FAQ Issue 61: น้ำท่วมปี 54 กับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 30, 2011 11:11 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

FOCUSED AND QUICK (FAQ) Issue 61

น้ำท่วมปี 54 กับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทย

ณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์ และไพลิน ผลิตวานนท์

Summary

น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ได้สร้างความเสียหายแก่การท่องเที่ยวไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ท้าลายสิ่งก่อสร้างและทุนทางธรรมชาติ รวมถึงบรรยากาศการท่องเที่ยวมากนัก จึงคาดว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนน้ำท่วมได้ทันทีในเดือนถัดไปหลังน้ำลด อย่างไรก็ดี น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลกตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น การลดทอนความสูญเสียจากความตระหนกของนักท่องเที่ยวระหว่างเกิดวิกฤติจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกัน เพราะการท่องเที่ยวต้องอาศัยความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังนั้น "การสื่อสารเชิงรุก" ที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่บางประเทศที่ให้ความสำคัญกับรายได้ท่องเที่ยวนำมาใช้และให้ประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์

บทนำ

ปี 2554 เป็นปีที่ไทยต้องเผชิญกับพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศมากที่สุดในรอบ 30 ปี ประกอบกับปริมาณน้าฝนเฉลี่ยรายเดือนตลอดทั้งปี 2554 ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีนสูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 2549-2553 เกือบทุกเดือน*(1) จึงเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดน้าท่วมครั้งใหญ่ปี 2554 ที่ทยอยสร้างความเสียหายไล่เรียงจากภาคเหนือตอนล่างมาสู่ภาคกลางจนถึงเขตเศรษฐกิจสำคัญอย่างอยุธยาและกรุงเทพฯ ในลักษณะยืดเยื้อยาวนาน จึงสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างไม่เคยปรากฏ โดยคาดว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติจะสูญไปถึง 2.3 แสนล้านบาท*(2) และครอบคลุมภาคเศรษฐกิจที่หลากหลาย ได้แก่ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อบรรยากาศการค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยวที่ถือว่า ไตรมาสนี้เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ที่สำคัญที่สุดของไทยที่จะยาวต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 1 ปีหน้า (รายละเอียดดูส่วนที่ 2)

นอกจากนี้ ภัยพิบัติเช่นนี้ยังมีโอกาสสูงที่จะเกิดบ่อยและรุนแรงมากขึ้น กล่าวคือ จากสถิติการเกิดน้ำท่วมในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวนครั้งที่เกิดเร่งตัวขึ้นมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นล้าดับ จึงสร้างความสูญเสียเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน

ดังนั้น บทความนี้จึงพยายามตอบค้าถามสำคัญว่า การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวเมื่อใด และน้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวเพียงใด และด้วยความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติที่มากขึ้นเช่นนี้จะมีแนวทางลดทอนผลกระทบจากความตระหนกของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างไร อันจะน้าไปสู่การสร้างเสริมให้การท่องเที่ยวไทยมีการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืนต่อไป

1. ความสำคัญของพื้นที่ประสบภัยต่อการท่องเที่ยว

จังหวัดน้าท่วมใหญ่ครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้น 26*(3) ซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึงร้อยละ 61.7 ของรายได้การท่องเที่ยวทั้งประเทศ ซึ่งความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากการที่น้ำไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ ที่เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้ประเภทนี้สูงถึงเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้การท่องเที่ยวทั้งประเทศ ดังนั้น กรุงเทพฯ จึงเปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของไทย และหลายสิบปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ ไม่เคยได้รับผลกระทบจากน้าท่วมรุนแรงเช่นนี้

นอกจากนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบภัยมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 57.2 ของรายได้จาการท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด ในปี 2553 และนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังมีส่วนสำคัญในการประชาสัมพันธ์สินค้าและภาพพจน์ของไทยในระดับสากลด้วย ทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวเหล่านี้เป็นพิเศษ ดังนั้น กรอบการศึกษานี้จึงมุ่งพิจารณาการฟื้นตัวของกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ

2. นักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวกลับมาเมื่อใด

น้ำท่วมครั้งนี้ สร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในช่วง High Season ของปลายปี 2554 อย่างที่ไม่เคยมีวิกฤติใดเคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะเป็นการปิดสนามบินสุวรรณภูมิที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 ก็มิใช่ต้นฤดูกาลท่องเที่ยวเช่นนี้ (แสดงโดยเส้นสีน้ำเงิน) จึงมีนักท่องเที่ยวต่างชาติยกเลิกการเดินทางเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก และท้าให้จำนวนนักท่องเที่ยวเหล่านี้ในเดือนตุลาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 7.5 และเดือนพฤศจิกายนหดตัวถึงร้อยละ 17.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน จึงทำให้ไทยเสียโอกาสในเชิงของรายได้เป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ทิศทางของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรากฏในรูปที่ 5 จึงสร้างความวิตกต่อผู้ที่เกี่ยวข้องว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะฟื้นตัวกลับมาเที่ยวไทยเช่นเดิมเมื่อใด

โดยบทความนี้ได้นิยามระยะเวลาการฟื้นตัว คือ จำนวนเดือนที่จำนวนนักท่องเที่ยวหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนน้ำท่วม

จากประสบการณ์ในหลายต่างประเทศที่เคยประสบกับวิกฤติน้าท่วมใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า แต่ละประเทศใช้เวลาฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมและระดับความเสียหายที่ได้รับ รวมถึงความสามารถและความพร้อมในการจัดการกับ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยประเทศส่วนใหญ่จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลเริ่มกลับเข้ามาเท่ากับระดับก่อนน้ำท่วมทันทีหลังน้ำลด หรือฟื้นตัวทันที (0 เดือน) (ตาราง 1)

แม้กระทั่งน้ำท่วมที่เมืองมุมไบซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญของอินเดียในปี 2548 ที่ฝนตกหนักติดต่อกันจนเกิดน้ำท่วมขังนาน 7 สัปดาห์ แต่เมื่อน้ำลดนักท่องเที่ยวเหล่านี้ฟื้นตัวทันทีในเดือนถัดไปหลังเหตุการณ์คลี่คลาย

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่ระยะเวลา ฟื้นตัวต้องใช้เวลา เช่น เมืองนิวออร์ลีนส์และหลุยส์เซียน่าของสหรัฐอเมริกา ที่พายุ เฮอริเคน แคทรินา (Hurricane Katrina) พัดเข้ามาจนเกิดความเสียหายอย่างหนักต่อสิ่งก่อสร้างรวมถึง

ตาราง 1 การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในต่างประเทศหลังประสบปัญหาน้ำท่วม

ประเทศ                  ปี *  ความเสียหาย*  ระยะฟื้นตัว

(ล้านUSD) (เดือน)

ญี่ปุ่น                    2543     1,450         0
(นาโงย่า)
จีน                     2546    10,090         0
(ฟูเจียน,กวางตง,ฮูนาน)
อินเดีย                  2548     5,000         0
(มุมไบ)
สหรัฐฯ                  2548   125,000         3
(นิวออร์ลีนส์,หลุยส์เซียน่า)
อินโดนีเซีย               2550     1,700         0
(จากาตาร์)
พม่า                    2551     4,000         4
(ตะวันตกเฉียงใต้และย่างกุ้ง)
จีน                     2553    19,100         0
(28 จังหวัดตอนใต้และตะวันออก)
ออสเตรเลีย           2553/54     5,000         0
(ควีนสแลนด์,วิคตอเรีย)

หมายเหตุ: ระยะเวลาฟื้นตัววัดจากจำนวนเดือนที่จำนวนนักท่องเที่ยวหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลกลับเข้าสู่ระดับก่อนน้ำท่วม ที่มา: *Kron (2011) และค้านวณโดยผู้เขียน

ระบบสาธารณูปโภค ร่วมกับภาวะน้ำท่วมขัง จนได้รับความเสียหายมากถึง 125,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ต้องใช้เวลาฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังปรับฤดูกาลนาน 3 เดือน ขณะที่เมียนมาร์หรือพม่า ที่เมืองชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ ที่เกิดน้ำท่วมจากพายุไซโคลนนาร์กิส (Cyclone Nargis) ต้องใช้เวลานานถึง 4 เดือนในการฟื้นตัว ซึ่งนานกว่ากรณีข้างต้น แม้จะมีความเสียหายน้อยกว่าหากพิจารณาทั้งในรูปตัวเงิน และความรุนแรงของพายุก็ตาม จึงมีความเป็นไปได้ว่า ความสามารถในการจัดการกับภัยพิบัติภายในของรัฐบาลพม่ายังไม่ดีมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วอย่างสหรัฐฯ

สำหรับกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ของไทยครั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะฟื้นตัวทันทีในเดือนถัดไปหลังน้ำลดเช่นเดียวกับอินเดีย น้ำท่วมของทั้งสองกรณีเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดพายุหรือวาตภัยร่วมด้วย จึงไม่ได้รับความเสียหายรุนแรงต่อแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นทุนทางธรรมชาติ ที่เป็นจุดแข็งของไทย และสิ่งก่อสร้าง หรือจะรวมเรียกว่า Stock ของประเทศนั่นเอง และระดับความสำคัญของเมืองที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เมืองมุมไบและกรุงเทพฯ ต่างมีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจและท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน จึงน่าจะสะท้อนระดับความเสียหายที่เทียบเคียงกันได้ระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ หากเทียบกับการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของไทยที่แม้ว่า จะไม่มีน้ำท่วมครั้งใดรุนแรงเท่าครั้งนี้ก็ตาม แต่หากพิจารณาในส่วนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ เชียงใหม่ หรือภาคใต้ ที่เกิดน้ำท่วมในปี 2548 และ 2554 ตามลำดับ พบว่า หลังน้ำลดนักท่องเที่ยวเหล่านี้จะกลับมาท่องเที่ยวทันทีในเดือนถัดไปเช่นกัน (ตาราง 2) เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็น่าจะเป็นสัญญาณที่สนับสนุนการวิเคราะห์ข้างต้นว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลังน้ำลด

ตาราง 2 การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทยหลังประสบปัญหาน้ำท่วม
                    ปี          ระยะฟื้นตัว

(เดือน)

ตาก                2547           0
เชียงใหม่            2548           0
5 จังหวัดในเขต       2553           0
ภาคเหนือตอนล่าง
21 จังหวัด           2553           0
ภาคกลางและอีสาน
ภาคใต้              2554           0

หมายเหตุ: ระยะเวลาฟื้นตัววัดจากจำนวนเดือนที่จ้านวนนักท่องเที่ยวหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลกลับเข้าสู่ระดับก่อนน้ำท่วม ที่มา: รวบรวมโดยผู้เขียน

กล่าวโดยสรุปคือ นำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อ Stock ของสิ่งก่อสร้างหรือทุนทางธรรมชาติ จึงกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวเพียงชั่วคราว และคาดว่า มีความเป็นไปได้มากที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาเที่ยวไทยเท่ากับระดับก่อนน้ำท่วม (หลังจากขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้ว)ในเดือนถัดไปทันทีหลังน้ำลด

3. น้ำท่วมส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว เพียงใด

ประเด็นที่สร้างความกังวลต่อผู้กำหนดนโยบายอีกประการหนึ่งคือ Sentiment ของนักท่องเที่ยวต่อเหตุการณ์นี้เป็นอย่างไร พบว่า ในเดือนพฤศจิกายนที่เป็นช่วงที่มวลน้ารุกเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ พบว่า ประเทศต่างๆ ได้ออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวซึ่งมีระดับค้าเตือนที่แตกต่างกัน (ตาราง 3) กล่าวคือ ประเทศส่วนใหญ่เตือนให้ "นักท่องเที่ยวพิจารณาความจำเป็นในการเดินทาง" (ระดับ 4) ซึ่งถือว่า เป็นคำเตือนที่รุนแรงระดับหนึ่ง แต่ยังรุนแรงน้อยกว่ากรณีความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ประเทศส่วนใหญ่เตือนนักท่องเที่ยวว่า "ไม่ควรเดินทาง" (ระดับ 5)

ตาราง 3 ระดับการแจ้งเตือนภัยการเดินทางเข้า ประเทศไทยของประเทศต่างๆ
ระดับ                           จำนวนประเทศ

อุทกภัย การเมือง

พ.ย.54 พ.ค.53

5 : Do not travel              5        19
4 : Reconsider your           29        15
need to travel
3 : High Degree of             3         7
Caution
2 : Exercise Caution           5         6
    รวม                       42        47
นักท่องเที่ยว (%YOY)             6.3      -3.8

(ต.ค.-พ.ย.)(มี.ค.-พ.ค.)

หมายเหตุ: 1/ระดับการแจ้งเตือนภัยของรัฐบาลประเทศต่างๆ เป็นข้อมูล ณ วันที่ 14 พ.ย. 2554 และ 24 พ.ค. 2553 ที่มา: กองกลยุทธ์การตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อคำเตือนกรณีน้ำท่วมของนักท่องเที่ยวระหว่างเดือนตุลาคม และพฤศจิกายนที่ยังทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน (แม้จะไม่สูงอย่างที่คาดหวังก็ตาม) เทียบกับปัญหาการเมืองที่ทำให้นักท่องเที่ยวระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 โดยรวมหดตัวถึงร้อยละ 3.8 สะท้อนมุมมองของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนหนึ่งที่น่าจะเห็นว่า น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่มีผลยืดเยื้อและผลในเชิงจิตวิทยาในลักษณะที่จะสร้างความวิตกในเรื่องความปลอดภัยเมื่อเทียบกับปัญหาการก่อการร้าย หรือความวุ่นวายทางการเมือง จึงไม่กระทบบรรยากาศในการท่องเที่ยวมากนัก

4. แนวทางลดทอนผลกระทบจากความตระหนกของนักท่องเที่ยวได้อย่างไร

น้ำท่วมครั้งนี้ สิ่งที่ถูกกล่าวถึงกันมากคือ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมเป็นอย่างไร?" ซึ่งสะท้อนช่องว่างในการสื่อสารของภาครัฐ และเป็นประเด็นที่เปราะบางต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และถึงแม้ต่อมารัฐบาลจะแก้ไขโดยการออกแถลงการณ์เป็นประจำ แต่ความเชื่อมั่นเหล่านี้ได้สูญไปจนยากที่จะเรียกกลับคืนมาได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยกว่าที่คาดหวังไว้พอสมควร

ปัจจุบันบางประเทศที่ให้ความสำคัญกับรายได้จากการท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับเรื่อง "การสื่อสาร" มากขึ้น เนื่องจากหลายครั้งสื่อต่างๆ มักจะใช้ภาพความเสียหายเดิมมาเผยแพร่ จนก่อให้เกิดความกังวลแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็น ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงนำ "การสื่อสารเชิงรุก" ที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาใช้ เพื่อช่วยลดความตระหนกของนักท่องเที่ยวเหล่านี้ในช่วงที่เกิดวิกฤติ ซึ่งท้าให้ความเสียหายลดลงในที่สุด

ตัวอย่างสำคัญคือ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบกับภัยพิบัติบ่อยครั้ง ดังนั้น หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวจึงจัดตั้งคณะทำงานเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวอย่างถูกต้อง รวดเร็วที่สุดในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง*(4) (รายละเอียดดูใน BOX) และหากย้อนกลับมาพิจารณากรณีน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมานี้ ถ้ารัฐบาลนำรูปแบบการสื่อสารเช่นนี้มาใช้ก็น่าจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวไม่ลดลงมากเหมือนเส้นสีแดงใน

ดังนั้น การสื่อสารเชิงรุก เพื่อลดทอนผลกระทบของวิกฤติใด ๆ ที่เข้ามามีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวควรนำมาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักท่องเที่ยว และเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้การท่องเที่ยวไทยสามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพ นอกเหนือจากความจำเป็นที่ต้องเร่งกำจัดจุดอ่อนของการท่องเที่ยวไทยตามที่เคยกล่าวไว้ในบทความนี้ฉบับที่ 58

5. สรุปและข้อเสนอแนะ

น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ได้สร้างความเสียหายแก่การท่องเที่ยวไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างไรก็ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำลายสิ่งก่อสร้าง และทุนทางธรรมชาติ รวมถึงบรรยากาศการท่องเที่ยว มากนัก จึงคาดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่นักท่องเที่ยวต่างชาติหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนน้ำท่วมได้ทันทีในเดือนถัดไปหลังน้ำลด อย่างไรก็ดี น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลกตลอดช่วง 2 ทศวรรษ ที่ผ่านมา ดังนั้น การลดทอนความสูญเสียจากความตระหนกของนักท่องเที่ยวระหว่างเกิดวิกฤติ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกัน เพราะการท่องเที่ยวต้องอาศัยความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังนั้น "การสื่อสารเชิงรุก" ที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับรายได้ท่องเที่ยวน้ามาใช้และให้ประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์

*(1) ชินวัชร์ สุรัสวดี, "เทียบข้อมูลฝนจากดาวเทียม หาสาเหตุวิกฤติ น้าท่วม 2554", มติชนออนไลน์, 1 พฤศจิกายน 2554

*(2) สุรัช แทนบุญ และทศพล อภัยทาน, "ผลกระทบของน้าท่วมต่อเศรษฐกิจและศักยภาพการผลิต", FAQ ฉบับที่ 60, 26 ธันวาคม 2554.

*(3) พื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วมขังประกอบด้วยจังหวัดกรุงเทพมหานคร กาฬสินธุ์ จันทบุรี ชลบุรี ตาก นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี อยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลพบุรี ล้าปาง เลย สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี (รวบข้อมูลจากศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา)

*(4) Doone Robertson, Ian Kean, and Stewart Moore, 2006. “Tourism Risk Management: An Authoritive Guide to Managing Crises in Tourism.”

BOX : แนวทางการลดทอนผลกระทบด้านการท่องเที่ยว จากภัยพิบัติของออสเตรเลีย

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ประสบกับภัยพิบัติบ่อยครั้ง จึงพยายามลดทอนผลกระทบจากภัยพิบัติผ่านการบริหารจัดการ เช่น การจัดการวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาคการท่องเที่ยวจากพายุไซโคลนทางตอนเหนือของรัฐ ควีนส์แลนด์ที่บ่อยครั้งสื่อต่างๆมักจะใช้ภาพความเสียหายเดิมมาเผยแพร่ แม้พายุไซโคลนที่พึงก่อตัวรอบใหม่จะอยู่ห่างไปในทะเลหลายร้อยกิโลเมตรและไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความตระหนกแก่นักท่องเที่ยวจนบางส่วนงดการเดินทางมาท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวของควีนส์แลนด์ จึงแก้ปัญหานี้โดยได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวที่ถูกต้องเรื่องข้อมูลของพายุและการรายงานผลกระทบของภัยพิบัติในภูมิภาคต่อการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว

ตัวอย่างภาคปฏิบัติคือ เมื่อพายุไซโคลนสตีฟ (Cyclone Steve) ที่เคลื่อนเข้ามาในเมืองเวลา 13.00 น. ซึ่งคณะท้างานสามารถเผยแพร่ข่าวสารผ่านทางโทรสารและอีเมลหลังจากพายุได้เคลื่อนผ่านเมืองไปในเวลา 19.00 น. และเจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจความเสียหายและส่งข้อมูลให้องค์กรการท่องเที่ยวแถลงข่าวอย่างเป็นทางการและส่งข่าวไปยังประเทศต่างๆ ว่า แหล่งท่องเที่ยวไม่ได้รับผลกระทบและพื้นที่ชายฝั่งสำคัญยังคงเปิดดำเนินการตามปกติ ณ เวลา 22.00 น. และในเช้ารุ่งขึ้นการท่องเที่ยวของควีนแลนด์ได้ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเพื่อสร้างความมั่นใจกับนักท่องเที่ยวว่ากิจกรรมการท่องเที่ยวยังคงด้าเนินไปได้อย่างปกติ กรณีศึกษาของออสเตรเลียสะท้อนการสื่อสารเชิงรุกที่สามารถกระจายข่าวสารได้ทันทีและถูกต้องตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และให้ผลเป็นที่ประจักษ์

ที่มา: Robertson,Kean,and Moore (2006)

บทความนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะความช่วยเหลือและคำแนะนำจากคุณปฤษันต์ จันทน์หอม คุณศุภโชค ถาวรไกรวงศ์ และคุณสุรัช แทนบุญ ผู้เขียนขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้

Contact authors :

ณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ

สายนโยบายการเงิน NutthikV@bot.or.th

ไพลิน ผลิตวานนท์

เศรษฐกร ทีมวิเคราะห์ดุลชำระเงิน

สายนโยบายการเงิน Pailinp@bot.or.th

References

Abhas Jha et al., 2011. "Five Feet High and Rising: Cities and Flooding in the 21st century." The World Bank.

Doone Robertson, Ian Kean, and Stewart Moore, 2006. "Tourism Risk Management: An Authoritive Guide to Managing Crises in Tourism."APEC International Centre for Sustainable Tourism.

Wolfgang Kron, 2011. "The costliest floods in the 21 st century"

Supriyo Nandy and Covenar Moksha, "Flood in India: Disaster and Management."

ชินวัชร์ สุรัสวดี. "เทียบข้อมูลฝนจากดาวเทียม หาสาเหตุวิกฤตน้าท่วม 2554", มติชนออนไลน์, 1 พฤศจิกายน 2554

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย."ภาวะน้าท่วมกรุงเทพฯ...กระทบท่องเที่ยว : คาดสูญรายได้จากต่างชาติ 1.5-2.5 หมื่นล้านบาท" กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2269 ,2 พฤศจิกายน 2554

สุรัช แทนบุญ และทศพล อภัยทาน, "ผลกระทบของน้าท่วมต่อเศรษฐกิจและศักยภาพการผลิต", FAQ ฉบับที่ 60, 26 ธันวาคม 2554.

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ