สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนพฤศจิกายน ปี 2556

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday January 3, 2014 10:33 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 1/2557

เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนพฤศจิกายน ปี 2556

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนพฤศจิกายน 2556 ชะลอตัวจากเดือนก่อนตามการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างและการนาเข้าสินค้าทุนขณะเดียวกันการผลิตภาคเกษตรยังคงประสบปัญหาผลผลิตตึงตัว ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมละการส่งออกหดตัว สอดคล้องกับการจ้างงานที่ชะลอลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งนักท่องเที่ยวมาเลเซีย รัสเซีย และจีน ด้านอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสด เป็นสาคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอลง โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 6.6 จากเดือนเดียวกันปีก่อน ตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ลดลงทั้งการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ เนื่องจากอุปสงค์ชะลอลง โดยเฉพาะอาคารชุด สอดคล้องกับความเห็นจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและนักธุรกิจ ที่เริ่มเห็นอาคารชุดล้นตลาดในบางจังหวัด ส่งผลให้ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงถึงร้อยละ 11.6 ส่วนการนาเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และอุปกรณ์ก่อสร้างลดลงตามการลงทุน สาหรับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.0 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ที่ลดลงต่อเนื่องและรายได้เกษตรกรลดลง อย่างไรก็ดี การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังมีแรงส่งจากปัจจัยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวดโรงแรมขยายตัว

สำหรับรายได้เกษตรกรที่ลดลงเป็นผลจากด้านปริมาณ เป็นสาคัญ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 18.3 เนื่องจากผลผลิตกุ้งขาวและปาล์มน้ามันลดลง ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ9.3 ถึงแม้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากราคากุ้งขาวที่ยังอยู่ในระดับสูงและราคาปาล์มน้ามันที่ปรับเพิ่มขึ้นก็ตาม ขณะที่ราคายางยังคงลดลงตามราคาตลาดโลก เนื่องจากปริมาณยางส่วนเกินของโลกเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าจะมีความต้องการซื้อจากจีนก็ตาม จะเห็นได้จากสต็อกยางในจีนที่สูงขึ้น

มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 8.6 ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง ประกอบกับปัญหาด้านอุปทานจากการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว ส่งผลให้การส่งออกอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและสัตว์น้าลดลงสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 5.5 ตามการผลิตที่ลดลงของอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง อาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป รวมทั้งการผลิตน้ามันปาล์มดิบลดลง ส่วนการส่งออกถุงมือยางลดลงจากด้านราคา เป็นสาคัญ ขณะที่การส่งออกไม้ยางพารายังขยายตัวดี

อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 18.8 จากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย รัสเซีย และจีน เป็นสาคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคเรียนของมาเลเซียทาให้มีการเข้ามาในช่วงเทศกาลลอยกระทงจานวนมากประกอบกับฝั่งอันดามันมีการเปิดเส้นทางการบินกระบี่-สิงคโปร์เพิ่มขึ้น

รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ตามภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีสุราที่มีการปรับโครงสร้างภาษีเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 และจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มสายการผลิตของโรงงานผลิตเครื่องดื่มในจังหวัดสุราษฎร์ธานีสาหรับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณลดลงร้อยละ 2.2 ตามการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่ลดลง เป็นสำคัญ

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.11 เพิ่มขึ้นตามดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะราคาอาหารสด ส่วนหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นตามการปรับราคาแก๊สหุงต้มและการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เป็นสาคัญ จานวนแรงงานที่เข้าสู่การประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ชะลอจากร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อน

ส่วนเงินฝาก ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากการเร่งระดมเงินฝาก ขณะที่เงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 18.8 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อ สาหรับสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 113.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 112.3 ในเดือนก่อน สะท้อนสภาพคล่องที่ตึงตัวต่อเนื่อง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำนักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ