บทความ: ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท*

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 26, 2012 15:08 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดร. สมศจี ศิกษมัต**

ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

แนวคิดเรื่องการเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive growth) และการตกอยู่ในกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)*(1) ถูกกล่าวขานอย่างแพร่หลายในขณะนี้ โดยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่จะช่วยให้การเติบโตแพร่กระจายอย่างทั่วถึง ประเทศมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และแข็งแกร่งได้คือการที่ประชากรมีรายได้สูงขึ้น มีชีวิตและฐานะความเป็นอยู่ที่ดีมีคุณภาพ และมีความรู้ความสามารถ เนื่องจากประชากรคือกาลังแรงงานของประเทศซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิตขั้นต้น (Primary factor) ที่สาคัญ นอกเหนือไปจากที่ดิน ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ นวัตกรรม และเทคโนโลยี นอกจากนี้ แรงงานยังเป็นแหล่งสำคัญของการใช้จ่ายและการออม หากการจ้างงานในประเทศอยู่ในระดับสูง แรงงานมีคุณภาพและมีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ก็จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ดังนั้น ความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภาคแรงงานอย่างเหมาะสมและทันการณ์ จะช่วยลดปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และทำให้ศักยภาพการผลิต (Potential output) ของประเทศสูงขึ้น

หากต้องการวิเคราะห์ถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานว่ามีมาตรฐานหรือไม่นั้น ปัจจัยที่สามารถใช้เพื่อช่วยวิเคราห์ได้ระดับหนึ่งคืออัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แรงงานได้รับ และปัจจัยดังกล่าวนี้เองได้ ถูกกล่าวขานกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำที่แรงงานได้รับอยู่ในระดับที่ต่ำจนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของแรงาน เพราะหากพิจารณานิยามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) ที่ระบุไว้ว่าเป็นระดับของค่าจ้างที่ช่วยปกป้องแรงงานระดับล่างจากความยากจน (Poverty Safety Net) และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน กล่าวคือช่วยให้แรงงานได้รับประโยชน์ของการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น (Fair Wage) แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าค่าจ้างขั้นต่ำของไทยยังไม่ได้เป็น Fair wage ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีการใช้ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2515 และได้พัฒนามาเป็นลาดับ โดยมีคณะกรรมการค่าจ้างแบบไตรภาคีเป็นผู้กาหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อดูแลผลประโยชน์ของทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง พร้อมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ มหภาค อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ได้ช่วยให้แรงงานหลุดพ้นจากความยากจน หรือช่วยสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจได้เท่าที่ควรตามเป้าหมายของการมีระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จึงสะท้อนได้ว่าระบบของการกาหนดค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum wage setting) และการกาหนดอัตราค่าจ้างอื่นๆ โดยอิงกับกรอบของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังมีข้อจากัดในทางปฏิบัติ ซึ่งหากไม่มีการทบทวนและปรับปรุงก็อาจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของแรงงานในระยะยาวได้

หากเห็นว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้ช่วยบรรเทาปัญหาความยากจน และสร้างความเป็นธรรมทางรายได้ให้แก่แรงงานระดับล่าง การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะนอกจากจะช่วยให้แรงงานระดับล่างมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะช่วยดึงค่าจ้างทั้งระบบให้สูงขึ้นได้ แต่การขึ้นค่าจ้างจะส่งให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและกระทบผลประกอบการโดยเฉพาะหากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด จึงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบของการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ จากระดับเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 157 บาทต่อวัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและไม่สามารถใช้ปัจจัยการผลิตอื่นทดแทนแรงงาน และมีผลกำไรอยู่ในระดับต่ำ ก็จะได้รับผลกระทบมากเพราะเป็นการยากที่จะปรับตัวในระยะสั้นได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องหนัง ก่อสร้าง สิ่งทอ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงงานอย่างเข้มข้นและมีกาไรสูง อย่างเช่น ยานยนต์ บริการธุรกิจ ปิโตรเคมี จะปรับตัวได้ง่ายกว่า

การที่จะประเมินผลกระทบในระดับอุตสาหกรรมและต่อเนื่องไปจนถึงเศรษฐกิจโดยรวมได้นั้น จำเป็นต้องฐานข้อมูลด้านแรงงานและค่าจ้างที่ดี พร้อมกับเครื่องมือในการประเมินผลกระทบ เพื่อช่วยให้การกำหนดขนาดและทิศทางของอัตราค่าจ้างได้อย่างเหมาะสม และสามารถหาแนวทางรองรับกับผลกระทบต่างๆที่จะตามมาได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ศึกษาความเหมาะสมหรือเพียงพอของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในมิติของการช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาความยากจน และในเรื่องของความเป็นธรรม

2) ศึกษาผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทที่กาลังได้รับการกล่าวขานมากในขณะนี้ โดยพัฒนาแบบจาลองเศรษฐกิจแบบดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium Model) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และตอบโจทย์เรื่องผลกระทบของ เนื่องจากช่วยให้สามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึงระดับอุตสาหกรรม (Industry level) และในภาพรวม

3) ออกแบบทางเลือกนโยบาย (Designed policy option) เพื่อช่วยลดผลกระทบเชิงลบของการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นเชิงนโยบายที่อิงจากผลของการศึกษา

บทความนี้แบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการประเมินระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการที่ควรต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพราะอย่างน้อยก็จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของแรงงานดีขึ้น ส่วนที่ 2 จะกล่าวถึงทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ General Equilibrium Model (หรือ CGE model) และกรอบการศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้าง ส่วนที่ 3 แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ CGE model ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาค (Macro level) และในระดับอุตสาหกรรม (Industry level) และส่วนสุดท้าย เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อให้เกิดผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมน้อยที่สุดตามที่ได้จากผลการศึกษา

ส่วนที 1 ระดับเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและผลตอบแทนอื่นๆ ให้แก่แรงงานถูกกล่าวขานว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจต้องอาศัยการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การจะพึ่งแต่ค่าแรงถูกเพื่อกดต้นทุนการผลิตอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงสร้างการผลิต คุณภาพแรงงาน และเศรษฐกิจในระยะยาว รวมทั้งความอยู่ดีกินดีของประชาชน และความก้าวหน้าทางสังคม จึงมีคำถามว่าค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือเพียงพอต่อการใช้จ่ายประจำวันของแรงงานไร้ฝีมือแล้วหรือยัง

คำตอบของความจำเป็นในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของงานศึกษานี้จะพิจารณาจากเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วหรือยัง ถ้าต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมก็ควรต้องปรับเพิ่ม สาหรับคำว่าระดับที่ “เหมาะสม” นั้นมีหลายมิติ จึงจำเป็นต้องตั้งเกณฑ์ของคำว่าเหมาะสม เพื่อสามารถที่จะประเมินได้ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันในปัจจุบันแตกต่างไปจากอัตราที่เหมาะสมเท่าไรงานศึกษานี้ให้ค่าจ่ากัดความของค่าว่า “เหมาะสม” ใน 3 ด้านคือ

(1) เหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ซึ่งการใช้จ่ายตามอัตภาพ ประกอบด้วย ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาลและยาที่นอกเหนือจากประกันสังคม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่ายานพาหนะ

(2) เหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามคุณภาพ ซึ่งการใช้จ่ายตามคุณภาพจะสูงกว่าการใช้จ่ายตามอัตภาพ โดยได้รวมค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัย เงินทำบุญ ทอดกฐินและผ้าป่า และค่าใช้จ่ายเพื่อการบันเทิงและพักผ่อน เพิ่มเติมเข้ามาอีก

(3) เหมาะสมตามผลิตภาพของแรงงาน (Labour Productivity) ซึ่งผลิตภาพของแรงงานในที่นี้วัดจาก Real GDP ต่อจำนวนการจ้างงาน กล่าวคือค่าจ้างขั้นต่ำควรเพิ่มขึ้นในอัตราเท่ากับอัตราการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงาน

ความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามเกณฑ์ข้อ (1) และ (2) นั้นสามารถสะท้อนถึงวัตถุประสงค์ของการทานโยบายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ต้องการให้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยป้องกันความยากจนให้แก่ผู้ใช้แรงงานและช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ขณะที่ความเหมาะสมตามผลิตภาพของแรงงานตามเกณฑ์ข้อ (3) นั้น จะสะท้อนถึงความเป็นธรรมของการกระจายหรือแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน เพราะอย่างน้อยแรงงานก็ควรได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนตามผลิตภาพของตนเอง

หากพิจารณาระดับของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทยโดยใช้เกณฑ์ความเหมาะสมตามที่กล่าวในข้างต้นพบว่า ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2549 — 2553) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับเหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามคุณภาพมาโดยตลอด และที่สำคัญในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ (2551-2553) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังน้อยกว่าความต้องการใช้จ่ายตามอัตภาพ (ตารางที่ 1) สะท้อนให้เห็นว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ได้มีบทบาทที่จะช่วยจัดการปัญหาความยากจนหรือช่วยยกระดับการครองชีพของแรงงานระดับล่างได้

ตารางที 1 ค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพเฉลี่ยทั่วประเทศเทียบกับค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างรวม
  บาท/วัน           2549    2550    2551    2552      2553   Average
ค่าจ้างขั้นต่ำ         149.4   154.0   162.1   162.1     165.3    158.6
ค่าใช้จ่ายตามอัตภาพ   148.8   147.6   170.2   172.3     186.8    165.1
ค่าใช้จ่ายตามคุณภาพ   163.6   168.3   177.5   187.9     201.7    179.8
ค่าจ้างรวม          168.6   172.3   180.3   178.8     184.2    176.8

แม้จะรวมเอาค่าสวัสดิการต่างๆ เงินโบนัส และค่าล่วงเวลาที่แรงงานได้รับเพิ่มเติมเข้าไปในค่าจ้างขั้นต่ำ พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2552 — 2553) รายได้หรือค่าจ้างรวมของแรงงานก็ยังต่ำกว่าระดับค่าจ้างตามคุณภาพ (ตารางที่ 1) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะจำนวนวันหรือชั่วโมงการทางาน ค่าล่วงเวลา และเงินโบนัส มีความไม่แน่นอน เนื่องจากมีความสัมพันธ์และอ่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างเช่นในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ผู้ประกอบการอาจลดชั่วโมงทางานล่วงเวลาลง หรือลดเงินโบนัส จึงกระทบต่อรายได้หรือค่าจ้างโดยรวมของแรงงาน

นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมตามเกณฑ์ข้อ (3) คือตามผลิตภาพของแรงงาน ที่ว่าอย่างน้อยแรงงานควรได้รับส่วนแบ่งของรายได้ตามกาลังแรงงานที่ได้ลงแรงไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แต่กลับพบว่าอัตราการขยายตัวของค่าจ้างที่แท้จริงในปี 2549-2553 ต่ำกว่าการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานมาโดยตลอด (ยกเว้นปี 2552 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกจึงส่งผลให้ GDP ต่ามากจนอัตราการขยายตัวติดลบ) และหากพิจารณาถึงความเป็นธรรมในแง่การจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน โดยเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพบว่า อัตราการเติบโตของค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2 ขณะที่เศรษฐกิจ (Nominal GDP) เติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 7.4 (ตารางที่ 2) นอกจากนี้ หากพิจารณาที่การเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าจ้างที่แท้จริงจะเห็นว่ามีบางปีติดลบ (หดตัว) ทำให้ค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2549-2553 หดตัวร้อยละ 0.7 ทั้งๆ ที่ Real GDP เฉลี่ยขยายตัวร้อยละ 3.6 สะท้อนถึงความเหลื่อมล้าในการแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอานาจต่อรองของผู้ใช้แรงงานระดับล่างกับนายจ้าง สาเหตุที่ค่าจ้างขั้นต่าขยายตัวต่ำกว่าการเจริญโตทางเศรษฐกิจมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบการไทยไม่มีอำนาจต่อรองในตลาดโลกมากนัก จึงไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าได้ถ้าต้นทุนการผลิตแพงขึ้น ผู้ประกอบการจึงนิยมที่จะพึ่งพาแรงงานราคาถูกและไม่ค่อยปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งจากการศึกษาของ ดร. เศรษฐพุฒิและคณะ พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาของสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละร้อยละ 1 เท่านั้น

ตารางที 2 ค่าจ้างขั้นต่ำเทียบกับผลิตภาพแรงงาน GDP และอัตราเงินเฟ้อ

อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)    2549    2550    2551    2552    2553  Average
ค่าจ้างขั้นต่ำที แท้จริง*           -3.9     0.9    -0.4     0.9    -1.1     -0.7
ผลิตภาพแรงงาน *               3.9     3.4     0.5    -4.2     7.4      2.2
Real GDP                     5.1     5.0     2.5    -2.3     7.8      3.6
ค่าจ้างขั้นต่ำ                    0.8     3.1     5.0     0.0     2.2      2.2
Nominal GDP                 10.6     8.7     6.5    -0.4    11.7      7.4
อัตราเงินเฟ้อ                   4.7     2.3     5.4    -0.9     3.3      3.0
หมายเหตุ * อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าจ้างขั้นต่ำที แท้จริงคำนวณจากอัตราการเปลียนแปลงของค่าจ้างขั้นต่ำลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ และผลิตภาพแรงงานคำนวณจาก Real GDP หารด้วยจำนวนการจ้างงาน

จากการวิเคราะห์ความเหมาะสมของระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่กล่าวในข้างต้น พบว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยในปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับเหมาะสม และยังไม่ได้ช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนของแรงงานไร้ฝีมือ ไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของแรงงานดีขึ้น อีกทั้งยังไม่ได้สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน ซึ่งผลในระยะยาวอาจนาไปสู่ปัญหาความยากจนเรื้อรัง ความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาทางสังคมแก่ประเทศได้ ดังนั้น การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วน โดยอย่างน้อยค่าจ้างขั้นต่ำควรเพิ่มให้สูงขึ้นมาอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ซึ่งเท่ากับว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 13 แต่หากต้องการจะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำให้ถึงระดับของการใช้จ่ายตามคุณภาพ ก็จะต้องเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 22 (ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยของปี 2553 เป็นฐานในการคำนวณ) จากนั้นการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในคราวต่อๆ ไปก็ควรต้องคำนึงถึงคุณภาพของแรงหรือผลตอบแทนของแรงงานที่ให้แก่ระบบเศรษฐกิจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ่างขั้นต่ำ

ส่วนที 2 การประยุกต์ใช้ CGE Model และกรอบการศึกษา

ความจำเป็นของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำมีหลากหลาย ถ้าเป็นลูกจ้างก็คงเห็นว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน แต่ถ้าเป็นนายจ้างก็คงเห็นว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าการผลิตนั้นๆ ใช้แรงงานเข้มข้นเพียงใด ผลิตภาพของแรงงานนั้นสูงพอที่จะชดเชยกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ตลอดจนการปรับตัวของผู้ประกอบการในกระบวนการผลิตว่าจะสามารถลดต้นทุนด้านอื่น เพื่อชดเชยต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องขนาดของค่าจ้างที่จะปรับขึ้น และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะหากการปรับเพิ่มนั้นอยู่ในสัดส่วนที่สูง ก็จะกระทบต่อความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจ

เพื่อช่วยตอบโจทย์ข้างต้น งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนา Computable General Equilibrium (CGE) model ซึ่งจะเรียกว่า General Equilibrium Model-55-Sector หรือ GEM55 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือคำนวณหาขนาดและทิศทางของผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เหตุที่เลือกใช้ CGE model ก็เพราะ model ตระกูลนี้นอกจากจะช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบของ Shock หรือนโยบายต่างๆ ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค (Macro level) ได้แล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ลงลึกไปถึงระดับอุตสาหกรรม (Industry level) ตลอดจนหน่วยเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ ผู้บริโภคและผู้ลงทุน นอกจากนี้ แบบจาลอง CGE ยังสามารถอธิบายพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงภายใต้การทำงานของกลไกตลาด ทำให้ราคาสามารถปรับเปลี่ยนและช่วยให้ทุกตลาดอยู่ในดุลยภาพ 2.1 กรอบทฤษฎีของ GEM55

แนวความคิดดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium) ของระบบเศรษฐกิจนั้นเริ่มมาจากกฏของ Walras หรือ Walras’s law (Dixon, Bowles & Kendrick, 1980, pp. 87-91) ซึ่งกล่าวไว้ว่าระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะอยู่ในสภาวะสมดุลเสมอ หรือผลรวมของอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) ในสินค้าทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจจะเท่ากับศูนย์เสมอ นั่นคือภายใต้การปรับเปลี่ยนของราคาสินค้าและรายได้ที่จำกัด หากมี excess demand ในสินค้าจำนวน n-1 ชนิด จะต้องมี excess supply ในสินค้าชนิดที่เหลือ เพื่อให้ราคาสินค้าสามารถปรับตัวได้ โดยราคาสินค้าในตลาดที่มี excess demand จะสูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าที่มี excess supply จะลดลง และจะมีการปรับตัวของผู้ซื้อและผู้ขาย (demand กับ supply) จนในท้ายที่สุดทุกตลาดเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ หรือภาวะดุลยภาพทั่วไป

จากแนวคิดเรื่องดุลยภาพทั่วไปที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะสมดุล และหากมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางเศรษฐกิจภายนอก (Exogenous variables) หรือ Shock เกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบเชื่อมโยงถึงปัจจัยภายในระบบเศรษฐกิจ (Endogenous variables) โดยปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆในตลาดหรือระบบเศรษฐกิจจะปรับตัวและเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ ผลของการปรับตัวหรือการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆในตลาดหรือสาขาการผลิตจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อมโยงของตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ ผ่านทางโครงสร้างของปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-Output structure)

ในทฤษฎีดุลภาพทั่วไป (General Equilibrium) ทุกตลาดในระบบเศรษฐกิจ (ตลาดสินค้าหรือผลผลิต และตลาดปัจจัยการผลิต) จะอยู่ในภาวะที่ปริมาณซื้อ (Demand) เท่ากับปริมาณขาย (Supply) หน่วยเศรษฐกิจที่ทำการตัดสินใจทุกหน่วยจะต้องเลือกที่จะอยู่ในภาวะที่ดีที่สุด (Market optimal choices) ภายใต้ข้อจำกัด (Constraints) ของทรัพยากรการผลิต เทคโนโลยีการผลิต และรายได้ โดยจะตั้งอยู่บนข้อสมมติที่ว่าตลาดมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (Perfect competition) และหน่วยผลิตในตลาดมีเป้าหมายคือการแสวงหากำไรสูงสุด (Maximize profit) หรือลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด (Minimize cost)

GEM55 ที่พัฒนานี้เป็น model ตระกูล General Equilibrium ที่ดัดแปลงมาจาก ORANI-G model ของ Monash University ประเทศออสเตรเลีย เหตุที่เลือกใช้ CGE เนื่องจากสามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์และพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจและปรากฎการณ์ต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ และยังสะท้อนถึงการจัดสรรทรัพยากรการผลิต การบริโภค และการลงทุน*(2) ตามกลไกราคาเป็นสำคัญ

หน่วยเศรษฐกิจในแบบจาลอง GEM55 ประกอบด้วย ผู้ผลิต (Producers) ซึ่งมีทั้งหมด 55 สาขาการผลิตหรืออุตสาหกรรม (sector)*(3) ขณะที่ผู้ใช้ขั้นสุดท้าย (Final users) ประกอบด้วย ผู้ลงทุน (Investors) ใน 55 อุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน (Household) ภาครัฐ (Government) และภาคส่งออก (Export)

GEM55 ประกอบด้วยสมการจำนวนมากที่อธิบายถึงอุปสงค์ของผู้ผลิต ผู้ลงทุน และครัวเรือน ที่ได้มาจาก Optimization condition ขณะที่ อุปสงค์ของรัฐบาลขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของภาคครัวเรือน และ อุปสงค์ของภาคต่างประเทศขึ้นอยู่กับราคาสินค้าไทยในรูปเงินตราต่างประเทศ (ดอลลาร์ สรอ.) นอกจากนี้ ยังมีสมการที่อธิบายถึง Market clearing condition และสมการราคาต่างๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. อุปสงค์ของผู้ผลิต (Demand for Current Production) ได้มาจาก Optimization problem คือผู้ผลิตในแต่ละอุตสาหกรรมจะตัดสินใจผลิตสินค้าในปริมาณที่ได้รับกำไรสูงสุดหรือต้นทุนการผลิตถูกที่สุด ภายใต้เงื่อนไขว่าผลรวมของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด (Composite factor) อยู่ภายใต้ฟังก์ชั่นการผลิต (Production function) แต่ละประเภท ซึ่งสะท้อนถึงเทคโนโลยีการผลิตและการทดแทนกันระหว่างปัจจัยการผลิต โดยกระบวนการตัดสินใจของผู้ผลิต (อุปสงค์) จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1.1 อุปสงค์ต่อแรงงาน (Demand for Labour) ใน GEM55 เราได้แบ่งแรงงานที่จะใช้ในแต่ละสาขาการผลิต (อุตสาหกรรม) ตาม I-O table ออกเป็น 2 ประเภท คือแรงงานมีฝีมือ (Skilled) และ แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled) โดยใช้ข้อมูลระดับการศึกษาของแรงงานเป็นเกณฑ์จัดแบ่ง*(4) โดยผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเภท Unskilled labour และส่วนที่เหลือจะเป็นประเภท Skilled labour ดังนั้น ผู้ผลิตแต่ละสาขาการผลิตจะเลือกระหว่าง Skilled กับ Unskilled labour เพื่อ Minimize ต้นทุนรวมจากการเลือกใช้แรงงานทั้ง 2 ประเภท (Minimize total labour costs) ภายใต้เงื่อนไข (subject to) เทคนิคทางการผลิตที่กำหนด ซึ่งในที่นี้ได้กำหนดให้การรวมหรือการผสมผสานการใช้แรงงานทั้ง 2 ประเภท (Composite labour aggregate) อยู่ในรูปแบบของสมการ Constant Elasticity of Substitution (CES) function*(5) (หรือ aggregation) โดยผลของการแก้ (solve) สมการ Optimization เพื่อหาอุปสงค์ต่อแรงงานแต่ละประเภท (Labour Demand function) จะได้ว่าสมการความต้องการใช้แรงงานประเภทมีฝีมือ (และประเภทไร้ฝีมือ) ถูกกำหนดโดยความต้องการใช้แรงงานรวมในอุตสาหกรรมนั้น (Industry Composite labour requirement) และค่าจ้างโดยเปรียบเทียบ(Relative wage rate) ระหว่าง Skilled กับ Unskilled labour ถ้าค่าจ้างแรงงานประเภท Unskilled แพงขึ้น ผู้ผลิตก็จะใช้แรงงานประเภท Skilled ทดแทน Unskilled แต่การทดแทนจะขึ้นอยู่กับ Substitution elasticity ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม

1.2 อุปสงค์ต่อปัจจัยการผลิตขั้นต้น (Demand for Primary Factors) ใน I-O table นั้นจำแนกปัจจัยการผลิตขั้นต้นเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ แรงงาน (Compensation of employees) กับทุน (Operating surplus) แต่ใน GEM55 นั้นได้สร้าง (estimate) ปัจจัยที่ดินขึ้นมา โดยการรวมข้อมูล Operating surplus (OPS) และ Depreciation (DEP) (ใน I-O table) ซึ่งจะเรียกว่า Gross operating surplus (GOPS) จากนั้นได้จัดสรรข้อมูล GOPS บางส่วนมาเป็นข้อมูลที่ดิน (Payments to land) โดย share ที่นำมาใช้จัดสรรนั้นส่วนหนึ่งมาจากข้อสมมติของการใช้ที่ดินในแต่ละสาขาการผลิต

หลังจากผู้ผลิตได้เลือกใช้แรงงานทั้งสองประเภทตามที่กล่าวในข้อ 1.1 ได้แล้ว ผู้ผลิตจะเลือกต่อไปว่าจะใช้ปัจจัยการผลิตขั้นต้นทั้งหมดอย่างไรในการผลิตสินค้าเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด (คือต้นทุนต่ำสุด) กล่าวคือผู้ผลิตจะเลือกปริมาณการใช้แรงงาน ทุน และที่ดิน โดย Minimize ผลรวมของต้นทุนปัจจัยการผลิตขั้นต้นทั้งสามประเภท (แรงงาน ทุน และที่ดิน) ภายใต้เงื่อนไขเทคนิคทางการผลิตที่กำหนด ซึ่งในที่นี้ได้กำหนดให้การรวมหรือผสมผสานของปัจจัยการผลิตขั้นต้นทั้งสาม (Composite primary factors) อยู่ในรูปแบบของ CES function

ผลลัพท์ที่ได้ คือ อุปสงค์ของปัจจัยการผลิตขั้นต้นแต่ละประเภทในแต่ละอุตสาหกรรมถูกกำหนดโดยความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตขั้นต้นทั้งหมด (Composite Primary Factor) และราคาของปัจจัยการผลิตขั้นต้นชนิดนั้นๆ เทียบกับราคาปัจจัยการผลิตขั้นต้นชนิดที่เหลือ

1.3 อุปสงค์ต่อปัจจัยการผลิตขั้นกลางแต่ละชนิด (Demand for Intermediate Inputs) ปัจจัยการผลิตขั้นกลางแต่ละชนิดมาจาก 2 แหล่งคือจากแหล่งผลิตในประเทศ (Domestic source) และจากแหล่งผลิตในต่างประเทศ (Foreign markets) ดังนั้น ผู้ผลิตจะเลือกปัจจัยการผลิตขั้นกลางจากแต่ละแหล่งผลิต (คือจะใช้สินค้าขั้นกลางจากแหล่งผลิตในประเทศหรือนำเข้า) โดยเปรียบเทียบราคาของสินค้าจาก 2 แหล่ง นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการทดแทนกันระหว่างสินค้าที่มาจาก 2 แหล่งนี้ ซึ่งค่าความยืดหยุ่นของการทดแทนกันระหว่างสินค้าจาก 2 แหล่งนี้เรียกว่า Armington Elasticity โดยผู้ผลิตจะ Minimize ต้นทุนรวมจากการใช้สินค้าขั้นกลางจากทั้งสองแหล่งผลิต ภายใต้เงื่อนไขผลรวมของสินค้าจากทั้ง 2 แหล่งตามสมการการรวมแบบ CES function ซึ่งจะได้ว่า อุปสงค์ของผู้ผลิตในแต่ละอุตสาหกรรมต่อปัจจัยการผลิตขั้นกลางแต่ละชนิดจากแต่ละแหล่งผลิตจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ปัจจัยขั้นกลางโดยรวม (Source-composited Intermediate goods) และราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้านั้นจาก 2 แหล่งผลิต

1.4 ผลผลิตของอุตสาหกรรม (Output หรือ Activity Level) หลังจากเลือกปัจจัยการผลิตทั้งหมดได้แล้ว ผู้ผลิตจะนำปัจจัยการผลิตที่เลือกมาผลิตเป็นสินค้าหรือผลผลิต (Output) ซึ่งผลผลิตดังกล่าวจะเป็นสินค้าขั้นกลางหรือปัจจัยการผลิตขั้นกลาง (Intermediate inputs) สำหรับผู้ผลิต หรือเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย (Final goods) ของผู้ลงทุนหรือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Final users) ต่อไป ซึ่งในการผลิต Output นี้ ผู้ผลิตจะใช้ (ผสมผสาน) ปัจจัยการผลิตระหว่างปัจจัยขั้นกลางแต่ละประเภทคือ Good1 — Good c กับปัจจัยการผลิตขั้นต้น (Primary factors) และ Other costs (ซึ่งหมายถึงต้นทุนอื่นๆที่ต้องใช้ในการผลิต โดยใน I-O table นั้น Other costs นี้เป็นส่วนหนึ่งของ production taxes, costs of holding liquidity หรือ costs of holding inventories หรือ tax subsidies)*(6) ภายใต้สมมติฐานที่ว่าปัจจัยการผลิตเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนกันได้ นั่นคือจะต้องใช้ในสัดส่วนคงที่ (Fixed proportion) ดังนั้น รูปแบบของสมการผลรวมปัจจัยการผลิตดังกล่าวจึงใช้เป็นแบบ Leontief Aggregation หรือ Leontief Production Function

2. อุปสงค์ของผู้ลงทุน (Investment Demand หรือ Capital creation) ใน GEM55 มีผู้ลงทุน 55 สาขา7 ผู้ลงทุนในแต่ละสาขาจะเลือกใช้สินค้าจาก 2 แหล่งผลิต คือแหล่งในประเทศและการนาเข้า โดยขึ้นอยู่กับราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าจากทั้งสองแหล่ง และความสามารถของการทดแทนกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศกับที่นำเข้า(Armington elasticity) จากนั้นจะเลือกปัจจัยการผลิตขั้นกลางแต่ละประเภท ภายใต้ Leontief function คือไม่มี price-induced substitution ระหว่างสินค้าขั้นกลางเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าทุน เป็นที่น่าสังเกตว่าขั้นตอนในการผลิตสินค้าทุนนั้นไม่ปรากฏการใช้ปัจจัยการผลิตขั้นต้น (Primary factor) และ Other cost tickets โดยตรงเหมือนอย่างกรณีของการผลิตสินค้า อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าทุนมีการใช้ primary factor ทางอ้อม ซึ่งจะปรากฏอยู่ในการใช้สินค้าขั้นกลางของสาขาก่อสร้าง (Construction sector ใน I-O table) ซึ่งสาขาก่อสร้างเป็นสาขาที่ใช้ primary factors อย่างเข้มข้น

3. อุปสงค์ของครัวเรือน (Household Demand) ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าขั้นสุดท้าย (Final goods) แต่ละชนิดจากแหล่งในประเทศและจากการนำเข้า ซึ่งจะตัดสินใจและเลือกซื้อจากแหล่งไหน จำนวนเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้า และความสามารถในการทดแทนกันระหว่างสินค้าจากสองแหล่ง (Armington elasticity) หลังจากเลือกสินค้าจากทั้งสองแหล่งหรือเลือกระหว่างสองแหล่งได้แล้ว ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าแต่ละชนิด (Composite goods) เพื่อ Maximize utility ภายใต้รายได้ที่มีอยู่ (subject to budget constraint) ซึ่งใน GEM55 (และ CGE ส่วนใหญ่) ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีอุปสงค์ของ Stone and Geary Demand function (แทน Leontief function)*(8) ซึ่งใน Stone and Geary Demand function ได้แบ่งอุปสงค์ต่อสินค้าขั้นสุดท้ายแต่ละชนิดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จำเป็น (Subsistence part) และส่วนที่เกินความจำเป็นหรือฟุ่มเฟือย (Supernumerary หรือ Luxury part) ซึ่งส่วนที่เกินความจำเป็นนี้จะกระทบต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค (Household Utility) ผลของการ Maximize Utility ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของรายได้ ทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าในส่วนที่เป็น Luxury part นี้ขึ้นอยู่กับรายได้ และราคาของสินค้าโดยเปรียบเทียบ ขณะที่สมการอธิบายอุปสงค์ต่อสินค้าในส่วนที่เป็น Subsistence part นั้นจะได้ว่าขึ้นอยู่กับจำนวนครัวเรือนหรือผู้บริโภค

4. อุปสงค์จากต่างประเทศ (Export Demand) สมการอุปสงค์จากต่างประเทศไม่ได้ถูกกำหนดจาก Optimization problem แต่ให้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าไทยในรูปดอลล่าร์ สรอ. โดยใน GEM55 ได้แบ่งสินค้าส่งออกของไทยเป็น 2 กลุ่ม คือ Traditional export และ Non-traditional export โดยพวกที่จัดว่าเป็น Traditional export goods คือสินค้าที่มีสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกต่อยอดขาย (Export share to sales) เกินกว่าร้อยละ 30 ดังนั้น จะกำหนดให้อุปสงค์ต่อสินค้าเหล่านี้ขึ้นอยู่กับราคาส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. สาหรับ Non-traditional export goods คือสินค้าที่มี Export share to sales น้อยกว่าร้อยละ 30 จะถูกรวมกันเป็นกลุ่ม และกำหนดให้อุปสงค์ต่อสินค้าทั้งกลุ่มขึ้นอยู่กับราคาส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ.

5. อุปสงค์ของรัฐบาล (Government Demand) ใน GEM55 กำหนดให้การใช้จ่าย (อุปสงค์) ของรัฐบาลมีความสัมพันธ์โดยตรง (link) กับอุปสงค์ของครัวเรือน หมายความว่า ถ้าอุปสงค์ของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 อุปสงค์ของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ด้วยเช่นกัน ซึ่งในที่นี้ต้องการกำหนดให้สัดส่วน (Share) ของการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนต่อ GDP และสัดส่วนของการใช้จ่ายของรัฐบาลต่อ GDP คงที่

6. สมการอื่นๆ ใน GEM55 อาทิ สมการที่อธิบายถึงเงื่อนไขของ Market clearing คือ อุปสงค์เท่ากับอุปทานในทุกตลาด เพื่อกำหนดราคาดุลยภาพ (Equilibrium prices) และเงื่อนไขของ Zero Pure Profit คือราคาผลผลิต (Output prices) จะต้องเท่ากับต้นทุนปัจจัยการผลิต (Input prices) ทุกประเภทการผลิตบวกกับภาษี และ เงื่อนไขของ Constant Return to Scale ตามข้อสมมติตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition)

ข้อมูลหลักที่ใช้ใน GEM55 เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของค่าจ้างในการศึกษานี้ประกอบด้วย

1. ข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-Output Table) ปีล่าสุด (2005)

2. ข้อมูล Capital stock of Thailand ปี 2009

3. ข้อมูล Labour Force Survey ไตรมาส 4 ปี 2553 ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนลูกจ้างที่ได้ค่าจ้างรายวันต่ำกว่า 300 บาท และ รายได้รวมของลูกจ้างจำแนกเป็นรายอุตสาหกรรม

4. ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย (1) ค่าความยืดหยุ่นของการทดแทนกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้า (Armington elasticities) (2) ค่าความยืดหยุ่นของการทดแทนกันระหว่างแรงงานมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ (3) ค่าความยืดหยุ่นของการทดแทนกันระหว่างปัจจัยการผลิตขั้นต้น (4) ค่าความยืดหยุ่นของการใช้จ่าต่อรายได้ และ (5) ค่าความยืดหยุ่นของปริมาณการส่งออกต่อราคา โดยที่ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้บางส่วนได้จาก GTAP (Global Trade Analysis Project) และจากงานศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ CGE ซึ่งไม่ได้ศึกษากรณีของประเทศไทยโดยเฉพาะ ดังนั้น ทำให้เป็นข้อจำกัดหนึ่งของการประยุกต์ใช้ CGE model อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้ปรับค่าความยืดหยุ่นบ้างเพื่อความเหมาะสมโดยทำ Sensitivity test นอกจากนี้ GEM55 ไม่ได้มีสมมติฐานเกี่ยวกับการทดแทนระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว

2.2 กรอบการศึกษาและแนวคิดในการประเมินผลของการปรับเพิมค่าจ้างขั้นต่ำ ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราจ้างขั้นต่ำและการออกแบบทางเลือกของนโยบายโดยการประยุกต์ใช้ CGE model ของงานศึกษานี้เน้นตอบเฉพาะเรื่องผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพของการผลิตโดยรวม ซึ่งที่จริงการประยุกต์ใช้ CGE model สามารถตอบโจทย์ได้กว้างกว่า กล่าวคือสามารถหาตอบของนโยบายรองรับอื่น เช่น การลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการ (ผลกระทบต่อรายได้หรือฐานะการคลังของรัฐบาล) และการใช้นโยบายกระตุ้นอุปสงค์ จากกรอบการศึกษาที่กำหนดตามข้างต้น ผู้วิจัยจึงแบ่งการวิเคราะห์เป็น 3 simimulations

ใน Simulation แรก (S1) จะวัดขนาดของผลกระทบของการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจากระดับปัจจุบันที่เฉลี่ยทั่วประเทศ 177 บาทต่อวันเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ สาเหตุที่เลือกการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีการกล่าวขานกันมากในขณะนี้ เพราะตัวเลข 300 บาทมาจากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในช่วงหาเสียง และหลังจากที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลก็จำเป็นต้องขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและยังไม่เห็นด้วยในการที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำทีเดียวเป็น 300 บาท ฝ่ายที่เห็นด้วยคือกลุ่มลูกจ้างที่จะได้ประโยชน์ เพราะปัจจุบันค่าแรงรายวันต่ำมากจนแทบจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะหากแรงงานต้องมีภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัว ส่วนฝ่ายที่ไม่ค่อยจะเห็นด้วยก็คงเป็นนายจ้าง เพราะการเพิ่มค่าแรงในครั้งนี้จะเป็นแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะเพิ่มขึ้นทีเดียวประมาณร้อยละ 40 (คือใช้ระดับค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ ที่ 215 บาทเป็นระดับอ้างอิง) ซึ่งปกติที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มของค่าจ้างขั้นต่ำไม่เคยสูงกว่าร้อยละ 5 ดังนั้น ย่อมกระทบต่อนายจ้างหรืออุตสาหกรรมที่จ้างแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมากและหากต้นทุนการผลิตอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย และที่สาคัญยังไม่ได้รับประกันว่าคุณภาพหรือฝีมือของแรงงานจะเพิ่มขึ้นและคุ้มค่าสมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังไม่ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังถึงผลกระทบก่อนที่จะนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ สำหรับภาคทางการและนักวิชาการต่างมีความเห็นที่หลากหลาย และมุ่งเน้นพิจารณาผลกระทบในภาพรวมซึ่งกว้างกว่าผลกระทบต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ส่วนอีก 2 Simulations ที่เหลือ (S2 และ S3) จะเป็นการวิเคราะห์เพื่อวางแนวทาง (Policy options) ว่า หากต้องการลดผลกระทบเชิงลบของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทันทีแบบก้าวกระโดดต่อ Real GDP และลดอัตราเร่งของเงินเฟ้อแล้ว จำเป็นต้องมีนโยบายอะไรเสริมหรือเพิ่มเติมขึ้นมาควบคู่ไปกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

กรอบของการวิเคราะห์ของทั้ง 3 Simulations

Simulation 1 (S1) เป็นการวิเคราะห์ขนาดของผลกระทบของการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ซึ่ง shock ที่จะใส่ให้แก่ GEM55 คือการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งในที่นี้ค่าแรงของ Unskilled labour จะเป็นตัวแปรภายนอกของแบบจำลอง (Exogenous variable) และเป็น Shock variable จากนั้นจะวัดว่าตัวแปรภายใน (Endogenous variables) ต่างๆ ในแบบจำลอง GEM55 เบี่ยงเบนไปจาก Baseline หรือกรณีฐาน9 เท่าใดและในทิศทางใด (Comparative Static Analysis) ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจคงที่ เพราะวัตถุประสงค์คือต้องการศึกษาเฉพาะผลกระทบจาก Wage shock เท่านั้น แต่เนื่องจากต้องการให้ Simulations ที่กำหนดขึ้นมานี้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงในการปรับตัวของเศรษฐกิจไทยที่ปกติจะมีภาคเกษตรเป็นภาคที่ช่วยรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน ดังจะเห็นได้จากกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 ที่มีแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการบางส่วนเคลื่อนย้ายออกสู่ภาคเกษตรกรรม ดังนั้น จึงได้เพิ่มเงื่อนไขเพิ่มเติมใน Simulations คือให้ภาคเกษตรดูดซับแรงงานที่อาจถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรมและบริการไปบางส่วน Nominal wage shock ที่ใส่ให้ GEM55 ใน S1 นี้จะเป็นการเพิ่ม Nominal wage ให้ในแต่ละสาขาการผลิตเฉพาะกลุ่มแรงงานที่เป็น Unskilled labour เท่านั้น ยกเว้นสาขาการผลิตในภาคเกษตร เนื่องจากแรงงานในภาคเกษตรไม่อยู่ภายใต้การบังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ ขนาดของ Nominal wage shock ที่สูงขึ้นนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-30 ซึ่งไม่สูงถึงร้อยละ 40 เนื่องจากในแต่ละอุตสาหกรรมมีทั้งแรงงานเดิมและแรงงานที่จะรับใหม่ ซึ่งแรงงานเดิมบางส่วนได้รับค่าจ้างสูงกว่า 300 บาทอยู่แล้ว ดังนั้น ขนาดของ Wage shock จึงขึ้นอยู่กับว่าในอุตสาหกรรมนั้นๆ มีสัดส่วนของแรงงานที่ได้ค่าจ้างต่ำกว่า 300 บาทอยู่เท่าไร*(10)

Simulation 2 (S2) เป็นการออกแบบทางเลือกว่า ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็น 300 บาทแล้ว ผลิตภาพแรงงานควรต้องเพิ่มขึ้นเท่าใดถึงจะสามารถชดเชยกับต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น (Supply shock) เพื่อไม่ก่อผลลบต่อ GDP growth ทำโดย Shock nominal wage เฉพาะ Unskilled labour ในแต่ละอุตสาหกรรมและคงภาวะแวดล้อมต่างๆ เหมือน S1 ขณะเดียวกันให้ GEM55 คำนวณหาผลิตภาพแรงงาน (Labour productivity)*(11) ที่ต้องเพิ่มขึ้นจนกระทั่งผลของ wage shock ไม่ทำให้ Real GDP growth ติดลบ

Simulation 3 (S3) เป็นการออกแบบทางเลือกว่า ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็น 300 บาทแล้ว ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมหรือ Overall productivity*(12) จะต้องเพิ่มขึ้นเท่าใด ถึงจะไม่ทำให้ GDP growth เป็นลบ ทำโดย Shock nominal wage เฉพาะ Unskilled labour ในแต่ละอุตสาหกรรมและคงภาวะแวดล้อมต่างๆ เหมือน S1 และให้ GEM55 คำนวณหาประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตที่ต้องเพิ่มขึ้นจนกระทั่ง Real GDP growth ไม่ติดลบ

ส่วนที 3 ผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจากการใช้ GEM55

ภายใต้สมมติฐานของโมเดลและกรอบการวิเคราะห์ที่กำหนดไว้ในแต่ละ Simulation พบว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวม คือทำให้ GDP ลดลงตามการจ้างงานที่ลดลง ยกเว้นแต่จะมีปัจจัยที่ช่วยให้ผลิตภาพแรงงานหรือประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตดีขึ้น โดยผลที่ได้ในแต่ละ Simulation จะแสดงอยู่ในรูปร้อยละของการเปลี่ยนแปลงไปจาก Baseline

3.1 ผลกระทบต่อตัวแปรในระดับมหภาค (ตารางที 3)

ผลที่ได้จาก S1 เป็นผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้างเพียงอย่างเดียว โดยสมมติให้ปัจจัยอื่นในระบบเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทันทีแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทจะส่งผลให้ Real GDP ลดลงถึงร้อยละ 1.7 จาก Baseline ซึ่งหมายความว่า ถ้าหาก GDP growth ใน Baseline อยู่ที่ร้อยละ 5 ก็แสดงว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างเป็น 300 บาท จะทำให้ GDP growth ลดลงจาก Baseline ร้อยละ 1.7 คือเหลือ growth แค่ร้อยละ 3.3 การลดลงอย่างมากของ GDP growth ในกรณีนี้เป็นผลจาก Supply shock ในตลาดแรงงานที่รุนแรง เนื่องจาก Nominal wage shock ดังกล่าวส่งผลให้การจ้างงานโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 4.5*(13) จากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น (ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนหรือรักษากำไรให้ได้สูงสุด) ในขณะที่ไม่มีปัจจัยบวกที่เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ*(14) (ตามเงื่อนไขของการศึกษาใน S1 ที่ต้องการศึกษาเฉพาะผลจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท) ผลของการเพิ่มค่าจ้างนี้ส่งผ่านไปยังต้นทุนอื่นๆ ของผู้ประกอบการ โดยทำให้ต้นทุนแปรผันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ (CPI Inflation) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และทำให้อัตราค่าจ้างที่แท้จริง (Real wage) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 (ต่ำกว่า shock ที่ใส่ไปใน model) เนื่องจาก inflation เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การที่อัตราค่าจ้างที่แท้จริงยังเพิ่มขึ้น ก็แสดงว่าอย่างน้อยก็ช่วยให้แรงงานมีฐานะดีขึ้นบ้าง (better off) ถ้าไม่คำนึงถึงกลุ่มแรงงานที่จะตกงาน

ใน GEM55 ได้กำหนดให้ Nominal exchange rate เป็น numraire*(15) ดังนั้น หากราคาสินค้าทุกหมวดที่ผลิตในประเทศ (GDP Deflator) เร่งตัวขึ้น จะส่งผลต่อค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real devaluation) คือเงินบาทหลังปรับด้วย GDP deflator แล้วแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.3 (เทียบกับดอลล่าร์ สรอ.) และทาให้มูลค่าการส่งออกลดลง

การนำเข้าลดลงตามอุปสงค์ในประเทศที่ลดลง แต่เนื่องจากการส่งออกลดลงเร็วกว่าการนำเข้าจึงทำให้ดุลการค้าขาดดุลเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.004 ของ Nominal GDP โดยที่ Terms of Trade เพิ่มขึ้น (ดีขึ้น) ร้อยละ 0.8 ซึ่งเท่ากับว่าไทยจะได้ประโยชน์จากราคาส่งออกที่ขยายตัวเร็วกว่าราคานำเข้า ถ้าอุปสงค์จากต่างประเทศต่อสินค้าไทยไม่อ่อนไหวต่อราคามากนัก และหากไทยจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าก็จะได้ประโยชน์จากราคานำเข้าที่เพิ่มช้ากว่าราคาส่งออก

Real GDP ที่ลดลงส่งผลต่อการบริโภคภาคครัวเรือนและรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ใน GEM55 closure*(16) ได้สมมติให้การลงทุนไม่เปลี่ยนแปลง โดยได้กำหนดให้ Real investment เป็นตัวแปรภายนอก (exogenous variable) และให้ growth ของการลงทุนมีค่าเท่ากับศูนย์ เพื่อคุมตัวแปรปัจจัยทุน (Capital stock) ให้คงที่ เพราะต้องการเห็นผลกระทบที่ชัดเจนของค่าแรงที่ส่งผ่านไปยังการจ้างงาน ซึ่งจะกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม*(17)

แนวทางตาม S1 อาจเป็นประโยชน์ต่อแรงงานที่ยังมีงานทำบ้างเพราะ Real wage สูงขึ้น แต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้การจ้างงานลดลง นอกจากนี้ ยังทำให้ความพึงพอใจของผู้บริโภค (Household utility) ลดลงจากกรณีฐาน (Baseline) ร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ดี ในการประเมินผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างขั้นในงานศึกษานี้ไม่ได้ออกแบบจาลอง GEM55 ให้ครอบคลุมถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการโดยการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้าทดแทนแรงงานไทย เพราะหากยอมให้มีการใช้แรงงานต่างด้าวทดแทนก็อาจทำให้การจ้างงานลดลงมากกว่านี้ได้ จะเห็นว่าการเพิ่มขึ้นเฉพาะค่าจ้างไม่ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และสุดท้ายจะกระทบต่อการจ้างงานโดยรวม และทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างโดยที่คุณภาพของแรงงานหรือประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมยังคงเดิมก็เท่ากับว่าเกิด Cost push หรือ Negative supply shock ในตลาดแรงงาน แม้จะมีข้อโต้แย้งว่าการเพิ่มค่าจ้างจะทำให้รายได้หรือกำลังซื้อของแรงงานสูงขึ้น และจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย แต่จากผลของการศึกษาใน S1 แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างเพียงอย่างเดียว เป็นแค่การโอนรายได้หรืออำนาจซื้อจากผู้ประกอบการมาให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งผลสุทธิแล้วไม่ได้กระตุ้นการใช้จ่ายโดยรวม แต่ในทางตรงกันข้าม ด้วยขนาดของ Wage shock ในการศึกษานี้ (ตามการปรับค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาท) ทำให้รายจ่ายหรืออุปสงค์โดยรวมกลับลดลง (คือการบริโภคที่แท้จริงลดลงจากกรณีฐาน)

ดังนั้น ใน S2 และ S3 จึงพยายามจะตอบโจทย์ว่า ถ้าค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาท โดยไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจ ซึ่งในที่นี้คือไม่ทำให้ Real GDP growth ลดลงจาก Baseline และไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อราคาหรือเงินเฟ้อแล้วนั้น ปัจจัยบวกที่จำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจคืออะไร ซึ่งคำตอบจาก S2 คือ ผลิตภาพแรงงานที่ต้องเพิ่มขึ้น หรือไม่เช่นนั้น หากจะเลือก S3 ก็คือประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตต้องสูงขึ้น

ตารางที 3 ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรมหภาคจาก Baseline
% change from base                  S1        S2       S3
Real GDP                           -1.7      0.6      0.6
Real consumption                   -0.9     -0.1     -0.3
Real investment                     0.0      0.0      0.0
Real government consumption        -0.9     -0.1     -0.3
Real exports                       -3.0      1.3      0.0
Real import c.i.f price            -1.4      0.2     -1.4
CPI inflation                       1.0     -0.7      0.0
Price of intermediate inputs       -0.9     -2.1     -1.1
Short-run variable cost             0.6     -1.0     -0.2
Real devaluation                   -2.3      0.4     -0.4
Terms of Trade                      0.8     -0.3      0.0
Trade balance to GDP (nominal)   -0.004    0.005    0.009
Employment                         -4.5     -6.1     -4.3
Effective wage                      7.2     -4.9      3.5
Real wage                           6.2      4.1      3.4
Household utility                  -1.7     -0.2     -0.6

โดยใน S2 พบว่าผลิตภาพของแรงงานต้องเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 8 จากปัจจุบันที่มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3 ต่อปี นั่นหมายความว่า ถ้าใช้วิธีการคำนวณหาผลิตภาพแรงงานแบบง่ายว่าเท่ากับ Real GDP หารด้วยจำนวนผู้มีงานทำ (GDP per worker) ก็เท่ากับว่าต้องเพิ่มคุณภาพหรือประสิทธิภาพของแรงงานให้สามารถผลิตสินค้าให้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น หรือทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าที่สูงขึ้นโดยยังใช้จำนวนแรงงานเท่าเดิม (หรือลดลง) เช่น ปัจจุบัน Real GDP per worker อยู่ที่ประมาณ 119,110 บาท ถ้าต้องการให้ผลิตภาพแรงงานเพิ่มร้อยละ 8 ก็เท่ากับว่า Real GDP per worker จะต้องเพิ่มเป็น 128,640 บาท (สมมติให้การจ้างงานคงที่) ซึ่งผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นนี้จะช่วยลดผลกระทบทางลบของ Nominal wage shock และบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อได้ โดยในกรณีนี้ CPI inflation ลดลงร้อยละ 0.7 จาก Baseline แม้ค่าแรงขั้นต่ำจะสูงขึ้นก็ตาม

หากจะเลือกแนวทาง S3 ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตโดยรวมขึ้นอีกประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตโดยรวมในที่นี้หมายถึงประสิทธิภาพของการผลิตผ่านวิธีการใช้วัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตขั้นกลางในกระบวนการผลิต เทคโนโลยี่ทางการผลิต ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือการใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตใหม่ที่ทันสมัย โดยรวมกันแล้วต้องเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 จึงจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ปกติตาม Baseline และยังมีผลดีคือช่วยให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลงจากประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้น

แนวทางตาม S2 และ S3 มีผลดีต่อ Real GDP growth และช่วยลดผลกระทบต่อต้นทุน การผลิตและเงินเฟ้อ แต่ผลตาม S2 ส่งผลกระทบทางลบต่อการจ้างงานมากกว่า S1 และ S3 ขณะที่ Real wage เพิ่มขึ้นน้อยกว่า S1 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในระยะสั้น ค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแรงงานไม่มากนัก เพราะแรงงานต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มผลิตภาพของตนเอง ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์บ้าง เพราะแม้จะต้องจ่าย Nominal wage สูงขึ้น แต่ด้วยผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 8 ทาให้ Effective wage ลดลงจาก Baseline ร้อยละ 4.9

เป็นที่น่าสังเกตว่าการจ้างงานใน S2 และ S3 ยังคงลดลงค่อนข้างมาก แม้เศรษฐกิจโดยรวม (Real GDP) ไม่ได้ลดงจาก Baseline ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลิตภาพของแรงงานและประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดจำนวนคนงานลงได้โดยที่ผลผลิตโดยรวมไม่ได้ลดลง ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการให้การจ้างงานลดลง ก็ต้องมีแรงกระตุ้นจากฝั่งอุปสงค์ (ทั้งจากในประเทศหรือจากการส่งออก) เข้ามาช่วยเสริม เพื อเพิ มให้มีการผลิตมากขึ้นจะได้ช่วยให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น (ซึ่งใน S2 S3 นั้นไม่ได้มีสมมติฐานเพิ่มเติมทางด้านอุปสงค์)

การจะใช้ทางเลือก S2 หรือ S3 ควรต้องคำนึงถึงต้นทุนในการดำเนินการ ระยะเวลาที ต้องขับเคลื่อนจนกว่าจะเห็นผล ความยากง่ายในการดำเนินการ และผลกระทบที่จะตกอยู่กับกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณากันต่อไป ทั้งนี้ เพื่อสามารถหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการได้อย่างเหมาะสมและตรงตามข้อเท็จจริง หรือถ้าต้องการลดผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างจากการ Shock ตาม S1 ก็อาจทยอยขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เวลาแก่ผู้ประกอบการในการปรับตัว ขณะเดียวกัน ก็ควรต้องพัฒนาคุณภาพของแรงงาน รวมถึงประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปด้วย

3.2 ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม

ผลกระทบต่อการผลิตในแต่ละสาขาการผลิต (หรืออุตสาหกรรม) จะแตกต่างกัน โดยผลลัพท์ที่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ความเข้มข้นของการใช้แรงงานประเภทไร้ฝีมือ (Unskilled labour intensity) หากใช้อย่างเข้มข้นก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบมาก และ (2) ความสามารถในการปรับเปลี่ยนมาใช้ปัจจัยการผลิตอื่นทดแทนได้ดีหรือไม่ (Primary input substitutability) หากอุตสาหกรรมใช้ unskilled labour เข้มข้น และไม่สามารถปรับมาใช้ปัจจัยการผลิตอื่นทดแทน unskilled labour ได้ ก็จะยิ่งถูกกระทบมาก นอกจากนี้ ผลกระทบยังถูกส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีก กล่าวคือ ถ้าผลผลิตของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถูกใช้เป็นปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรม A อุตสาหกรรม A ก็จะได้รับผลกระทบมากเช่นกัน โดยเป็นผลทางอ้อมจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าอุตสาหกรรม A จะไม่ได้ใช้แรงงานประเภท Unskilled อย่างเข้มข้นก็ตาม

สำหรับผลกระทบในระดับอุตสาหกรรมที่จะกล่าวในบทความนี้จะเน้นที่ตัวแปรหลัก 2 ตัว คือระดับการผลิต (Activity level) และการจ้างงานในอุตสาหกรรม ผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตาม S1 (คือถ้ามีแต่ Wage shock) พบว่าอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบมากในอันดับต้นๆ ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอขั้นต้น การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ รองเท้า และเครื่องแต่งกาย ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ unskilled labour ในสัดส่วนที่สูง และการทดแทนกันระหว่าง Skilled กับ Unskilled และระหว่างปัจจัยการผลิตอื่นค่อนข้างต่ำ จึงถูกกระทบมาก อุตสาหกรรมที่ถูกกระทบเพียงเล็กน้อยหรือไม่ถูกกระทบ ได้แก่ ภาคบริการ และภาคเกษตร (ส่วนหนึ่งมาจากข้อสมมติที่ว่าภาคเกษตรสามารถดูดซับแรงงานส่วนเกินได้บางส่วน)

หลายอุตสาหกรรมจะมีการลดการจ้างงานลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอขั้นต้น อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน และการผลิตเครื่องมือเครื่องจักร โดยมีภาคเกษตรช่วยดูดซับแรงงานบางส่วน (ตามสมมติฐาน) จึงเห็นได้ว่าการจ้างงานในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคเกษตรบางส่วนเพิ่มขึ้น

แม้ผลที่ได้จาก S1 ชี้ให้เห็นถึงการจ้างงานและการผลิตของหลายๆ อุตสาหกรรมลดลงอย่างมากก็ตาม แต่หากพิจารณาถึงความสามารถในการรองรับ (ความทนทาน) ผลกระทบจาก Wage shock ในแต่ละอุสาหกรรมนั้นอาจแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ Profit margin ที่มีอยู่ รวมทั้งความสามารถในการปรับลดต้นทุนด้านอื่นๆ และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมในระยะต่อไป (ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวโน้มความต้องการในตลาด) ในงานศึกษานี้ได้ประเมินความทนทานของอุตสาหกรรมโดยพิจารณาจากอัตราการเติบโตที่ผ่านมาของแต่ละอุตสาหกรรมโดยใช้ข้อเท็จจริงของข้อมูลดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index — MPI) ในปี 2553 เป็นฐานอ้างอิง (Benchmark) ซึ่งพบว่า แม้ผลกระทบของ Wage shock จะทาให้ Activity level หรือ Output growth ของอุตสาหกรรมหดตัว แต่ผลสุทธิแล้วการผลิตในหลายอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวอยู่ได้ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักร (42) การผลิตยานยนต์และจักรยานยนต์ (45) เครื่องหนัง (27) เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า (43) และผลิตภัณฑ์ยาง (36) เป็นต้น แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากและมีความทนทานต่ำ ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก (37) การผลิตรองเท้า (28) การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน (31) และ การผลิตเครื่องประดับ (46) เป็นต้น (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงผลผลิตจาก Baseline ในแต่ละ Simulation

         Industry                     Industry Output        MPI 2010
    (% change from baseline)         S1      S2    S3
 1) การทำนา                         6.4     7.1    0.2       เฉลี่ย -2.3
 2) การทำไร่ธัญพืชอื่น                   4.6    10.5    5.7
 3) การทำไร่มันสำปะหลัง                4.6     9.5    5.6
 4) การปลูกพืชตระกูลถั่วและพืชไร่อื่น        2.5     4.8    3.5
 5) การทำสวนผักและผลไม้               1.5     3.3    2.5
 6) การทำไร่อ้อย                      3.6    14.4    4.5
 7) การทำสวนปาล์มและพืชน้ำมัน           1.6     3.7    4.7
 8) การทำสวนยางพารา                 2.3     4.0    3.3
 9) การทำไร่อื่นๆ                      1.6     3.6    2.6
10) ปศุสัตว์อื่นๆ                       -1.9    -0.2    3.1
11) การเลี้ยงสัตว์ปีกและผลิตผล           -0.8     0.4   -1.0       7.1
12) การบริการทำการเกษตร              3.1     5.7    1.3         -
13) ป่าไม้และผลิตผล                   -4.3    -1.3   -3.6         -
14) ประมง                          -1.1     0.8    0.1         -
15) เหมืองถ่านหิน ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ    -2.1     0.9   -0.9         -
16) การทำเหมืองแร่อื่นๆ                -1.6    -1.3   -2.4         -
17) การฆ่าสัตว์                       -1.4     0.2   -1.2         -
18) อาหารแปรรูป                      0.2     3.0    4.0       4.8
19) โรงสีและผลพลอยได้                 5.7     7.7    1.4       4.6
20) การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ            3.7    15.7    5.6         6
21) การผลิตอาหารสัตว์และปลาป่น         -1.6     0.7   -0.8      10.8
22) การผลิตเครื่องดื่ม                  -2.6    -0.8   -1.7       1.8
23) การผลิตยาสูบ                     -1.4     1.2    0.1      11.2
24) การผลิตสิ่งทอขั้นต้น                 -4.7    -0.6   -2.7       6.5
25) การผลิตเครื่องแต่งกาย              -3.8    -0.8   -1.8       3.8
26) การผลิตพรม เครื่องปูลาดและเชือก     -2.8     1.5   -0.5         -
27) โรงฟอกหนังและผลิตภัณฑ์หนังสัตว์       -3.3    -0.5   -1.6      21.4
28) การผลิตรองเท้า ยกเว้นรองเท้ายาง    -4.3    -0.1   -1.9       2.2
29) แปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้          -3.5    -0.9   -2.0      -3.1
30) การผลิตกระดาษและการพิมพ์          -3.0     0.1   -1.8       4.1
31) การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน            -2.9     1.3   -0.5     -19.5
32) การผลิตปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช           -1.1     1.7   -0.4         -
33) ผลิตภัณฑ์ปิโตเคมี                   -3.8     0.9   -1.2      10.6
34) การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเคมีอื่นๆ          -2.8     0.2   -1.2       8.2
35) น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ      -1.8     0.7   -0.9       2.5
36) การผลิตผลิตภัณฑ์จากยาง             -3.2     0.0   -0.6      13.9
37) การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก             -5.9    -1.6   -2.5       4.4
38) การผลิตผลิตภัณฑ์อโลหะ              -3.2    -0.5   -1.8      10.4
39) การผลิตซีเมนต์และผลิตภัณฑ์คอนกรีต     -0.5    -1.8   -2.4      10.3
40) อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์         -4.4     0.1   -1.7      16.4
41) ผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ ที่ไม่ใช่เหล็ก        -3.4     1.0   -0.7         -
42) การผลิตเครื่องมือ เครื่องจักร         -3.4     0.4   -1.2      36.3
43) เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า            -3.5    -0.9   -1.0      17.1
44) การผลิตยานพาหนะอื่นๆ และซ่อมแซม    -2.4     0.9   -1.1         -
45) การผลิตยานยนต์และจักรยานยนต์       -2.7     1.4    0.3      49.3
46) การผลิตเครื่องประดับ               -2.4     0.3   -0.6      -1.5
47) การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ         -3.5     0.1   -1.6      32.7
48) การผลิตไฟฟ้าและประปา             -1.9     0.6   -1.3      10.1
49) การก่อสร้าง                       0.4    -2.5   -1.6       6.8
50) บริการการค้าส่งค้าปลีก              -1.3     0.7   -0.5       2.7
51) โรงแรมและภัตตาคาร               -2.1     0.0   -1.0       8.5
52) บริการขนส่ง                      -2.0     0.6   -0.8       4.0
53) สถาบันการเงิน ประกันชีวิตและประกันภัย -1.5     0.8   -1.2       7.8
54) สถาบันการศึกษา วิจัย และอนามัย      -1.4     0.2   -0.6       2.5
55) บริการอื่นๆ                       -1.9     0.1   -0.9       8.4

ส่วนที 4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

ตลาดแรงงานของไทยเป็นตลาดที่เน้นใช้แรงงานราคาถูก ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อน จึงต้องพยายามรักษาขีดความสามารถของการแข่งขันของสินค้าไทย โดยมาเน้นการกดต้นทุนการผลิตให้ต่ำจากค่าแรงราคาถูก ประกอบกับการผลิตสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้ากำหนด (Original Equipment Manufacturer หรือ OEM) สินค้าที่ผลิตออกมาจึงมีมูลค่าเพิ่มแก่คนไทยค่อนข้างน้อย ไม่ได้ช่วยพัฒนาผลิตภาพแรงงาน (Labour productivity) ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยี่ทางการผลิตได้มากนัก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ส่วนการคุ้มครองทางสวัสดิภาพและสังคมแก่แรงงานยังไม่ครอบคลุมและกว้างขวางเพียงพอ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 เป็นแรงงานนอกระบบ ส่งผลให้แรงงานส่วนใหญ่ยังคงตกอยู่ในความยากจน โดยเฉพาะแรงงานในภาคเกษตร และในชนบท

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำ และมีการถกเถียงในเรื่องความเพียงพอหรือความเหมาะสมของระดับค่าจ้างขั้นต่ำกันมายาวนาน งานศึกษานี้จึงได้วิเคราะห์ถึงระดับเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้นิยามของระดับเหมาะสมใน 3 ด้าน คือ (1) ระดับที่เหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ซึ่งประกอบด้วยค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาลและยาที่นอกเหนือจากประกันสังคม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่ายานพาหนะ (2) ระดับที่เหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามคุณภาพ ซึ่งเท่ากับค่าใช้จ่ายตามอัตภาพบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัย เงินทำบุญ ทอดกฐินและผ้าป่า และค่าใช้จ่ายเพื่อการบันเทิงและพักผ่อน และ (3) ระดับที่เหมาะสมตามผลิตภาพของแรงงาน (labour productivity) ซึ่งผลิตภาพของแรงงานในที่นี้วัดจาก Real GDP ต่อจำนวนการจ้างงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ดังกล่าว พบว่าขนาดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม

สำหรับนโยบายของรัฐบาลที่จะปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น ได้มีการการกล่าวขานอย่างมากถึงผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวว่าจะกระทบต่อการจ้างงาน เนื่องจากผู้ประกอบการบางสาขาการผลิตอาจต้องเลิกกิจการจากที่แบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว ราคาสินค้า (อัตราเงินเฟ้อ) สูงขึ้น และทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง งานศึกษานี้จึงได้ประยุกต์ใช้ Computable General Equilibrium model (GEM55) เป็นเครื่องมือทางเศรษฐมิติในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรมหรือสาขาการผลิต โดย GEM55 ได้จำแนกสาขาการผลิตออกเป็น 55 สาขา โดยการ Shock nominal wage ของ Unskilled labour ในแต่ละสาขาการผลิต (ยกเว้นสาขาการผลิตในภาคเกษตร) ในอัตราที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแรงงานในสาขาการผลิตนั้นๆ ที่ยังได้รับค่าจ้างรายวันต่ำกว่า 300 บาท จากนั้นได้ออกแบบทางเลือกว่าหากต้องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ควรต้องมีมาตรการเสริมเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตอย่างไร ถึงจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบของการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในอัตราที่สูงนี้ได้

ผลการศึกษาที่ได้จาก GEM55 พบว่าการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าอื่นๆ และการจ้างงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมคือ Real GDP ต่ากว่าปกติ (Baseline) 1.7% และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1% อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอขั้นต้น การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ รองเท้า และเครื่องแต่งกาย ขณะที่ภาคบริการและเกษตรได้รับผลกระทบลดหลั่นลงมา

ในงานศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นถึงผลกระทบในระดับอุตสาหกรรมว่าการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำทันทีแบบก้าวกระโดดอาจส่งผลให้มีการเลิกจ้างแรงงานในบางธุรกิจที่มีกาไรต่ำจนแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับอุตสาหกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางบรรเทาหรือเยียวยาผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรมได้ตรงตามข้อเท็จจริง

โดยผล (Simulation results) จาก S2 และ S3 ช่วยให้เห็นถึงช่องทางการเยียวยาหากต้องการจะเพิ่มค่าแรงทันทีแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ก็ต้องเพิ่มผลิตภาพของแรงงานขึ้นอีกร้อยละ 8 หรือไม่ก็ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตให้สูงขึ้นร้อยละ 2.5 หรือผสมผสานทั้งสองแนวทาง ซึ่งจะเป็นเรื่องดีต่อศักยภาพการผลิตและการแข่งขันของประเทศในระยะยาวต่อไป

งานศึกษานี้ไม่ได้ปฏิเสธการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำรายวันในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการดารงชีพตามเกณฑ์ของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพ รวมถึงเกณฑ์ในเรื่องของความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่แรงงานตามคุณค่าของน้ำพักน้ำแรงที่แรงงานใช้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดมีผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง เพราะจากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทีเดียวแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทนี้ เปรียบเสมือน Supply shock อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังต้นทุนการผลิตอื่นๆ และความต้องการจ้างงาน ดังนั้น ข้อเสนอของทางเลือกในการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและแนวทางการส่งเสริมพัฒนาแรงงานไทยควรเป็น ดังนี้

1. ทยอยปรับขึ้นค่าแรงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และให้มีความสอดคล้องกับภาวะตลาดและผลิตภาพของแรงงาน เพื่อให้เวลาแก่ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างปรับตัว โดยฝ่ายนายจ้างควรหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือตัดทอนต้นทุนด้านอื่น ขณะเดียวกันก็มีเวลาให้ลูกจ้างสามารถเพิ่มผลิตภาพหรือคุณภาพทางการผลิตของตนเอง โดยในขั้นแรกนี้ควรปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้อย่างน้อยขึ้นมาอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ซึ่งในแต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกันตามอัตราค่าครองชีพของในแต่ละจังหวัด

2. ภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาดูแลกระบวนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำผ่านทางคณะกรรมการค่าจ้าง คณะอนุกรรมการกาหนดค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ที่ปัจจุบันภาครัฐก็เป็นหนึ่งในไตรภาคีของคณะกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้อยู่แล้ว โดยเน้นถึงผลิตภาพหรือฝีมือแรงงาน และความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้มากขึ้นในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

3. ปรับแนวคิด (Mind-set) ของทุกภาคส่วนในเรื่องแรงงานและค่าจ้าง ที่หวังพึ่งพาแรงงานราคาถูก (Cheap labour cost) เพื่อกดต้นทุนและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยต้องมาเน้นในเรื่องคุณภาพหรือมูลค่าเพิ่มของสินค้าและความคุ้มค่าของสินค้า และให้ค่าจ้างเป็นกลไกที่จะจูงใจให้แรงงานหันมาปรับปรุงคุณภาพของตนเอง และทำงานให้เต็มศักยภาพสมกับค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์หรือ Creative economy ที่ต้องเน้นการเพิ่ม Value added ของสินค้าแทนการพึ่งพาแรงงานไร้ฝีมือราคาถูก

4. การเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพของแรงงานโดยการเสริมสร้าง Knowledge society ให้แก่แรงงาน ปัจจุบันทางภาครัฐและนายจ้างได้มีการฝึกอบรมฝีมือและทักษะให้แก่แรงงาน แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากแรงงานต้องทำงานล่วงเวลา (OT) เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการใช้จ่ายหรือดูแลครอบครัว จึงเหนื่อยล้าและไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ในการสะสมความรู้ความชานาญ ดังนั้น การเพิ่มค่าจ้างจะช่วยให้รายได้ของแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้แรงงานลดการทำ OT ลงได้บ้าง และเอาเวลามาใช้กับการเรียนรู้ได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพแรงงานและเศรษฐกิจในระยะยาว

5. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตสามารถทำโดยการปรับปรุงระบบขนส่งและ โลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น และเน้นใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการผลิตใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องลงทุนในการคิดค้นและวิจัยให้มากขึ้น และนำเอาผลที่ได้มาปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหรือสร้างความแตกต่างของสินค้าเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก หรือการขยายตลาดส่งออกเดิมหรือบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้น จะช่วยเพิ่มอุปสงค์และรายได้เพื่อชดเชยผลของต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

6. แนวทางที่ดีในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพการผลิตควรต้องขับเคลื่อนควบคู่กันไปทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งตามตัวอย่างของงานศึกษานี้คือการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในแนวทางปฎิบัตินั้นอาจมีต้นทุนและเวลาดำเนินการจนกว่าจะเห็นผลอาจแตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่ดีคือวิธีการที่มีต้นทุนที่ต่ำสุดและได้ประโยชน์สูงสุด และประโยชน์นั้นควรตกอยู่ในระยะยาวด้วย จึงต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงแนวทางและรายจ่ายของแต่ละแนวทาง หรือใช้หลายๆ แนวทางร่วมกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับผู้ประกอบการในแต่ละสาขาการผลิต

  • บทความนี้เป็นส่วนของงานวิจัย “เรื่องตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย” ที่กำลังจะเผยแพร่ ซึ่งมีรายละเอียดของภาพรวมตลาดแรงงานไทย การวิเคราะห์ปัญหาและความยืดเยื้อรุนแรงของการขาดแคลนแรงงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แนวทางการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การส่งผ่านของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อค่าจ้างอื่นๆ และราคาสินค้า และผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท

** ข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

*(1) กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง หมายถึงสภาพของประเทศกำลังพัฒนาที่หลุดออกจากความยากจน โดยสร้างรายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออก จนทำให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีในระดับหนึ่ง แต่กลับไม่สามารถพัฒนาตัวเองไปสู่ประเทศที่พัฒนาที่มีฐานะร่ำรวย (high income countries) ได้เนื่องจากไม่สามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้

*(2) ทรัพยากรการผลิตประกอบด้วยปัจจัยการผลิตเบื้องต้น หรือ Primary factors (แรงงาน ทุน และที่ดิน) และปัจจัยการผลิตขั้นกลาง หรือ Intermediate inputs หน่วยเศรษฐกิจหลักประกอบด้วย ผู้ผลิต (Intermediate users) และผู้ใช้ขั้นสุดท้าย (Final users) โดย Final users แบ่งเป็นผู้บริโภคและผู้ลงทุน

*(3) ข้อมูลหลักที่ใช้เป็นกรอบการสร้าง GEM55 ได้จากตาราง Input-Output (I-O table) ซึ่งจัดทำโดยสานักงานพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตาราง I-O ละเอียดสุดเป็น Commodity x Industry Matrix ขนาด 180x180 sector รองลงมา คือ 58x58 และ 16x16 sector แต่ในงานวิจัยได้จัดกลุ่ม sector ใหม่เป็นขนาด 55x55 sector เพื่อเน้นวิเคราะห์ sector หลักๆ ที่สำคัญ

*(4) ใน I-O table ไม่ได้แยกรายการ Wage and Salary (Row 201) ออกเป็นรายได้ของแรงงานระหว่าง skilled กับ Unskilled แต่ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งข้อมูลดังกล่าวออกเป็นรายได้ที่เป็นของ skilled กับ Unskilled labour โดยใช้ข้อมูลด้านการศึกษาขอแรงงานในแต่ละสาขาการผลิตซึ่งได้จาก Labour Force Survey ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นเกณฑ์

*(5) Constant Elasticity of Substitution (CES) function เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของ Production functions (และ Utility functions) ที่นิยมใช้อธิบายเทคโนโลยีการผลิต (หรือการเลือกบริโภคสินค้า) เนื่องจากยอมให้สินค้า 2 ชนิด สามารถทดแทนกันได้ โดยที่ค่าความยืดหยุ่นของการทดแทนมีค่าคงที่แต่ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 1 เหมือนอย่างใน Cobb-Douglas function และจะต่างจาก Leontief function ที่อนุมานว่าสินค้าทั้งสองชนิดไม่สามารถทดแทนกันได้ จึงต้องใช้สินค้าทั้งสองในสัดส่วนคงที่ (Fixed proportion)

*(6) ใน CGE model database มีข้อสมมติว่าไม่มีภาษีทางอ้อม (Indirect tax) ที่เก็บบน margins commodities (margins commodities ประกอบด้วย wholesale and retail trade และ transport services) ดังนั้น ในการเตรียม database สำหรับ GEM55 จึงได้ย้ายรายการ Indirect taxes ที่ปรากฎในสินค้า margins ทั้งสองใน I-O table ออกมาเป็นรายการที่เรียกว่า Other cost tickets

*(7) ในตาราง I-O ของ NESDB นั้นจะมีแค่ 1 Investor เท่านั้น แต่ใน GEM55 เราได้แบ่ง Investment column vector ออกเป็น matrix 55x55 โดยใช้ข้อมูล Capital stock of Thailand รายอุตสาหกรรมของ NESDB มาเป็นสัดส่วน (share) ในการกระจาย Investment column vector เป็น Investment matrix ขนาด 55x55

*(8) หากใช้ Leontief function ก็เท่ากับว่าผู้บริโภคจะซื้อหรือบริโภคสินค้าแต่ละประเภทในสัดส่วนที่คงที่ ซึ่งจะขัดแย้งกับ Engel’s Law ที่ว่าหากรายได้เพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้บริโภคอาจมีการใช้จ่ายในสินค้าจำเป็นบางประเภท อย่างเช่น อาหารในสัดส่วนที่น้อยลง และมาใช้จ่ายในสินค้าบางประเภท อย่างเช่นพวกสินค้าฟุ่มเฟือยในสัดส่วนที่สูงขึ้น

*(9) Baseline หรือกรณีฐานในที่นี้คือกรณีที่เศรษฐกิจดำเนินไปตามปกติโดยไม่มี Shock จากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำมาอยู่ที่ระดับ 300 บาทต่อวัน

*(10) รายละเอียดของข้อมูลในส่วนนี้คำนวณได้จาก Labour Force Survey ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

*(11) ผลิตภาพแรงงานในที่นี้คำนวณจาก Real GDP หารด้วยจำนวนการจ้างงาน ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นหมายถึง Real GDP per worker เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพหรือคุณภาพของแรงงานที่ดีขึ้น

*(12) ผลิตภาพการผลิตโดยรวมหมายถึงประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตที่ครอบคลุมถึงปัจจัยการผลิตอื่นๆ อาทิ ทุน ที่ดิน ระบบการจัดการต่างๆ ที่จะช่วยให้ต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตลดลง

*(13) การจ้างงานที่ลดลงถึงร้อยละ 4.5 อาจจะดูค่อนข้างสูง แม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงที่ให้ภาคเกษตร (ซึ่งถือเป็น informal sector) ดูดซับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างไปแล้วบางส่วน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวอาจไม่รุนแรงในเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง (แม้จะออกจากตลาดแรงงาน) ก็สามารถทำธุรกิจส่วนตัว (self-employed) ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันพบว่ากำลังแรงงานไทยที่อยู่นอกระบบ (คืออยู่ในภาคเกษตรและเป็นพวก self-employed) สูงถึงร้อยละ 62

*(14) โดยเฉพาะปัจจัยบวกทาง Supply side อย่างเช่น ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพของปัจจัยการผลิตอื่นๆ ใน Production function (ปัจจัยทุนและที่ดิน) และประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต

*(15) ในการศึกษานี้ใช้ Nominal exchange rate เป็น Num?raire หมายความว่า ตัวแปรราคาทุกตัวในโมเดลถูกผูกค่าไว้กับ Nominal exchange rate ถ้า Nominal exchange rate เพิ่มร้อยละ 1 จะทำให้ตัวแปรราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และ Nominal variables ทุกตัวในโมเดลมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 (ตามราคา) ดังนั้น ค่าของ Real variables ในโมเดลจะไม่เปลี่ยนแปลง

*(16) Model Closure คือการปิดแบบจำลองโดยการกำหนด (set up) ตัวแปร exogenous และ endogenous ของแบบจำลอง โดยจำนวน Endogenous variables ต้องเท่ากับจำนวนสมการในแบบจำลอง

*(17) การที่ให้ปัจจัยทุนคงที่ (Fixed capital stock) ถือเป็น Short-run closure ของ CGE model ที่เห็นว่าในระยะสั้นการสะสมทุน (Capital stock accumulation) ยังไม่เกิดขึ้น

บรรณานุกรม

Horridge Mark, B.R. parmenter, K.R. Pearson “ORANI-F: A Computable General Equilibrium Model of the Australian Economy”, Economic Financial Computing Vol. 3 No. 2 pp.70-140, 1993

Dixon, P.B., Brian R. Parmenter, Alan A. Powell, Peter J. Wilcoxen, “Notes and Problems in Applied General Equilibrium Economics” 1992

Ridchard Layard, Stephen Nickel and Richard Jackman, “Unemployment: Macroeconomic Performance and the Labour Market”, 2nd edition, Oxford University Press, 2005

Siksamat, S. (2002) : A Measurement of Structural Changes in the Thai Economy (1990-1995): A Computable General Equilibrium Approach, Bank of Thailand Discussion Paper, DP/03/2002, March 2002

สมศจี ศิกษมัต และวรุตม์ เตชะจินดา “ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทยาค่าจ้างขั้นต่ำของไทย” FOCUSED AND QUICK (FAQ) Issue 38, May 30, 2011

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายค่าจ้าง แรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ปี 2554

ตลับลักษณ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ และอัญชลี ศิริคะเณรัตน์ (2554) การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ Focused and Quick, Bank of Thailand, issue 19, January 24, 2011

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ