ฉบับที่ 4/2557
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2556 ชะลอตัวจากปีก่อน โดยการผลิตภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดในกุ้งขาว และราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลง ทาให้รายได้เกษตรกรลดลงขณะเดียวกันแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทยอยหมดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนโดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์และการลงทุนด้านก่อสร้างหดตัว ขณะที่การส่งออกปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว ทั้งการผลิตยางแปรรูป ไม้ยางพาราแปรรูปและน้ามันปาล์มดิบสาหรับการท่องเที่ยวขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงตามราคาอาหารสดและพลังงาน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้
ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงเป็นผลจากทั้งด้านปริมาณและราคา โดยดัชนีผลผลิตภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.8 เนื่องจากผลผลิตกุ้งขาวลดลงจากโรคระบาด EMS (Early Mortality Syndrome) ถึงร้อยละ 55.2 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 7.9 ตามราคายางและปาล์มน้ามันที่ได้รับแรงกดดันจากสต็อกโลกอยู่ในระดับสูงขณะที่อุปสงค์ชะลอลง ถึงแม้ราคากุ้งขาวจะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ก็ตาม ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 11.4
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.1 ตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ลดลงทั้งการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ โดยเฉพาะอาคารชุด หลังจากที่เร่งตัวมากในปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 จากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.1 ในปีก่อน ส่วนมูลค่าการนาเข้าสินค้าทุนลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีการลงทุนเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามแผนลงทุน สาหรับดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.5 สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ถึงร้อยละ 9.3 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวดโรงแรมขยายตัวสูง ประกอบกับช่วงครึ่งปีแรกยังได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการรถยนต์คันแรกที่มีการทยอยส่งมอบอย่างไรก็ตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์หดตัวมากในครึ่งปีหลัง จากภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่ลดลงส่งผลกระทบต่อกาลังซื้อ
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากการผลิตน้ามันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบ ขณะเดียวกันการผลิตยางแปรรูปและไม้ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.9 และ 19.0 ตามลาดับ เนื่องจากจีนซื้อยางเก็บเข้าสต็อกเพิ่มขึ้น และความต้องการไม้ยางพาราแปรรูปในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังมีต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยลดลงร้อยละ 4.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.6 ในปีก่อน โดยเฉพาะการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป เผชิญกับข้อจากัดด้านการผลิตจากสถานการณ์โรคระบาดในกุ้งทาให้ขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนการผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องทรงตัว เนื่องจากตลาดหลักตะวันออกกลางประสบปัญหาความไม่สงบมีผลต่อคาสั่งซื้อและการส่งมอบ และการผลิตถุงมือยางชะลอลงจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังเปราะบาง
อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สาคัญ โดยขยายตัวร้อยละ 18.9 เร่งตัวขึ้นมากจากปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวจีนและรัสเซีย เป็นสาคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมทั้งมีการจัดประชุมและจัดงานสัมมนาระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจานวนเที่ยวบินและเส้นทางการบินใหม่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภค
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 4.0 และรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ชะลอจากร้อยละ 6.1 ในปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.22 ชะลอลงจากปีก่อนตามราคาอาหารสดและพลังงาน เป็นสาคัญ สาหรับเงินฝากและเงินให้สินเชื่อชะลอลง
คาดว่าเศรษฐกิจภาคใต้ปี 2557 จะปรับตัวดีขึ้น ตามการส่งออกที่มีสัญญาณดีขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งจะสนับสนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งผลผลิตเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตกุ้งขาวที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด คาดว่าสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลาย ส่วนราคาพืชผลเกษตรคาดว่าจะใกล้เคียงกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบจากผลผลิตส่วนเกินของโลกขยายตัวมากกว่าความต้องการนอกจากนี้สภาพอากาศที่มีความแปรปรวนมากขึ้น อาจกระทบกับผลผลิตและส่งผลต่อเนื่องมายังราคาด้วย
การใช้จ่ายภาคเอกชนได้รับปัจจัยบวกจากการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีปัจจัยลบจากรายได้ภาคเกษตรที่ยังมีความผันผวน ขณะที่ค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการส่งผ่านไปยังต้นทุนสินค้า จากการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนและขนส่งมาตรการยกเลิกการลดภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซลที่สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2557 รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น ทาให้การบริโภคขยายตัวไม่มากนัก สาหรับการลงทุนด้านการก่อสร้างคาดว่าทรงตัว ส่วนใหญ่เป็นการทยอยสร้างตามโครงการที่เปิดขายในปีก่อน นอกจากนี้ผู้ประกอบการบางรายมีแผนที่จะลงทุนหลังจากที่ชะลอในช่วงปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งภัยธรรมชาติ โรคระบาด ที่รุนแรงขึ้น และต้องจับตาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวตามคาดหรือไม่
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย