แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนสิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 28, 2012 10:45 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 49/2555

ภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าและการผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกหดตัวมากขึ้น ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกลดลง สะท้อนว่าการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากปญหาเศรษฐกิจโลกต่อไป อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้การลงทุนภาคเอกชนเริ่มชะลอตัว ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลงทุนเพื่อทดแทนความเสียหายจากอุทกภัยลดลง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟออยู่ในระดับต่ำ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยการส่งออกหดตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวตามการชะลอตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก โดยเฉพาะการส่งออกหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวตามปริมาณการส่งออกข้าวเนื่องจากราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง และราคายางพาราที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี การส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

การส่งออกที่หดตัวมากขึ้นส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากขึ้น สะท้อนจาก ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ 11.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ และหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ ขณะที่การผลิตของอุตสาหกรรมที่ผลิตทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อส่งออกยังคงขยายตัวดี ตามการผลิตรถยนต์เพื่อเร่ง ส่งมอบให้ลูกค้า และการผลิตเครื่องใช้ไฟฟาเพื่อตอบสนองอุปสงค์ในประเทศ

สำหรับรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 3.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 19.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตข้าวจากปริมาณน้ำ ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ประกอบกับผลผลิตในปีก่อนต่ำกว่าปกติ เนื่องจากยังมีผลของมาตรการรณรงค์ของทางการให้เกษตรกรงดทำนาปรังรอบที่ 2 สำหรับราคาสินค้าเกษตรยังหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคายางพาราที่หดตัวจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลงและผลของฐานสูง ในปีก่อน

ภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 1.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากทุกภูมิภาค โดยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่หดตัวเมื่อเดือนก่อนกลับมาขยายตัวหลังจากช่วงเดือนรอมฎอนสิ้นสุดลง ขณะที่นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย มีจำนวนเพิ่มขึ้น สะท้อนว่านักท่องเที่ยวเริ่มคลายความกังวลจากเหตุการณ์ระเบิดที่จังหวัดสงขลาเมื่อ ปลายเดือนมีนาคม

การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 ตามปริมาณการจำหน่ายยานยนต์ที่ยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจาก ผลของมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการเร่งลงทุนเพื่อทดแทนความเสียหายจากอุทกภัยเริ่มหมดไป โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 ชะลอลงตาม การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน

การส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมากขึ้นประกอบกับการลงทุนที่ขยายตัวชะลอลง ทำให้การนำเข้าหดตัวร้อยละ 11 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการลดลงของการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สะท้อนว่าการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากปญหาเศรษฐกิจโลกต่อไป

ภาครัฐ รายได้นำส่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสำคัญ ขณะที่ การใช้จ่ายทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนยังคงมีต่อเนื่อง ซึ่งรายจ่ายที่มากกว่ารายได้ ส่งผลให้ดุลเงิน ในงบประมาณขาดดุล แต่เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจากเงินฝากของส่วนราชการและเงินกู้ ที่ยังรอการเบิกจ่าย ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 1.7 พันล้านบาท

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟอทั่วไปชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.69 ตามการชะลอลงของราคาอาหารสด และอัตราเงินเฟอพื้นฐาน ที่ชะลอลงจากราคาอาหารสำเร็จรูป ขณะที่ราคาพลังงานเร่งขึ้นจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ด้านดุลการชำระเงินเกินดุล ตามการเกินดุลการค้าจากการนำเข้าที่หดตัว และการไหลเข้าสุทธิของเงินทุนเคลื่อนย้ายตามการไหลกลับของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศของคนไทย และการซื้อตราสารหนี้และตราสารทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648 e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ