แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 31, 2012 16:48 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 46/2555

ภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2555 ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น สะท้อนจากการหดตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและการผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายภาคเอกชนยังขยายตัวได้ทั้งการบริโภคและการลงทุน ประกอบกับได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและภาวะการเงินที่เอื้ออำนวย ส่งผลใหการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อขายในประเทศยังคงขยายตัว ซึ่งการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ยังอยูในเกณฑดีนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ช่วยรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ในระดับหนึ่ง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยูในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกมากขึ้น โดยการส่งออกหดตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีกอน จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวตามอุปสงค์ในตลาดโลก โดยเฉพาะหลอดอิเล็กทรอนิกส์และสวนประกอบ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องตามปริมาณการส่งออกข้าวที่หดตัว เนื่องจากราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง และราคายางพาราที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี การส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

การส่งออกที่ลดลงส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมหดตัวตามไปด้วย โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 5.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการลดลงของการผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ อย่างไรก็ดี การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศยังขยายตัวได้ ตามการผลิตยานยนต์จากการเร่งส่งมอบให้ลูกค้าตามคำสั่งซื้อรถยนต์ที่ยังอยู่ในระดับสูง และการผลิตเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังมีอยู่

สำหรับรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากด้านผลผลิตเป็นสำคัญ โดยผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 15.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตข้าวจากปริมาณน้ำที่เอื้อต่อการเพาะปลูก และการขยายตัวของผลผลิตยางพารา ปศุสัตว และผลไม้ อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าเกษตรกรรมยังคงหดตัวร้อยละ 7.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคายางพาราที่หดตัวจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลงเป็นสำคัญ

แม้เศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ามากขึ้น แต่การส่งออกบริการด้านการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 1.8 ลานคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจีน รัสเซีย และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวมาเลเซียยังลดลงจากความกังวลตอเหตุการณ์ระเบิดในจังหวัดสงขลาเมื่อเดือนมีนาคม ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางที่ลดลงต่อเนื่องจากเหตุการณความไม่สงบในภูมิภาค

สำหรับการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวดี โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการจัดเก็บภาษีมูลคาเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวสูง และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากความต้องการสะสมในช่วงก่อนหน้าและมาตรการคืนเงินภาษีรถยนตคันแรก สวนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 19.5 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ขยายตัวจากการลงทุนซื้อรถยนต์เชิงพาณิชยและ การนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ และการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ขยายตัวตามการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมในภาคกลาง เหนือ และอีสาน โดยการลงทุนได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อเศรษฐกิจในประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดีและภาวะการเงินที่เอื้ออำนวย

การใช้จ่ายภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นประกอบกับการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความตองการ ในประเทศที่ขยายตัว ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และชิ้นสวนรถยนต์

ภาครัฐยังมีบทบาทกระตุ้นเศรษฐกิจ สะท้อนจากรายจ่ายรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยเฉพาะรายจ่ายประจำในหมวดเงินโอน การซื้อสินค้าและบริการ และการเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อฟื้นฟูและป้องกันอุทกภัย สำหรับรายได้นำส่งอยู่ในเกณฑ์ดี จากภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าที่ขยายตัวสอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนและการนำเข้า ทั้งนี้ รายจ่ายที่ขยายตัวมากกว่ารายได้ ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 48.9 พันล้านบาท

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานยังอยูในระดับต่ำ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยูที่ร้อยละ 2.73 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากราคาอาหารสดที่เร่งขึ้นตามราคาในหมวดผักและผลไม้ สำหรับการคาดการณ์ เงินเฟ้อยังทรงตัวใกลเคียงกับเดือนก่อน ด้านเสถียรภาพดานต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลการชำระเงินเกินดุลตามการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงและการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ขอมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648

e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ