บทความ: การปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์และนัยต่อเสถียรภาพด้านต่างประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 31, 2013 15:11 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้ใช้ข้อมูลสถิติการเงินและสถิติภาคต่างประเทศอธิบายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างการเพิ่มขึ้นของหนี้เงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ กับความต้องการสินเชื่อในประเทศและการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์รับซื้อดอลลาร์สรอ. ล่วงหน้าสุทธิจากลูกค้าที่ส่วนใหญ่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากเงินบาทที่แข็งค่า ทำให้ธนาคารพาณิชย์ มีฐานะเป็น Net long USD forward จากข้อมูลพบว่า Net long forward position กับเงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์มีความสัมพันธ์ทางสถิติเพิ่มมากขึ้น และมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าการกู้จากต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ต่อให้แก่ภาคธุรกิจ

การเพิ่มขึ้นของเงินกู้และหนี้ต่างประเทศโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงทั้งในด้านสภาพคล่องและความสามารถในการชาระหนี้ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกิดจากความต้องการ USD เพื่อมา match กับธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกเป็นหลัก ไม่ใช่กู้มาเพื่อใช้เป็นสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจ ดังนั้นจึงช่วยลดความกังวลในเรื่อง Currency mistmatch และ Maturity mismatch และการกู้ดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากสาขา ธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศที่กู้จากแม่ จึงช่วยลดผลกระทบจากปัญหาของ Sudden stop ของเงินทุนได้ระดับหนึ่ง

2003 เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งออกรวมทั้งผู้ที่ออกไปลงทุนต่างประเทศเร่งป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ส่งผลให้ธุรกรรมสัญญาซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสูงขึ้น แม้ในช่วงหลังปี 2010 ที่ดุลการค้าเกินดุลลดลง แต่ดุลการชาระเงิน (Balance of Payment) ยังคงเกินดุลเป็นส่วนใหญ่เพราะมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในรูปเงินลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุนและเงินกู้ โดยยอดรวมเงินกู้ต่างประเทศในช่วง 2010 - พ.ค. 2013 อยู่ที่ 35 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าจากยอดรวมในช่วงปี 2006—2009 ซี่งอยู่ที่ 3.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดย ธพ. เป็นผู้กู้สำคัญโดยเฉพาะการกู้ระยะสั้น จึงน่าสนใจว่าทำไม ธพ. จึงกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศมากขึ้น

การเพิ่มขึ้นของเงินกู้สร้างความกังวลในเรื่องความเปราะบางของเสถียรภาพด้านต่างประเทศและเสถียรภาพการเงิน ซึ่งที่ผ่านมามีงานวิเคราะห์หลายชิ้นรวมทั้งของ IMF ได้อธิบายถึงสาเหตุของการกู้จากต่างประเทศว่า เป็นผลจากการที่ ธพ. ต้องการสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยงค่าเงิน เนื่องจาก ธพ. ได้ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากลูกค้า ในบทความนี้ได้ใช้ข้อมูลสถิติการเงินและสถิติภาคต่างประเทศแสดงถึงสาเหตุการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นของ ธพ.ไทย (ไม่รวมสาขา ธพ. ไทยในต่างประเทศ) และของสาขา ธพ. ต่างประเทศ และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจมีต่อเสถียรภาพด้านต่างประเทศ

1. ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์

ขนาดธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของ ธพ. ไทยเพิ่มขึ้น โดยการซื้อ/ขาย USD spot จากค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยไตรมาสละ 16.2/14.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในช่วงปี 2006-2008 เป็น 21.6/22.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. โดยหลังปี 2010 ธพ.ไทยมียอดขายสุทธิเป็นสำคัญ ขณะที่ธุรกรรม Outright forward ของ ธพ.ไทยเพิ่มขึ้นหลังปี 2009 ในช่วงเงินบาทแข็งค่าโดยการรับซื้อ USD forward ของ ธพ.ไทยเพิ่มเป็นไตรมาสละ 18.3 พันล้านดอลลาร์สรอ. จากเฉลี่ยไตรมาสละ 12.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในช่วงปี 2006-2008 และส่วนใหญ่เป็น ยอดซื้อสุทธิ

ธุรกรรมด้านซื้อ USD spot ของสาขา ธพ. ต่างประเทศจากค่าสินค้าและบริการค่อนข้างทรงตัว ขณะที่การขาย USD spot สูงขึ้นนับจากปี 2010 และเป็นยอดขายสุทธิ ขณะที่ธุรกรรม Forward จากค่าสินค้าและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศค่อนข้างสมดุลทั้ง ธพ. ไทย (TB) และสาขา ธพ.ต่างประเทศ (FB) มีธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่มาจากลูกค้าและในส่วนของ ธพ. เอง ดังนั้น ธพ. จึงต้องบริหารฐานะเงินตราต่างประเทศของตนเพื่อป้องกันปัญหา Mismatch ระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินจากการทาธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ และหากพิจารณาส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินจากการทำธุรกรรมดังกล่าว พบว่า ธพ. ไทยมีฐานะเป็น Net long USD มากกว่าสาขา ธพ.ต่างประเทศที่เพิ่งกลับฐานะมาเป็น Net long USD ในต้นปี 2013 ดังนั้นถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ธพ. ที่มี Net ong position ก็อาจประสบปัญหาในเรื่องของ potential capital losses หาก ธพ. ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินให้กับตนเอง

2. หนี้เงินกู้ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์

หนี้ต่างประเทศของ ธพ.ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินกู้ (Loans) โดยหนี้ต่างประเทศของ ธพ. ไทยนั้นประมาณร้อยละ 80 เป็นเงินกู้ ขณะที่หนี้ต่างประเทศของสาขา ธพ. ต่างประเทศเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของเงินกู้ และมากกว่าของ ธพ. ไทย 1.5 เท่า

การนำเข้าเงินกู้ของ ธพ. เพิ่มขึ้นมากนับแต่ปี 2010 โดยเฉพาะกรณีของสาขา ธพ. ต่างประเทศ ที่มียอดคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2013 อยู่ที่ 18.5 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าจากยอดคงค้าง ณ สิ้นปี 2006 ขณะที่ยอดคงค้างเงินกู้ของ ธพ. ไทย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2013 อยู่ที่ 12.4 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นประมาณ 6 เท่าจากยอดคงค้าง ณ สิ้นปี 2006

ในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุการนำเข้าเงินจากต่างประเทศของ ธพ. ในที่นี้ได้ตั้งสมมติฐานไว้ 2 ประเด็นคือ (1) เพื่อนำมาปล่อยกู้ต่อให้แก่ภาคธุรกิจในประเทศ และ (2) เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศที่ ธพ. มีภาระผูกพันในอนาคต โดยจะพิจารณาความสัมพันธ์ของการนำเข้าเงินกู้ของ ธพ. กับปัจจัยต่างๆ ภายใต้สมมติฐานที่กำหนด

สมมติฐานที่ 1: ธพ. กู้จากต่างประเทศเพื่อมาปล่อยกู้ต่อให้แก่ภาคธุรกิจ

ในทางปฏิบัติมีความเป็นไปได้ที่ ธพ.จะกู้จากต่างประเทศเพื่อนำมาปล่อยกู้ต่อแก่ภาคธุรกิจในประเทศ หากความต้องการสินเชื่อในประเทศสูง การออมต่ำ และต้นทุนการกู้ถูก แต่จากข้อมูล Loans to Deposits Ratio (รวมตั๋ว B/E) ของสถาบันรับฝากเงินอื่น (Other Depository Corporations—ODCs)*(1) พบว่าภาวะการเงินในประเทศไม่ได้ตึงตัว โดย Ratio ดังกล่าวเฉลี่ยในช่วง 2006-2009 อยู่ที่ 92.2 แม้ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 2012-2013 มาอยู่ที่ 94.4 แต่ที่สำคัญภาคธุรกิจระดมทุนเองผ่านตราสารหนี้และตราสารทุนมากขึ้น ซึ่งยอดสะสมในช่วง ม.ค 2009 ถึง พ.ค. 2013 รวมกันประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท

ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไม่ได้เผชิญปัญหาช่องว่างการออมและการลงทุน (Saving-Investment gap) โดย ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance--CAB) ไม่ได้ขาดดุลอย่างมีนัยสำคัญเหมือนอย่างเช่นในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล ดังนั้น จึงยังไม่เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกู้จากต่างประเทศของ ธพ. กับ CAB ในขณะนี้ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างเงินกู้จากต่างประเทศและสินเชื่อของ ธพ. ค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 0.2 แม้ปรับเพิ่มขึ้นบ้างหลังปี 2010 เป็น 0.5 ดังนั้น จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ธพ. กู้ (ทั้งระยะสั้นและระยะยาว) จากต่างประเทศ

การที่เงินกู้จากต่างประเทศไม่ใช่แหล่งเงินทุนหลักที่ ธพ. นำมาปล่อยเป็นสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจน่าจะเป็น สิ่งดีเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิด Currency mismatch และ Maturity mismatch โดยเฉพาะหากเป็น เงินกู้ระยะสั้น (เงินกู้จากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะสั้นคือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55) ที่จะยิ่งเพิ่ม ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องในการชาระหนี้

สมมติฐานที่ 2: ธพ. กู้ต่างประเทศเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า

ความต้องการป้องกันความเสี่ยงจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้ยอดรับซื้อดอลลาร์สรอ. ล่วงหน้าของ ธพ.จากผู้ส่งออก (หรือ Export hedge) เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยอดขายดอลลาร์สรอ. ล่วงหน้าให้ผู้นำเข้า (หรือ Import hedge) น้อยกว่า*(2) แม้ในช่วงหลังปี 2011 ที่การส่งออกชะลอลง ทำให้ยอด Export hedge ลดลงบ้างแต่ยอดคงค้างการรับซื้อดอลลาร์สรอ. ล่วงหน้าของ ธพ. ยังคงทรงตัวในระดับสูงเพราะยังมีความต้องการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินของนักลงทุนไทยที่ออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ ธพ. มีฐานะเป็น Long USD forward position และต้องการสภาพคล่อง USD เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ*(3)

การปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของ ธพ. ทั้งด้านซื้อ (Long position) และ/หรือด้านขาย (Short position) เงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับลูกค้านั้น ธพ. จะปรับฐานะ (Square position) ทั้งหมดทีเดียวหรือทยอยปรับก็ได้โดยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย*(4) ซึ่ง ธพ. จะพิจารณาธุรกรรมเงินตราต่างประเทศอื่นๆ เพื่อดูว่าท้ายที่สุดแล้ว ธพ.จะมี excess demand หรือ excess supply ของเงินดอลลาร์สรอ. จากข้อมูลพบว่า ธพ. ไทยมีฐานะเป็น Net long forward position*(5) (คือมีลูกค้ามาขาย USD forward มากกว่าเข้ามาซื้อ USD forward กับ ธพ.)

การปิดความเสี่ยงค่าเงินให้ตนเองนั้น ธพ. ไทยจะขาย USD spot เพื่อ lock อัตราแลกเปลี่ยน โดย USD นี้อาจได้จากการลดยอดเงินฝากในต่างประเทศ กู้ในตลาด Swap และ/หรือกู้โดยตรงจากต่างประเทศขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตลาดและต้นทุนของเงินดอลลาร์สรอ. จากแต่ละแหล่ง

ที่ผ่านมา ธพ. โดยเฉพาะ ธพ.ไทยได้ USD จากการลดยอดเงินฝากใน Nostro account ทำให้ยอดคงค้างเงินฝากรวมลดลงจากที่เคยสูงเกือบ 20,000 ล้านดอลลาร์สรอ. มาอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สรอ.*(6) และพบว่ายอดคงค้างของเงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศ (Banks’ short-term loans) สูงขึ้นต่อเนื่องนับแต่ปลายปี 2009 จนเกือบถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สรอ. โดยค่าความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่าง Net long forward position และเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นของ ธพ. ในช่วงที่ได้ USD funding จาก Nostro account (ช่วงปี 2006-2009) อยู่ที่ 0.2 แต่หลังจากนั้นค่าความสัมพันธ์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 0.84

นอกจากนี้ยังพบว่าเงินกู้ระยะสั้นของสาขา ธพ. ต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าโดยเฉพาะหลังปี 2009 และมียอดคงค้างสูงกว่า 3 เท่าของเงินกู้ระยะสั้นของ ธพ.ไทย ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่า ธพ. ไทยหาสภาพคล่องดอลลาร์สรอ. ด้วยการทำ Buy/Sell swap กับสาขา ธพ. ต่างประเทศ โดยขนาดการกู้ผ่าน Swap เพิ่มขึ้นตาม Net long position การหา USD ในตลาด Swap มีข้อได้เปรียบเพราะตลาดมีสภาพคล่องสูงและอายุสัญญา Swap จะพอดีกับอายุของ Forward contract มากกว่าการที่จะกู้จากต่างประเทศโดยตรง

3. นัยของการนำเข้าเงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ

การที่ ธพ. ไทยหา USD โดยการลดยอดสินทรัพย์ในต่างประเทศ และ/หรือทำ Buy/Sell swap กับสาขา ธพ. ต่างประเทศที่กู้จากต่างประเทศและปล่อยสภาพคล่อง USD ผ่านตลาด swap จะปรากฏเป็นเงินทุนไหลเข้ามายังไทยและกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะ ธพ. ไทยจะขาย USD ที่ได้เพื่อแลกเป็นเงินบาทเตรียมไว้ส่งมอบในอนาคตแก่ลูกค้าตามสัญญา สำหรับคู่ธุรกรรมของ ธพ.ไทย (ส่วนใหญ่เป็นสาขา ธพ.ต่างประเทศ) เมื่อได้รับเงินบาทจากขาแรกของ swap จะนำเงินบาทไปลงทุนระยะสั้นๆ ในตลาดเงินซึ่งส่วนใหญ่นามาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Re-purchased market) โดยทั่วไปต้นทุนการกู้ USD จากต่างประเทศของสาขา ธพ.ต่างประเทศอยู่ที่อัตรา fixed rate และปล่อยกู้ USD (กู้ยืมเงินบาท) ต่อให้ ธพ.ไทยผ่านตลาด swap มีต้นทุนตาม swap point (ขึ้นอยู่กับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินบาทและอัตราดอกเบี้ย USD)

เมื่อครบกำหนดสัญญาขาย USD ล่วงหน้าของลูกค้า ธพ.ไทยจะส่งมอบเงินเงินบาทที่ได้เตรียมแลกไว้แล้วตั้งแต่วันที่ลูกค้าเข้ามาขาย USD forward (วันที่ ธพ.ขาย USD spot) และรับ USD จากลูกค้ามาส่งมอบขาหลังของ Buy/Sell swap

ความน่าเป็นห่วงของหนี้เงินกู้อยู่ที่ว่าเป็นเงินกู้ระยะสั้นหรือยาวและนำมาใช้ทาอะไร จากข้อมูลพบว่าสัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อระยะยาว (ตาม Original maturity)*(7) อยู่ที่ประมาณ 45:55 และหนี้ระยะสั้นส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อการค้าและเงินกู้ระยะสั้น (สัดส่วนรวมกันกว่าร้อยละ 85 ของหนี้ระยะสั้น) (รูปที่ 3.1) ผู้กู้หลักคือภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non financial corporation and Household and Non-profit institution serving household) และสถาบันรับฝากเงิน (Other Depository Corporations) โดยหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของ ODCs เร่งตัวขึ้นมากนับแต่ปี 2010

แม้หนี้ต่างประเทศจะสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงทั้งในด้านสภาพคล่องและความสามารถในการชาระหนี้ นอกจากนี้ เงินกู้จากต่างประเทศของ ธพ. แม้จะสูงขึ้นแต่ขนาดและสัดส่วนต่อ GDP ยังต่ำกว่าในช่วงปี 1995-1996 และที่สำคัญสาเหตุของการกู้ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผลจากธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน (ธพ. รับซื้อ USD ล่วงหน้า) ซึ่งเกิดจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่จะก่อให้เกิดรายรับที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

สรุป

ธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของ ธพ. ส่วนใหญ่มาจากค่าสินค้าและบริการของลูกค้า ขณะเดียวกัน ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นประกอบกับการกระตุ้นให้ผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยงค่าเงินบาท ส่งผลให้ฐานะเงินตราต่างประเทศของ ธพ. โดยรวมเป็น Net long forward positions ธพ. จึงต้องปรับฐานะเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยงค่าเงินให้ตนเอง จึงทาให้เกิดความต้องการเงินดอลลาร์สรอ. เพื่อขายแลกเป็นเงินบาทเตรียมส่งมอบในอนาคต

การหาเงินดอลลาร์ สรอ. ของ ธพ. เริ่มจากการที่ ธพ. ได้ลดยอดสินทรัพย์ต่างประเทศโดยลดยอดเงินฝากใน Nostro account มาจนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นในกรณีของ ธพ.ไทยจะกู้ USD ผ่านตลาด on-shore swap ส่งผลให้สภาพคล่องของ USD ในตลาด on-shore swap ตึงตัวขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องหา USD จากแหล่งต่างประเทศ โดยมีสาขา ธพ. ต่างประเทศเป็นผู้กู้สำคัญด้วยต้นทุนที่ดีกว่า และปล่อยสภาพคล่อง USD ต่อให้แก่ ธพ. ไทย ดังที่เห็นได้จากความสัมพันธ์ทางสถิติของ Net long forward position กับเงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของ ธพ. เพิ่มมากขึ้น และมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าการกู้จากต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ต่อให้แก่ภาคธุรกิจ

เงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นที่สาขา ธพ.ต่างประเทศกู้เข้ามาและทำ Sell/Buy swap เมื่อได้เงินบาทมาจะนามาลงทุนระยะสั้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรส่วน ธพ. ไทยเมื่อได้ USD (ทา Buy/Sell swap) ก็จะขาย USD spot เพื่อเตรียมเงินบาทไว้ส่งมอบในอนาคต ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

สำหรับนัยต่อเสถียรภาพด้านต่างประเทศนั้น แม้หนี้ต่างประเทศจะสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงทั้งในด้านสภาพคล่องและความสามารถในการชาระหนี้ นอกจากนี้ หนี้เงินกู้ระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสาขา ธพ.ต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่กู้จากแม่ จึงจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องผลกระทบหากเกิดปัญหา Sudden stop ของเงินทุน และการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกิดจากความต้องการ USD เพื่อมา match กับธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกเป็นหลัก ไม่ใช่กู้มาเพื่อใช้เป็นสินเชื่อปล่อยให้แก่ภาคธุรกิจ ดังนั้นจึงช่วยลดความกังวลในเรื่องความเสี่ยงของ Currency mismatch และ Maturity mismatch ไปได้

*(1) สถาบันรับฝากเงินอื่น (Other Depository Corporations—ODCs) ประกอบด้วย ธพ.จดทะเบียนในประเทศ ชุดรวมทุกสำนักงานในประเทศ (ไม่รวมสาขา ธพ.ไทยในต่างประเทศ) สาขา ธพ. ต่างประเทศ (ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน 6 แห่ง (ได้แก่ ธ. ออมสิน ธกส. ธอส. EXIM อิสลาม SME bank) สหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ สถาบันรับฝากเงินอื่นๆ (ได้แก่ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และกองทุนรวมตลาดเงิน)

*(2) ขนาดของ Export hedge และ Import hedge นอกจากจะขึ้นอยู่กับทิศทางค่าเงินและต้นทุนการทำ hedging แล้ว ยังขึ้นอยู่กับขนาดของมูลค่าส่งออกและนำเข้า และการเป็น Natural hedge ของผู้ค้าด้วย

*(3) Demand for USD มาจากการที่ผู้ส่งออก (และนักลงทุนไทยที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ) ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเพราะเห็นว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในอนาคต จึงได้ขาย USD ล่วงหน้ากับ ธพ. ทำให้ ธพ. ต้องปรับสภาพคล่อง USD และป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินของตนจากที่ต้องส่งมอบเงินบาทในอนาคต เพราะหากในอนาคตเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็เท่ากับว่า ธพ. ต้องใช้เงินดอลลาร์ สรอ. มากขึ้นเพื่อแลกเป็นเงินบาทให้แก่ผู้ส่งออก ด้วยเหตุนี้ ธพ. จึงต้องปิดความเสี่ยงค่าเงินของตน โดยขาย USD spot ในวันที่รับซื้อ USD ล่วงหน้าเพื่อเตรียมเงินบาทไว้ส่งมอบในอนาคตให้แก่ผู้ส่งออก ดังนั้น เท่ากับว่า ธพ. มี demand for USD ในทางกลับกัน Supply of USD มาจากการที่ผู้นำเข้า (และนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย) ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเพราะเห็นว่าเงินบาทอาจจะอ่อนค่า จึงซื้อ USD forward ส่งผลให้ ธพ. ต้องหาเงินบาทในปัจจุบันเพื่อแลกเป็น USD เตรียมไว้ส่งมอบในอนาคต ดังนั้น ถ้าปริมาณธุรกรรมขาย USD forward ของผู้ส่งออกเท่ากับการซื้อ USD forward ของผู้นำเข้า (Demand for USD = Supply of USD) เท่ากับว่า ธพ. สามารถจับคู่ธุรกรรมของลูกค้าได้ และปิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง USD และค่าเงินของตน

*(4) หลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินดารงฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิ ณ สิ้นวัน (1) การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศรายสกุลเงินไม่เกิน 15% ของเงินกองทุน และ (2) การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงินไม่เกิน 20% ของเงินกองทุน

*(5) ฐานะสุทธิของธุรกรรมเงินตราต่างประเทศทุกประเภท spot (เฉพาะที่ยังไม่ส่งมอบเงิน ณ วันสิ้นงวด) forward swap และ options

*(6) นอกจากนี้จะเห็นว่าเงินฝากใน Nostro account ไม่เพิ่มขึ้นมากนักหลังเกิดวิกฤติการเงินในสหรัฐในปลายปี 2008 เนื่องจากธพ. ยังคงไม่มั่นใจในเงินดอลลาร์สรอ. รวมทั้งดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สรอ. ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ

*(7) หนี้ต่างประเทศระยะสั้นเป็นภาระผูกพันของเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศหนึ่ง (Resident) ต้องชำระให้แก่ผู้มีถิ่นฐานอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง (Nonresident) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ตามคู่มือ SNA 2008 หนี้ต่างประเทศประกอบด้วย Special Drawing Right (SDR), เงินสดและเงินฝาก (currency and deposits), ตราสารหนี้ (debt securities), เงินกู้ (loans), เงินประกันและบำเหน็จบำนาญ (insurance, pension and standardized guarantees schemes), สินเชื่อการค้า (trade credit and advances), และ Other accounts payable จะมีหลายรูปแบบ อาทิ ตราสารหนี้ (debt securities) และเงินกู้ (loans)

เอกสารอ้างอิง

Chris D’Souza: “How Do Canadian Banks That Deal in Foreign Exchange Hedge Their Exposure to Risk?“ Bank of Canada, Working Paper 2002-34.

Fernando Avalos and Ramon Moreno: “Hedging in derivatives markets: the experience of Chile” BIS Quarterly Review, March 2013.

Jack Joo K. Ree, Kyoungsoo Yoon, and Hail Park: “FX Funding Risks and Exchange Rate Volatility — Korea’s Case” IMF Working Paper WP/12/268, November 2012.

ดอน นาครทรรพ ไพลิน ผลิตวานนท์ และ เทียนทิพ สุพานิช “Thailand’s Short-term External Debt Assessment” WE-MPG สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

มยุรี ชัยสิทธิ์ และอมรรัตน์ แสงสิทธิ์ Natural Hedge และการป้องกันความเสี่ยงจาก การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออก-นาเข้าสินค้า

อัจจิรา ธนะอเนกเจริญ และณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์ “หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยน่ากังวลจริงหรือ?”

FAQ Issue 69, May 28, 2012 สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ขอขอบคุณ

คุณสมบุญ รัตนสุวรรณ

คุณศิริพรรณ นาครทรรพ คุณปิยาภา มีประมูล

คุณอรณิชา ตัตตะวะศาสตร์

และทีมงานที่ให้ข้อคิดเห็นและจัดทำข้อมูลสนับสนุน

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ