เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนพฤษภาคม ปี 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 3, 2013 11:41 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 12/2556

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนพฤษภาคม 2556 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรที่ชะลอลง ประกอบกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว นอกจากนี้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับลดลง ทำให้รายได้เกษตรกรและรายได้จากการส่งออกลดลง ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคชะลอลง และการลงทุนหดตัวส่วนเงินให้สินเชื่อทรงตัว อย่างไรก็ดี ยังมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ชะลอจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในเดือนก่อน จากผลผลิตกุ้งขาวที่หดตัวถึงร้อยละ 58.4 เนื่องจากผลกระทบจากโรคระบาดยังไม่คลี่คลาย ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 15.5 จากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่ยังได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าและสต็อกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 11.7 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ราคาสินค้าเกษตรจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากราคายางในตลาดล่วงหน้า TOCOM และตลาดล่วงหน้าน้ำมันปาล์มของมาเลเซียประกอบกับเดือนนี้ภาครัฐเริ่มรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบรอบสอง ตามโครงการพยุงราคาน้ำมันปาล์ม

ขณะเดียวกันผลจากด้านราคาสินค้าเกษตรที่ยังต่าและการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 13.3 โดยเฉพาะสัตว์น้ำยาง ถุงมือยาง และอาหารบรรจุกระป๋อง ลดลงร้อยละ 29.7 19.9 16.3 และ 6.5 ตามลำดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อส่งออกหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ตามการผลิตลดลงของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็น-แช่แข็ง อาหารทะเลบรรจุกระป๋องถุงมือยาง ส่วนการผลิตยางแปรรูปชะลอลง

ด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ลดลง เห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และ 5.3 ชะลอจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.2 และ 48.7 ในเดือนก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.9 โดยเฉพาะการลงทุนด้านการก่อสร้างที่ลดความร้อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด

การชะลอตัวของการส่งมอบรถยนต์คันแรกและผลจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันปรับลดลงส่งผลให้เงินให้สินเชื่อในเดือนนี้ทรงตัว อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อขยายตัวมากกว่าการขยายตัวของเงินฝากส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงแข่งขันระดมเงินฝากเพื่อรักษาสภาพคล่อง และเพื่อสร้างฐานลูกค้าเงินฝากไว้กับธนาคาร

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 2.8 ตามการเบิกจ่ายรายจ่ายประจาเป็นสำคัญ และรายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลงร้อยละ 6.4 ตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีจากเดิมที่จัดเก็บร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23

อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 29.3 เป็นผลจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีน มาเลเซียและรัสเซีย รวมทั้งมีการจัดประชุมและงานสัมมนาระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้อัตราเข้าพักเพิ่มเป็นร้อยละ 56.2 สูงกว่าร้อยละ 51.1 ในเดือนเดียวกันปีก่อน

ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.07 ชะลอลงต่อเนื่อง ตามการชะลอลงในดัชนีราคาเกือบทุกหมวดยกเว้นหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่ราคาน้ำมันลดลงมากตามราคาตลาดโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.95 ชะลอจากร้อยละ1.10 ในเดือนก่อน ต่ำสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2553

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค โทรศัพท์ 0-7427-2000 ต่อ 4716

e-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ