รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนตุลาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 26, 2012 16:10 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 55/2555

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้เผยแพร่ รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนตุลาคม 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดาเนินนโยบายการเงินของ ธปท. สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้

1. ทิศทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวเล็กน้อยในช่วงที่เหลือของปี โดยภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ดี อุปสงค์ภายในประเทศแม้จะชะลอลงจากที่ เร่งตัวสูงในช่วงที่ผ่านมาแต่ก็ยังมีแรงส่งต่อเนื่องให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงศักยภาพต่อไป

อุปสงค์ภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวกลับสู่แนวโน้มปกติ หลังจากปัจจัยบวกชั่วคราวที่สนับสนุนการเร่งตัวมากเป็นพิเศษในช่วงครึ่งปีแรกหมดไป โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอลงกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากได้เร่งลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงก่อนหน้า เป็นผลให้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้ง การนาเข้าสินค้าทุนชะลอตัวมากกว่าคาดในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังมีแนวโน้มที่ดีเนื่องจากภาคธุรกิจยังมีความเชื่อมั่นและมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าลงทุนตามแผนระยะยาว ความต้องการลงทุนในไทยของนักลงทุนต่างชาติยังมีต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากข้อได้เปรียบของไทยในเรื่องระบบสาธารณูปโภค แรงงานที่มีฝืมือ และเครือข่ายการผลิตที่เข้มแข็งโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน สาหรับการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอลงบ้างในช่วงที่เหลือของปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากความต้องการบริโภคที่อั้นมาจากช่วงอุทกภัยได้รับการตอบสนองไปมากแล้ว แต่แรงสนับสนุนทั้งจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐที่มีผลต่อเนื่อง แนวโน้มรายได้ที่อยู่ในเกณฑ์ดี ตลอดจนภาวะอัตราดอกเบี้ยและสินเชื่อที่เอื้ออานวย ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญของเศรษฐกิจไทยได้ต่อเนื่อง

ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้นในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มอ่อนแอลงโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คาสั่งซื้อ จากต่างประเทศเริ่มลดลง ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มหดตัว ส่วนหนึ่งจากปริมาณการส่งออกข้าวที่ ลดลงมากเนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งจากผลของโครงการรับจานาข้าว คณะกรรมการฯ ประเมินว่าความอ่อนแอของภาคการส่งออกอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคการผลิต ความเชื่อมั่น และการใช้จ่ายภาคเอกชนมากขึ้นในระยะต่อไป ส่วนการนาเข้าสินค้าลดลงตามการนาเข้าวัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง รวมทั้ง สินค้าทุนที่ชะลอตัว ซึ่งสะท้อนถึงการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการที่หมดลง

เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรและสหรัฐฯ มีแรงส่งอ่อนแอและคาดว่าจะฟื้นตัวได้ล่าช้า ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมากกว่าคาด ทั้งนี้ มาตรการผ่อนคลายทางการเงินในยุโรปและสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นได้บ้างในระยะสั้น แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ สาหรับความเสี่ยงเพิ่มเติมจากปัจจัยในประเทศมีไม่มากนัก แม้การใช้จ่ายของภาครัฐตามแผนการบริหารจัดการน้าและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่

2. แรงกดดันเงินเฟ้อ

แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงจากรายงานครั้งก่อน แรงกดดันด้านอุปสงค์แผ่วลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกมากขึ้นและการลงทุนฟื้นฟูความเสียหายหลังอุทกภัยที่หมดลงเร็วกว่าคาด อย่างไรก็ดี แรงกดดันด้านอุปสงค์จะยังมีอยู่บ้างในระยะต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับใกล้ศักยภาพ แรงกดดันด้านต้นทุนมีแนวโน้มแผ่วลงเล็กน้อยเช่นกัน ส่วนหนึ่งจากราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่คาดว่าในปี 2556 จะชะลอลงจากที่ประเมินไว้เดิม ตามอุปสงค์โลกที่อ่อนแอลงแต่ในภาพรวมราคาน้ามันดิบในตลาดโลกยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงปัจจุบัน จากปัจจัยด้านอุปทาน ทั้งในส่วนของความขัดแย้งในตะวันออกกลางและกาลังการผลิตส่วนเกินของ OPEC ที่ทรงตัวในระดับต่า ขณะที่แรงกดดันด้านต้นทุนในส่วนอื่นทั้งจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาสินค้าเกษตรกลุ่มอาหารสดยังไม่น่ากังวล

คณะกรรมการฯ ได้ปรับข้อสมมติให้ภาครัฐยืดเวลาการกลับมาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ามันเชื้อเพลิงออกไปตลอดช่วงประมาณการเพื่อช่วยดูแลราคาพลังงานและต้นทุนค่าขนส่ง จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มกลับมาจัดเก็บในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทาให้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีหน้าปรับลดลงจากครั้งก่อนค่อนข้างมาก

3. ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

คณะกรรมการฯ คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 ไว้ที่ร้อยละ 5.7 โดยประเมินว่าอุปสงค์ในประเทศยังมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน ซึ่งจะช่วยรองรับความเสี่ยงและชดเชยผลจากเศรษฐกิจโลกได้ระดับหนึ่ง ส่วนในปี 2556 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ลดลงจากรายงานครั้งก่อน จากเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลงและคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศมากกว่าที่ประเมินไว้ รวมทั้ง มีผลจากการใช้จ่ายงบลงทุนของภาครัฐตามแผนการบริหารจัดการน้าที่ล่าช้ากว่าคาดคณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงด้านต่าจากเศรษฐกิจโลกจะยังมีสูงในระยะข้างหน้า ทาให้โดยรวมแล้วความเสี่ยงด้านต่าต่อเศรษฐกิจไทยมีมากกว่าด้านสูง แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงเบ้ลงตลอดช่วงประมาณการ

สรุปผลประมาณการ

ร้อยละต่อปี                     2554*     2555     2556
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ       0.1       5.7      4.6
                                       (5.7)    (5.0)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                3.8       3.0      2.8
                                       (2.9)    (3.4)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน               2.4       2.1      1.7
                                       (2.2)    (1.9)

หมายเหตุ: * ข้อมูลจริง

( ) รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับกรกาคม 2555

ที่มา: สานักงานคณะกรรมการพั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและประมาณการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

คณะกรรมการฯ ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ลงจากรายงานครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการปรับข้อสมมติให้ภาครัฐชะลอการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ามันเชื้อเพลิงออกไปตลอดช่วงประมาณการ รวมทั้ง ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่ชะลอลง คณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงด้านต่าต่อเงินเฟ้อมีมากกว่า ด้านสูง จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกเป็นสาคัญ แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของประมาณการอัตราเงินเฟ้อจึงเบ้ลงตลอดช่วงประมาณการ

4. การดาเนินนโยบายการเงิน

ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555 คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยง ในระดับสูง โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ช้า ส่วนเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรเข้าสู่ภาวะถดถอยและมีแนวโน้มที่จะอ่อนแอลงอีกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจจีนและเอเชียในภาพรวมได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น สาหรับเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีกว่าคาดในไตรมาสที่ 2 โดยการบริโภคและ การลงทุนยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อปรับลดลงและยังมีแนวโน้มอยู่ในเป้าหมาย ในภาพรวมคณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่อุปสงค์ในประเทศยังอยู่ในระดับสูงและภาวะการเงินยังอยู่ในระดับผ่อนปรนเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้ จึงมีมติ 3 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี โดย 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 ต่อปี และมีกรรมการฯ 2 ท่านไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้เนื่องจากติดภารกิจต่างประเทศ

ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2555 คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจโลกในภาพรวมยังอ่อนแอ แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีสัญญาณที่ดีขึ้นและการผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศหลักจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกบ้างก็ตาม โดยที่ความเสี่ยงด้านการคลังของสหรัฐฯ และการแก้ไขวิกฤต หนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรยังเป็นความเสี่ยงที่สาคัญในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยในภาพรวมขยายตัวได้ต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี โดยการใช้จ่ายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ แต่ชะลอลงหลังจากการลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายหมดไป ขณะที่ภาคการส่งออกและการผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น ซึ่งความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลกที่มีอยู่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกในระยะข้างหน้า ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับที่รับได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าในภาวะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่า ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังอ่อนแอและมีความเสี่ยงสูง นโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกและรักษาแรงส่งของอุปสงค์ ในประเทศที่อาจอ่อนแรงลงได้ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.00 เป็นร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยมี 2 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 3.00 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าแรงส่งของเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรอดูความชัดเจนในระยะต่อไปได้

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: บดินทร์ ศิวิลัย

โทร. 0 2356 7876 E-mail: bodinc@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ