สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนกรกฎาคม ปี 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 3, 2013 11:08 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 16/2556

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนกรกฎาคม 2556 ชะลอลงต่อเนื่องตามการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลง ขณะเดียวกันการส่งออกยังคงหดตัวตามอุปสงค์จากต่างประเทศและข้อจากัดด้านอุปทานจากปัญหาขาดแคลนกุ้ง รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนลดลง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว ด้านการท่องเที่ยวแม้จะชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่า

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอจากร้อยละ 1.7 ของเดือนก่อน ตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์หลังสิ้นนโยบายรถยนต์คันแรก สอดคล้องกับสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่เริ่มลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถ ประกอบกับรายได้เกษตรกรลดลง

ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 15.0 จากการลดลงทั้งราคาและผลผลิต โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 12.8 จากราคายางพาราและปาล์มน้ามันที่ยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยด้านอุปทานโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงแต่อุปสงค์ชะลอลง แม้ว่าราคากุ้งขาวเร่งตัวสูง และดัชนีผลผลิตภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.5 จากผลผลิตกุ้งขาวที่หดตัวร้อยละ 47.8 เนื่องจากผลกระทบจากโรคระบาดยังไม่คลี่คลายและเกษตรกรชะลอการเลี้ยง

มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.6 เนื่องจากปัจจัยลบหลายด้าน ได้แก่ อุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอลง ราคาสินค้าเกษตรหดตัวและการขาดแคลนวัตถุดิบ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าสาคัญ อาทิ ยาง ถุงมือยางสัตว์น้า อาหารบรรจุกระป๋อง มีมูลค่าลดลง ขณะที่การส่งออกไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นตามความต้องการในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจีน แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.9 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเฉพาะภาคก่อสร้างที่หดตัวชัดเจนจากพื้นที่อนุญาตก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และบริการลดลง ส่วนเพื่อที่อยู่อาศัยชะลอลง สอดคล้องกับสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ตามปริมาณวัตถุดิบยางพาราและปาล์มน้ามันที่เข้าโรงงานมาก ประกอบกับการผลิตไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดจีนและวัตถุดิบไม้ยางมีมากขึ้น รวมทั้งการผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นตามคาสั่งซื้อของคู่ค้าซึ่งเป็นผลจากราคาวัตถุดิบลดลง ส่วนอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งการผลิตยังคงลดลงจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว และการผลิตถุงมือยางลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก

การท่องเที่ยว แม้จะชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 จากแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐและเอกชน ทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ส่วนอัตราเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 58.8

รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 95.0 ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณลดลงร้อยละ 8.5 ตามการเบิกจ่ายรายจ่ายประจาที่ลดลง

ผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและรายได้เกษตรกรลดลง ทาให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้เงินฝากและเงินให้สินเชื่อชะลอตัว

ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.21 ชะลอจากร้อยละ 2.36 ในเดือนก่อน ตามการชะลอตัวของดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสาคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.07 เพิ่มจากร้อยละ 1.04 ในเดือนก่อน จากการปรับเพิ่มค่าโดยสารในท้องถิ่นและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค โทรศัพท์ 0-7427-2000 ต่อ 4716

e-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ