สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2556

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday February 4, 2014 09:19 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 3/2557

ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ชะลอลงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากการผลิตภาคเกษตรที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรและการใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนขณะเดียวกันการท่องเที่ยวชะลอลงจากผลกระทบการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยวของจีนและเหตุการณ์ความไม่สงบ อย่างไรก็ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกปรับดีขึ้น ถึงแม้ยังมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสดเป็นสำคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรลดลงร้อยละ 13.8 จากผลผลิตกุ้งขาวที่ยังคงตึงตัวจากปัญหาโรคระบาดและผลผลิตปาล์มน้ามันที่ลดลงหลังจากที่ผลผลิตออกมากในไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทาให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 74.2 และ 21.1 ตามลาดับ ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 6.0 ถึงแม้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากราคากุ้งขาวที่ยังอยู่ในระดับสูงและราคาปาล์มน้ามันปรับเพิ่มขึ้นก็ตามขณะที่ราคายางยังคงลดลงตามราคาตลาดโลกที่ได้รับแรงกดดันจากสต็อกยางสูงสุดในรอบ 3 ปี

ดัชนีการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ลดลงและภาระหนี้ที่สูงขึ้นทาให้ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เห็นได้จากการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์หดตัวถึงร้อยละ 56.7 นอกจากนี้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 7.2 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 โดยเครื่องชี้สาคัญลดลงทุกเครื่องชี้ ทั้งการก่อสร้าง การจาหน่ายปูนซีเมนต์ มูลค่าการนาเข้าสินค้าทุน และการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

ด้านการท่องเที่ยวขยายตัวร้อยละ 12.7 จากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย รัสเซีย จีน เป็นสาคัญส่งผลให้อัตราเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 64.54 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามจานวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาภาคใต้ชะลอลงจากที่เคยเร่งตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 20 เนื่องจากต้นทุนการท่องเที่ยวชาวจีนสูงขึ้นจากกฎหมายว่าด้วยเรื่องการท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีนที่เริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ทาให้จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนชะลอลง ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลาในช่วงเดือนธันวาคม ส่งผลให้ภาพรวมการท่องเที่ยวชะลอลง

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 สอดคล้องกับการส่งออกมีสัญญาณดีขึ้นโดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 หลังจากที่มีมูลค่าลดลงติดต่อกันมาทุกไตรมาสตั้งแต่ปีก่อนเป็นผลจากการส่งออกยางแปรรูปและไม้ยางพาราที่เร่งตัวขึ้นร้อยละ 16.8 และ 27.2 ตามลาดับ เนื่องจากความต้องการจากประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะจีนที่ซื้อยางเก็บเข้าสต็อกและความต้องการไม้ยางพาราเพื่อใช้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลบวกจากมาตรการงดการเก็บค่า cess ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2556 ส่วนมูลค่าการส่งออกสัตว์น้า อาหารทะเลบรรจุกระป๋องและถุงมือยางลดลง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดในกุ้งขาวทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และอุปสงค์คู่ค้าชะลอลง ตามลาดับ

ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 4.9 ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงทั้งรายจ่ายประจาและรายจ่ายลงทุน ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรชะลอจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ในไตรมาสก่อน เป็นร้อยละ 4.8 ในไตรมาสนี้ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 ตามหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ