สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนพฤษภาคม ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 3, 2012 10:17 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 12/2555

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม 2555 ขยายตัวจากอุปสงค์ โดยการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากรายได้ภาคการท่องเที่ยว และรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากผลผลิตยางพาราและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเป็นส้าคัญแม้ว่าราคาจะลดลงก็ตาม ขณะเดียวกันการลงทุนขยายตัวเช่นเดียวกันตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงแรม ทางด้านอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทั้งอุตสาหกรรมยางพาราและอาหารทะเล

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.4 ตามการผลิตยางพาราและอาหารทะเลทุกประเภท โดยผู้ผลิตมีการขยายตลาดใหม่ไปยังประเทศอื่นในเอเชีย อาทิตะวันออกกลางและประเทศในกลุ่ม AEC เพื่อชดเชยตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอเมริกาและยุโรป นอกจากนี้การขยายตัวส่วนหนึ่งมาจากการผลิตในปีก่อนลดต่ำลงมากจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่การผลิตน้ำมันปาล์มลดลงร้อยละ 18.9 เนื่องจากวัตถุดิบผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดลดลง

การอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามก้าลังซื้อของประชาชนที่ยังดีอยู่และนโยบายรถคันแรก ส่งผลให้ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 สูงกว่าเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยเครื่องชี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกหมวด เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างและยอดจ้าหน่ายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.7 และ 4.1 ตามล้าดับ เนื่องจากการขยายตัวธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ ได้แก่ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และโรงแรม เป็นส้าคัญ

ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและอ่าวไทยที่ขยายตัว เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีน ยุโรป และอเมริกา เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่องแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจ ก็ตาม และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดประชุมประจ้าปีขององค์กรระดับสากลที่กรุงเทพฯ ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวมาเลเซียในภาคใต้ชายแดนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ท้าให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้มีจ้านวน 426,638 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 และอัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 51.3P ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

แม้ว่าผลผลิตยางจะเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 15.5 แต่ในภาพรวมของการผลิตพืชผลเกษตรปรับตัวลดลงร้อยละ 1.0 จากผลผลิตปาล์มที่ลดลงถึงร้อยละ 19.4 เนื่องจากต้นปาล์มพักฟื้นจากปีก่อนที่ให้ผลผลิตมาก ด้านราคาหดตัวร้อยละ 24.1 จากราคายางที่ลดลงร้อยละ 26.9 เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัว ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ขณะเดียวกันราคาปาล์มปรับตัวลดลงร้อยละ 5.8 ตามราคาในตลาดต่างประเทศ การน้าเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในประเทศ และการประกาศเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษการส่งออกน้ำมันปาล์ม ส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัวต่อเนื่องแต่ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ส้าหรับปริมาณสัตว์น้ำเร่งตัวขึ้นจากผลผลิตกุ้งที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดท้าให้เกษตรกรต้องรีบจับกุ้ง

ส่วนเงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 13.1 และ 16.4 ตามล้าดับ เนื่องจากการแข่งขันระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ โดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจสอดรับกับความต้องการของผู้ฝากเงินเพื่อรักษาฐานลูกค้า และรองรับการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ทั้งรายจ่ายประจ้าและรายจ่ายลงทุน โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเงินลงทุนในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินจากงบกลาง เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลงร้อยละ 4.5

ด้านอัตราเงินเฟ้อ เร่งตัวจากร้อยละ 3.25 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.65 ตามแรงผลักดันของราคาอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศในแหล่งผลิตแห้งแล้งและร้อนจัดต่อเนื่อง เป็นเวลานานท้าให้ผลผลิตลดลงมาก รวมทั้งค่าขนส่งที่สูงขึ้นตามค่าแรงและค่าด้าเนินการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มได้ชะลอตัวลงตามการลดลงของราคาน้ำมัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร.0-7427-2000 ต่อ 4716

e-mail : Puangpeu@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ