สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนเมษายน ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 5, 2012 14:09 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 10/2555

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนเมษายน 2555 ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามภาคการผลิตโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ขณะเดียวกันผลผลิตเกษตรชะลอลงจากปริมาณผลผลิตปาล์มที่ลดลง และภาคบริการท่องเที่ยวชะลอลงเล็กน้อย ผลกระทบจากเหตุระเบิดในอาเภอหาดใหญ่ทาให้จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนลดลง ส่วนการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยยังขยายตัวจากนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซีย

การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาของการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครวมทั้งยานยนต์จากอุทกภัยในภาคกลางปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ สอดคล้องกับเงินให้สินเชื่อและเงินฝากที่ขยายตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวจากเดือนก่อนตามราคาอาหารสด

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ผลผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เนื่องจากผลผลิตปาล์มลดลงร้อยละ 5.5 จากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนผลผลิตยางแม้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากในเดือนเดียวกันปีก่อนพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้ประสบปัญหาอุทกภัย ด้านราคาหดตัวร้อยละ 28.2 จากราคายางที่ลดลงร้อยละ 32.0 เนื่องจากความกังวลเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และเศรษฐกิจยุโรปซึ่งมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ราคาปาล์มเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก และความต้องการต่อเนื่องจากโรงกลั่นน้ามันปาล์มและผู้ผลิตไบโอดีเซล ส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัวต่อเนื่องแต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูง สาหรับปริมาณสัตว์น้านาขึ้นท่าเทียบเรือประมงและผลผลิตกุ้งชะลอลงเช่นกัน

ทางด้านการท่องเที่ยวชะลอลงเล็กน้อย ผลกระทบจากเหตุระเบิดในจังหวัดภาคใต้ชายแดนช่วงต้นเดือนโดยเฉพาะในอาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทาให้นักท่องเที่ยวมาเลเซียและสิงคโปร์ลดลง ส่วนการท่องเที่ยว ฝั่งอันดามันและอ่าวไทยยังขยายตัวดีแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวก็ตาม เนื่องจากนักท่องเที่ยวเอเชียและยุโรปเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (incentive) และรัสเซียที่ยังเดินทางเข้ามามาก ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเรียกความเชื่อมั่นหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้จานวน 460,981 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 และอัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 63.5P ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.2 ตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง ไม้ยางพาราแปรรูป และน้ามันปาล์ม ที่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 10.2 และ 6.2 ตามลาดับ เนื่องจากตลาดประเทศคู่ค้าทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่การผลิตยางพาราขยายตัวร้อยละ 10.7 ตามการส่งออกไปยังจีนซึ่งเป็นตลาดหลักที่ยังขยายตัว

จากรายได้ทั้งในภาคเกษตรและการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในระดับสูง ทาให้การอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากหลังจากประสบปัญหาอุทกภัย รวมทั้งได้รับแรงขับเคลื่อนจากนโยบายภาครัฐ ส่งผลให้ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 สูงกว่าเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น จากพื้นที่ก่อสร้างและยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.4 และ 12.5 ตามลาดับ เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามรายได้ประชาชนที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งนโยบายบ้านหลังแรก ขณะที่การลงทุนหมวดการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกยังคงหดตัวต่อเนื่องแต่มีทิศทางที่ดีขึ้นมากตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

ส่วนเงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 11.8 และ 16.2 ตามลาดับ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

ด้านอัตราเงินเฟ้อชะลอลงจากร้อยละ 4.03 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 เนื่องจากราคาอาหารสดชะลอตัวลงมาก ขณะที่ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาต้นทุนพลังงาน ค่าขนส่ง และค่าแรงที่สูงขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร.0-7427-2000 ต่อ 4716

e-mail : Puangpeu@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ