แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 31, 2012 17:45 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 39/2555

ภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2555 ขยายตัวชะลอลง โดยปัญหาวิกฤติหนี้ในกลุ่มประเทศยูโรส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าชัดเจนขึ้น และส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออกหดตัว อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้การบริโภคและการลงทุนเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายจากอุทกภัยชะลอลงจากที่เร่งไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู้ในระดับต่ำ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทรงตัว

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้ ปัญหาวิกฤติหนี้ในกลุ่มประเทศยูโรส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าชัดเจนขึ้น ส่งผลให้การสงออกหดตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการส่งออกหมวดอุตสาหกรรมที่หดตัวในเกือบทุกกลุ่มสินค้าและเกือบทุกตลาด ส่วนหนึ่งจากอุปสงค์ของตลาดโลกที่ชะลอลง โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวต่อเนื่องจากปริมาณการส่งออกข้าวที่ลดลงเนื่องจากราคาสูงกว่าประเทศคูแข่ง และราคายางพาราที่ลดลงจากการชะลอคำสั่งซื้อของจีนตามการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอลง ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชะลอลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลง

การส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติหนี้ในกลุ่มประเทศยูโร ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวตาม โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 9.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่งผลใหอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงมาอยูที่ร้อยละ 72.4 จากร้อยละ 74.3 ในเดือนก่อน ตามการลดลงของการผลิต

ในอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ อย่างไรก็ดี การผลิตรถยนต์ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการที่ผู้ผลิตยังคงเร่งส่งมอบรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการซื้อที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้าที่ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตข้าว ส่วนหนึ่งจากปริมาณน้ำที่เอื้อต่อ การเพาะปลูก และอีกส่วนหนึ่งเป็นการปลูกเพื่อชดเชยขาวนาปีที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย นอกจากนี้

ยังมีผลผลิตในหมวดอื่นที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กุ้ง และปศุสัตว์ โดยเฉพาะสุกรและไข่ไก่ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ 11.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคายางพาราที่หดตัวจาก อุปสงค์ตางประเทศที่ชะลอลงโดยเฉพาะจากจีน และจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกร หดตัวร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน

อยางไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยว ยังขยายตัวได้ดี โดยนักท่องเที่ยวตางประเทศมีจำนวน 1.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักทองเที่ยวจากทุกภูมิภาคโดยเฉพาะจีน และเวียดนาม จากภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่ยังคงขยายตัวได้ สำหรับปญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยูโร ยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว โดยในเดือนนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรป (ไม่รวมรัสเซีย) ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน

การบริโภคและการลงทุนเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายจากอุทกภัยชะลอลงจากที่เร่งไปมากในช่วง ก่อนหน้า โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีกอน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการใช้จ่ายทั้งในกลุ่มสินค้าไม่คงทนและคงทน สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 18.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนเพื่อรองรับการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่การลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยเริ่มลดลง โดยในภาพรวมเป็นการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนซื้อรถยนต์ เชิงพาณิชย์และการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากการลงทุนด้านพาณิชยกรรม ในเขตกรุงเทพฯ

การผลิตที่ลดลงจากปัญหาวิกฤตหนี้ในกลุ่มประเทศยูโร ประกอบกับการลงทุนเพื่อทดแทนความเสียหายจากอุทกภัยที่ชะลอลง ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 5 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการนำเข้าในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเหล็กและผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี การนำเข้า

สินค้าทุน รถยนต์และชิ้นส่วนยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าหมวดเชื้อเพลิงเร่งขึ้นจากปริมาณ การนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผูผลิตน้ำมันบางรายมีแผนปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันในเดือนถัดไป

ภาครัฐยังคงมีการใช้จ่ายต่อเนื่องทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยเฉพาะรายจ่ายประจำ ในหมวดค่าจ้างเงินเดือน และการเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อฟื้นฟูและป้องกันอุทกภัย อย่างไรก็ดี เนื่องจากในเดือนนี้ มีการนำส่งรายได้ที่สูงกว่ารายจาย ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 167.4 พันลานบาท

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.56 ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยค่าไฟฟาที่เพิ่มขึ้นถูกชดเชยด้วยราคาอาหารสดที่ชะลอลง สำหรับเสถียรภาพด้านตางประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลจากการนำเข้าที่ชะลอลง ขณะที่ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายยังเป็นการไหลออกสุทธิจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องของธุรกิจและนักลงทุนไทย อย่างไรก็ดี ในเดือนนี้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรค่อนข้างมาก ทำให้ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลลดลงมากเทียบกับเดือนก่อน

ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ปรับตัวดีขึ้น แต่ในช่วงปลายไตรมาส การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติหนี้ในกลุ่มประเทศยูโรชัดเจนขึ้นอย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ตามความต้องการซื้อที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้าและผลของนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล สำหรับการลงทุนภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอลงจากไตรมาสก่อน

ธนาคารแหงประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648 e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ