาสัญญาขายดอลลาร์สรอ.ล่วงหน้า (สัญญา Forward) มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้น สถาบันการเงินจึงต้องปรับฐานะสภาพคล่อง (Square Position) ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยการซื้อเงินดอลลาร์สรอ. โดยมีสัญญาว่าจะนำไปขายคืนในเวลาที่กำหนด (สัญญา Swap) ซึ่งโดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะทำสัญญา Swap เท่ากับอายุของสัญญา Forward จึงไม่น่าจะสร้างความเสี่ยงจากอายุหนี้ต่างกัน (Maturity Mismatch) มากนักและที่สำคัญธุรกรรมส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. จึงไม่น่าจะมีความเสี่ยงสูงนักจากสกุลเงินที่ต่างกัน (Currency Mismatch) โดยรวมจึงยังไม่น่ากังวล

หนี้ต่างประเทศระยะสั้นครั้งนี้แม้จะมีระดับใกล้เคียงกับปี 1997 แต่ไม่มีความเสี่ยงด้าน Currency และ Maturity Mismatch เช่นในอดีตที่หนี้ประเภทนี้เร่งตัวขึ้นจากการดำเนินกิจการวิเทศธนกิจที่ส่วนใหญ่กู้เงินตราต่างประเทศที่มีอายุสัญญาสั้นให้แก่นักลงทุนที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ จึงมีความเสี่ยงสูงทั้ง Currency และ Maturity Mismatch ประกอบกับเครื่องชี้เสถียรภาพต่างประเทศในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตและเกณฑ์สากลขั้นต่ำที่กำหนดไว้มาก จึงสามารถมั่นใจได้ว่า หากเกิดการไหลออกของเงินทุนระยะสั้นอย่างฉับพลัน ไทยจะมีศักยภาพการชำระหนี้และมีสภาพคล่องเพียงพอโดยไม่กระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม แม้หนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะไม่สร้างปัญหาให้เกิดเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันแต่ควรติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องวัตถุประสงค์การกู้ ลักษณะธุรกรรม และการติดตามธุรกรรมที่มี Currency และ Maturity Mismatch มากจนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวดี มักมีเงินทุนไหลเข้าในลักษณะที่เอื้อต่อการก่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น จึงควรจำกัดปริมาณการก่อหนี้ชนิดนี้ให้เหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์สากลที่กำหนดไว้ รวมถึงควรนำเงินกู้เหล่านี้ไปใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

  • Source: [UK CreditCards.com] n.d. [image online] Available at:
บทนำ

หนี้ต่างประเทศระยะสั้น*(1) (Short-term External Debt: ST ExDebt) ที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2010 และทาให้สัดส่วนหนี้ประเภทนี้เทียบกับหนี้ต่างประเทศทั้งหมด (Total External Debt: Total ExDebt) ใกล้เคียงกับปี 1995 ซึ่งมีสัดส่วนดังกล่าวสูงสุด และนำไปสู่วิกฤติหนี้ต่างประเทศระยะสั้นปี 1997 ทาให้หลายฝ่ายกังวลว่า ไทยจะกลับไปซ้ารอยวิกฤติในอดีตหรือไม่

บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่า สถานะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยน่ากังวลเพียงใด และควรดำเนินนโยบายอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤติหนี้ต่างประเทศในอนาคต

1. สถานะและความสำคัญของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น

หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2002 และเริ่มเร่งตัวในปี 2010 เป็นต้นมา จนมีระดับใกล้เคียงกับปี 1997 จากหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเป็นสำคัญ โดยมีสัดส่วนหนี้ประเภทนี้ต่อหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น (ST ExDebt/Total ExDebt) จากร้อยละ 20 ในปี 2002 มาเป็นร้อยละ 50.4 และ 45.9 ในปี 2010 และปี 2011 ตามลำดับใกล้เคียงปี 1995 ที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงสุด (ร้อยละ 52) ที่ก่อปัญหาเสถียรภาพด้านต่างประเทศและนำไปสู่วิกฤติในที่สุด ดังนั้นข้อมูลนี้จึงสร้างความกังวลต่อนักลงทุนและผู้กำหนดนโยบาย

เหตุที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นมากกว่าหนี้ต่างประเทศประเภทอื่น*(2) เนื่องจากหนี้ประเภทนี้มีแนวโน้มจะทำให้เงินทุนไหลออกอย่างฉับพลัน หากความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้สั่นคลอนจนย้ายไปลงทุนที่อื่นโดยไม่ต่ออายุหนี้ ( Rollover) ซึ่งมีนัยสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ การขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้หาก มีปัญหาอายุหนี้ต่างกัน(Maturity Mismatch) และมูลค่าหนี้ในรูปเงินสกุลในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากเงินที่อ่อนค่าลง หากเกิดปัญหาสกุลเงินที่ต่างกัน ( Currency Mismatch)*(3)

ตัวอย่างที่สะท้อนความสำคัญของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นได้ดี คือ ในปี 1997 เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และไทย มีสัดส่วนหนี้ประเภทนี้เทียบกับ เงินสำรองระหว่างประเทศ ( STExDebt/Reserve) สูงกว่า 1 เท่า แสดงว่า สภาพคล่องของประเทศอยู่ในระดับต่ำ เพราะหากหนี้สินที่ครบกำหนดชำระถูกเรียกคืนพร้อมกัน จะเกินกว่าสินทรัพย์สภาพคล่องหรือทุนสำรองระหว่างประเทศขณะนั้นจะรองรับได้ เมื่อนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลัน ในระยะเวลาเพียงครึ่งปี (ครึ่งหลังของปี) ค่าเงินของทั้ง 3 ประเทศอ่อนลงมากถึงร้อยละ 91 125 และ 60 ตามลำดับ ที่สำคัญขนาดการอ่อนค่ามักจะเป็นไปตามสัดส่วน ST ExDebt/Reserve ประกอบกับประเทศเหล่านี้มีปัญหา Currency Mismatch เมื่อค่าเงินอ่อนค่าลงมากมูลค่าหนี้ในรูปเงินสกุลในประเทศจึงเร่งตัวขึ้น และปัญหา Maturity Mismatch ทำให้สภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นที่ถูกเรียกเก็บ ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด จึงเกิดวิกฤติสถาบันการเงินตามมา และประเทศเหล่านี้ทยอยเข้าสู่วิกฤติจนกลายเป็นวิกฤติของภูมิภาคในที่สุด

2. หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยน่ากังวลเพียงใด

ระดับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยแม้จะเร่งตัวขึ้นมากแต่ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ สินเชื่อการค้า (Trade Credit and Advances) และเงินกู้ (Loans) โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50 และ 38 ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นทั้งหมด ตามลำดับ ใน ปี 2010-2011

2.1 สินเชื่อการค้าที่เพิ่มขึ้นมาจากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นเป็นหลัก ซึ่งเป็นลักษณะปกติของการทาการค้าระหว่างกันที่คู่ค้าในต่างประเทศให้กับผู้นาเข้า ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ในระยะหลังสัดส่วนสินเชื่อการค้าต่อมูลค่าการนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากรายการบัญชีเงินเชื่อ (Open Account) ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นการช่วยเหลือกันระหว่างคู่ค้าในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

2.2 เงินกู้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินดอลลาร์ สรอ.ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยกู้จากบริษัทแม่มาปล่อยกู้ในตลาดกู้ยืมเงินดอลลาร์ สรอ. ในไทย (Foreign Exchange Swap Market: ตลาด FX Swap) เนื่องจากตลาดนี้มีสภาพคล่องเงินดอลลาร์ สรอ.ต่ำลงเป็นลำดับ และค่อนข้างขาดแคลนในช่วงปี 2010-2011 ทำให้ต้องกู้เงินดอลลาร์ สรอ.จากต่างประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว

สาเหตุที่สภาพคล่องดอลลาร์ สรอ.ในตลาด FX Swap ต่า ทั้งด้านอุปสงค์ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของการทำสัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หรือสัญญา Forward*(4) ของผู้ส่งออกและนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และด้านอุปทานเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ลดลง กล่าวคือ

2.2.1 ผู้ส่งออกต้องการได้อัตราแลกเปลี่ยนณ ปัจจุบัน หากนำเงินดอลลาร์ สรอ.มาขายกับสถาบันการเงินในอนาคต (สัญญา Forward) เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติของผู้ส่งออกสังเกตจากยอดคงค้างการทำสัญญา Forward ของผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น (เส้นสีเขียว) มีลักษณะผกผันกับอัตราแลกเปลี่ยน (เส้นสีเทา) (รูปที่ 5) ขณะที่ธุรกรรมนี้ของผู้นำเข้าต่ำเมื่อเทียบกับผู้ส่งออกส่วนหนึ่งมาจากหลายปีที่ผ่านมาค่าเงินโน้มแข็งขึ้นสร้างความได้เปรียบต่อผู้นำเข้า จึงทำให้เกิดส่วนต่างของการทำสัญญา Forward*(5) ของผู้ส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็นลาดับตั้งแต่ปี 2010

หลังจากสถาบันการเงินรับทำสัญญาforward กับผู้ส่งออกแล้วความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจะตกกับสถาบันการเงิน จึงต้องปรับฐานะ สภาพคล่องเงินตราต่างประเทศ (Square Position) ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (ตาราง 1) ซึ่งวิธีหนึ่งที่สถาบันการเงินเลือกทำในช่วงนี้

ตาราง 1 หลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิ ณ สิ้นวัน

อัตราส่วนกับ ล้าน

                              งินกองทุน        USD
1.เกณฑ์การดำรงฐานะเงินตรา          15%          5
ต่างประเทศรายสกุลเงิน
2.เกณฑ์การดำรงฐานะเงินตรา          20%         10
ต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน

หมายเหตุ : ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

คือ การซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต โดยมีสัญญาว่าจะนำไปขายคืนในเวลาที่กำหนด (สัญญา Swap) จึงเพิ่มอุปสงค์เงินดอลลาร์ สรอ.ในตลาด FX Swap ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ สถาบันการเงินโดยส่วนใหญ่จะทำสัญญา Swap เท่ากับอายุของสัญญา Forward หมายความว่า เมื่อผู้ส่งออกนำเงินดอลลาร์สรอ.มาขายตามสัญญา สถาบันการเงินสามารถให้เงินบาทแก่ผู้ส่งออกได้ ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่กาหนดไว้ได้โดยไม่ขาดทุนทั้งสองฝ่ายแม้อยู่ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นก็ตาม

2.2.2 นักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศทำสัญญา Forward มากขึ้น ทำให้อุปสงค์ในเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการทำสัญญา Forward ของการลงทุนในหลักทรัพย์ของไทยในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสถาบันการเงินต้องปรับฐานะสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศ หรือ Square Position ในลักษณะเดียวกับในกรณีผู้ส่งออก จึงเป็นการเพิ่มอุปสงค์เงินดอลลาร์ สรอ.ในตลาด FX Swap เช่นกัน

ขณะเดียวกันการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศมีส่วนทำให้อุปสงค์เงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น และอุปทานเงินดอลลาร์ สรอ.ในประเทศ ลดลง เพราะนักลงทุนกลุ่มนี้ต้องนำเงินบาทมาแลกเงินดอลลาร์ สรอ.ก่อนนำออกไปลงทุนในต่างประเทศทั้งนี้ นักลงทุนบางส่วนจะต้องทยอยส่งเงินกลับจากต่างประเทศมาทำธุรกรรมในประเทศ จึงทำสัญญาforward ไว้เช่นกัน*(6) ซึ่งสถาบันการเงินต้อง Square Position ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นและกระทบต่ออุปสงค์เงินดอลลาร์ สรอ.ด้วยเช่นกัน และที่ผ่านมาขนาดการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปี 2011 ที่ขนาดการลงทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

3. ไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติจากหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเหมือนปี 1997 หรือไม่? ไทยไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติจากหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเหมือนปี 1997 เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงด้าน Currency และ Maturity Mismatch มากนัก และมีศักยภาพในการชำระหนี้ และระดับสภาพคล่องที่สูงกว่าในอดีตมากดังนี้

3.1 ไม่มีความเสี่ยงด้าน Mismatch มากนัก พบว่า หนี้ต่างประเทศระยะสั้นในปี 1997 เกิดจากภาคเอกชนกู้เงินผ่านกิจการวิเทศธนกิจ(BIBF) สูงเกือบ 1 ใน 3 ของหนี้ต่างประเทศ ทั้งหมด ที่สำคัญคือ เงินกู้ประเภทนี้เป็นการกู้เงินตราต่างประเทศมาลงทุนภายในประเทศที่ให้ผลตอบแทนในรูปเงินบาท สะท้อนปัญหา Currency Mismatch ในระดับสูง นอกจากนี้เงินกู้เหล่านี้ ส่วนหนึ่งถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่า อาทิ อสังหาริมทรัพย์ จึงสะท้อนปัญหา Maturity Mismatch เมื่อเงินทุนไหลออกค่าเงินที่ลดลง จึงส่งผลต่อมูลค่าหนี้ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น และธุรกิจขาดสภาพคล่องในการชาระหนี้จากปัญหาข้างต้น ตามลาดับ

ปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นการกู้เพื่อมาเสริมสภาพคล่องในตลาด FX Swap ในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. โดยผู้กู้และผู้ปล่อยกู้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จึงไม่มีผลต่อเงินทุนไหลออกฉับพลันและไม่น่าจะมีความเสี่ยงด้าน Currency Mismatch มากนัก ขณะที่ในส่วนสินเชื่อการค้าจะมี Currency Mismatch อยู่บ้าง แต่ผลกระทบจะอยู่ในกลุ่มผู้นาเข้าที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง จะทำให้ผู้นำเข้าอาจไม่มีเงินพอจ่าย

นอกจากนี้ อุปสงค์ของดอลลาร์ สรอ.เกิดจากการปรับฐานะสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงินจึงทำให้อายุสัญญาของการทำสัญญา FX Swap และสัญญา Forward เท่ากันและค่อนข้างสอดคล้องกับอายุเงินกู้จากต่างประเทศของสถาบันการเงินด้วย จึงไม่น่าจะ สร้างความเสี่ยงสูงด้าน Maturity Mismatch

3.2 ศักยภาพในการชาระหนี้ที่สูงกว่าในอดีต พบว่า ไทยไม่เคยมีปัญหาด้านศักยภาพในการชาระหนี้ และปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการชำระหนี้ในระดับสูงกว่าปี 1997 เพราะเครื่องชี้ความสามารถในการชำระหนี้ ได้แก่ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศที่เทียบกับผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (ExDebt/GDP) และเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (ExDebt/XGS) ซึ่งสะท้อนภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยเทียบกับความสามารถในการสร้างรายได้ในรูปเงินบาทและรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ ตามลาดับ อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กาหนดสาหรับประเทศกาลังพัฒนาและในปี 2011 และมีสัดส่วนเหล่านี้ในระดับต่ากว่าปี 1997 มาก

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาภาระจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (ExDebt Service Ratio) ปี 1997 เกินเกณฑ์ที่กำหนดเล็กน้อย ขณะที่ปี 2011 สัดส่วนดังกล่าวมีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก หากเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง พบว่า ปัจจุบันไทยยังมีความสามารถในการชำระหนี้สูงกว่าประเทศเหล่านี้ พิจารณาจากสัดส่วน ExDebt/XGS ที่ไทยมีสัดส่วนต่ำที่สุด และสัดส่วน ExDebt/GDP ใกล้เคียงกับระดับเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่พิจารณา

3.3 สภาพคล่องสูงกว่าเกณฑ์สากลต่างจากอดีต พบว่า ปัจจุบันไทยมีสภาพคล่องสูงเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ( ตัวแปรสะท้อนสภาพคล่อง) เทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (Reserve/ST ExDebt) และที่เทียบกับมูลค่านำเข้าเฉลี่ยต่อเดือน(Reserve/Import) และสูงกว่าปี 1997 และเกณฑ์สากลขั้นต่ำที่กาหนดไว้มาก ซึ่งสะท้อนว่าหากเจ้าหนี้เรียกคืนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอย่างฉับพลัน ไทยจะสามารถนำเงินสารองระหว่างประเทศ (สินทรัพย์สภาพคล่อง) มาจ่ายคืนได้ทั้งหมด และยังเหลือเพียงพอที่จะเป็นความมั่นคงให้ ประเทศได้

4. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2010 จากสินเชื่อการค้าที่คู่ค้าในต่างประเทศให้กับผู้นำเข้าซึ่งเพิ่มขึ้นตามการนำเข้าที่ขยายตัว และหนี้เงินกู้ระหว่างสถาบันการเงินที่อยู่ในเครือเดียวกันในต่างประเทศ เพื่อนำเงินดอลลาร์สรอ.มาปล่อยกู้ในตลาด FX Swap เพราะสภาพคล่องเงินดอลลาร์ สรอ.ค่อนข้างขาดแคลนระหว่างปี 2010-2011 เป็นผลจากผู้ส่งออกและนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศทาสัญญาขายดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้า มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้น สถาบันการเงินจึงต้องปรับฐานะสภาพคล่องตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยการซื้อเงินดอลลาร์สรอ. โดยมีสัญญาว่าจะนำไปขายคืนในเวลาที่กำหนดหรือสัญญา Swap ซึ่งโดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะทำสัญญา Swap เท่ากับอายุของสัญญา Forward จึงไม่น่าจะสร้างความเสี่ยงจาก Maturity Mismatch มากนัก และที่สำคัญธุรกรรมส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. จึงไม่น่าจะสร้างความเสี่ยงมากจาก Currency Mismatch โดยรวมจึงยังไม่น่ากังวล

หนี้ต่างประเทศระยะสั้นครั้งนี้แม้จะมีระดับใกล้เคียงกับปี 1997 แต่ไม่มีความเสี่ยงด้านCurrency และ Maturity Mismatch เช่นในอดีตที่หนี้ประเภทนี้เร่งตัวขึ้นจากการดำเนินกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ที่ส่วนใหญ่กู้เงินตราต่างประเทศที่มีอายุสัญญาสั้นให้แก่นักลงทุนที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ จึงมีความเสี่ยงสูงทั้ง Currency และ Maturity Mismatch ประกอบกับเครื่องชี้เสถียรภาพต่างประเทศในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตและเกณฑ์สากลขั้นต่าที่กำหนดไว้มาก จึงสามารถมั่นใจได้ว่า หากเกิดการไหลออกของเงินทุนระยะสั้นอย่างฉับพลัน ไทยจะมีศักยภาพการชำระหนี้และมีสภาพคล่องเพียงพอโดยไม่กระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม แม้หนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะไม่สร้างปัญหาให้เกิดเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลัน แต่ควรติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องวัตถุประสงค์การกู้ ลักษณะธุรกรรม และการติดตามธุรกรรมที่มี Currency และ Maturity Mismatch มากจนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวดี มักมีเงินทุนไหลเข้าในลักษณะที่เอื้อต่อการก่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น จึงควรจำกัดปริมาณการก่อหนี้ชนิดนี้ให้เหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์สากลที่กำหนดไว้ รวมถึงควรนำเงินกู้เหล่านี้ไปใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

*(1) หนี้ต่างประเทศระยะสั้น หมายถึง หนี้ต่างประเทศที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี

*(2) หนี้ต่างประเทศประเภทอื่น ได้แก่ เงินกู้ในเครือหรือการ

*(3) Maturity Mismatch คือ การกู้หนี้ระยะสั้นมาปล่อยกู้หนี้ระยะยาวหรือลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำ และ Currency Mismatch คือการกู้เงินสกุลต่างประเทศมาปล่อยกู้เป็นเงินสกุลในประเทศ ซึ่งไม่ได้เกิดกับระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

*(4) สัญญา Forward ที่ผู้ส่งออกทาในช่วงนี้ คือ ข้อตกลงที่สถาบันการเงินจะให้ผู้ส่งออกได้รับเงินบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน เมื่อถึงวันที่ผู้ส่งออกจะนำเงินดอลลาร์สรอ.มาขายในอนาคต (ได้รับเงินจากผู้นำเข้าต่างประเทศ) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้น

*(5) ในทางปฏิบัติ สถาบันการเงินจะจับคู่สัญญา Forward ของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าตามจานวนเงินของสัญญาเป็นหลักส่วนต่างของสัญญาที่ไม่สามารถจับคู่ได้ ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องปรับฐานะสภาพคล่องตามสัญญาส่วนนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนด

*(6) จากการสอบถาม

References

Catherine Pattillo, Helene Poirson, and Luca Ricci, External Debt and Growth, IMF Working Paper WP/02, January 2002.

Dani Rodrik and Andres Velasco, Short-Term Capital Flows, NBER Working Paper Series, Number 7364, September 1999.

Efraim Benmelech and Eyal dvir, Does Short-Term Debt Increase Vulnerability to Crisis? Evidence from the East Asian Financial Crisis, Journal of International Economics, INEC-02554, 2012.

Kristine Forslund and Matthias Rau-Goehring, Debt Sustainability: The Right Type of Borrowing for the Right Purpose, G-24 Policy Brief No.41, based on Chapter VI of the UNCTAD Trade and Development Report, 2008.

Uri Dadush, Dipak Dasgupta, and Dilip Ratha, The Role of Short-Term Debt in Recent Crises, Finance&Development, Volumn 37, Number 4, December 2000.

Yen Kyun Wang, Causes and Prevention of External Debt Crisis, Prepared for the ESCAP symposium on External Debt Management, Bangkok, July 6-7, 2004.

ฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย, หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของประเทศไทย, วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ,ไตรมาสที่ 3 กรกฎาคม- กันยายน 2539.

ข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

บทความนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะความช่วยเหลือและคำแนะนาจากคุณปฤษันต์ จันทน์หอม คุณดอน นาครทรรพ คุณเทียนทิพ สุพานิช คุณเสาวณี จันทะพงษ์ คุณอังสุปาลี วัชราเกียรติ คุณคธาฤทธิ์ สิทธิกูล คุณทศพล อภัยทาน คุณวัสยา ลิ้มธรรมมหิศร คุณประภาศรี รงคสุวรรณ และคุณกิตติ เจริญกิจชัยชนะ(ธนาคารกสิกรไทย จากัด (มหาชน)) ผู้เขียน ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้

อัจจิรา ธนะเอนกเจริญ

เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน Aujjirat@bot.or.th

ณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ สายนโยบายการเงิน NutthikV@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ