สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนพฤศจิกายน ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 3, 2013 11:58 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 1/2556

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2555 เศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการผลิต ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้นมาก ทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทยและภาคใต้ชายแดน ประกอบกับรายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นจากผลผลิตที่ขยายตัวดี และการใช้จ่ายของภาครัฐที่สูงขึ้น ทาให้การอุปโภคบริโภคและการลงทุนขยายตัวเช่นกัน สอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น สาหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าสาคัญปรับตัวดีขึ้น แม้ยังคงลดลงเนื่องจากผลทางด้านราคา

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ผลผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ตามผลผลิตยางและปาล์มที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาพืชผลเกษตรลดลงร้อยละ 12.5 จากราคายางที่ลดลงตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาปาล์มที่ลดลงจากผลผลิตมากและสต๊อกที่อยู่ในระดับสูง ทาให้รายได้ของเกษตรกรจากการขายพืชผล ลดลงร้อยละ 6.2 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ลดลงถึงร้อยละ 19.1 ส่วนกุ้งจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตและราคา

ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ตามอุตสาหกรรมยางที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เนื่องจากจีนและมาเลเซียสั่งซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง และถุงมือยาง เพิ่มขึ้นเช่นกันจากการที่ตลาดหลักที่สาคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังมีความต้องการซื้อ ขณะที่ อุตสาหกรรมไม้ยางพาราและน้ามันปาล์มดิบ การผลิตยังคงลดลง

สาหรับการท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้นมาก ทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ชายแดน จากนักท่องเที่ยวเอเชีย เป็นสาคัญ โดยเฉพาะมาเลเซีย จีน และรัสเซีย ทาให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ส่งผลให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 62.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีอัตราเข้าพักร้อยละ 57.9

จากรายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นจากผลผลิตที่ขยายตัวดี และการใช้จ่ายของภาครัฐที่สูงขึ้น ทาให้การลงทุนขยายตัว โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.9 ตามการเพิ่มขึ้นของทั้งยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล พื้นที่ก่อสร้าง รวมทั้งการนาเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ส่วนการอุปโภคบริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะหมวดรถยนต์ยังคงเร่งตัวในอัตราสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนเนื่องจากมีการเร่งส่งมอบรถในโครงการรถคันแรก

สาหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แม้ยังคงลดลงร้อยละ 6.2 จากผลทางด้านราคา เนื่องจากได้รับผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าส่งออกยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูปลดลง ขณะที่มูลค่าส่งออกอาหารกระป๋องและถุงมือยางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สาหรับมูลค่าการนาเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ร้อยละ 44.7 ตามมูลค่าการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์ก่อสร้าง และน้ามันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการนาเข้าสัตว์น้าแช่แข็งลดลง

ทางด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.5 จากการเบิกจ่ายเงินของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นสาคัญส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.5 ชะลอลงต่อเนื่องตามการชะลอลงของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนาเข้า นอกจากนี้ภาษีสุราและภาษีเครื่องดื่มมีการจัดเก็บลดลง

การจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน จะเห็นได้จากแรงงานที่เข้าโครงการประกันสังคมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.0 ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานลดลงมาก โดยอัตราการว่างงาน ณ เดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7

ทางด้านเงินฝากในเดือนนี้คาดว่าขยายตัวร้อยละ 12.5 ส่วนเงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 18.7 จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ รถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อเร่งตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภค

ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.01 ชะลอลงตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะผักและผลไม้ เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก ประกอบกับการลดลงของราคาเนื้อสัตว์สด ทั้งเนื้อหมู เป็ด-ไก่ และไข่ จากภาวะผลผลิตล้นตลาด ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันเชื้อเพลิง ค่าน้าประปา และค่าไฟฟ้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0-7427-2000 ต่อ 4716

e-mail : Puangpeu@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ