สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนธันวาคม ปี 2556

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday February 4, 2014 09:16 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 2/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนธันวาคม 2556 ยังคงชะลอตัว ตามการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัญญาณชะลอตัวอย่างชัดเจนจากรายได้เกษตรกรที่ยังหดตัวตามผลผลิตที่ลดลง และการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาคการก่อสร้าง ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวชะลอลงจากผลกระทบของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน อย่างไรก็ตามการส่งออกปรับดีขึ้นตามความต้องการของตลาดหลัก โดยเฉพาะยางพารา ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาอาหารสดเป็นสำคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ลดลงถึงร้อยละ 72.5 จากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของนโยบายรถยนต์คันแรก และภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวดค้าปลีกค้าส่งชะลอลงมากจากร้อยละ 12.1 ในเดือนก่อนเป็นร้อยละ 3.7 ในเดือนนี้ ประกอบกับข้อจำกัดด้านรายได้ภาคเกษตรและสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคทำให้ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้การลงทุนลดลงต่อเนื่องโดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 10.2 ตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ลดลงจากความต้องการซื้อของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอลง ส่งผลให้ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์และมูลค่าการนาเข้าอุปกรณ์ก่อสร้างลดลง

สำหรับรายได้เกษตรกรที่ลดลงเป็นผลจากด้านปริมาณ เป็นสาคัญ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 14.8 จากผลผลิตกุ้งขาวและปาล์มน้ามันลดลง ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 3.3ถึงแม้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 จากราคากุ้งขาวที่ยังอยู่ในระดับสูงและราคาปาล์มน้ามันที่ปรับเพิ่มขึ้นก็ตาม ขณะที่ราคายางลดลงตามราคาตลาดโลก

จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง หลังจากที่เร่งตัวมากในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาลดลงร้อยละ 2.5 จากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 20.2 ในเดือนก่อน ขณะที่การท่องเที่ยวฝั่งอันดามันยังขยายตัวดี สะท้อนจากมีการเพิ่มจานวนเที่ยวบินและการเปิดเส้นทางการบินใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวรัสเซียเป็นสาคัญ

มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ตามการส่งออกยางที่เร่งตัวขึ้นมากก่อนสิ้นสุดมาตรการงดเก็บค่า cess ในสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ประกอบกับจีนยังคงซื้อยางเก็บเข้าสต็อกเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไปจีนยังขยายตัว ส่วนการส่งออกถุงมือยางและอาหารทะเลบรรจุกระป๋องปรับตัวดีขึ้นจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่เริ่มฟื้นตัวและสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางเริ่มดีขึ้นตามลำดับ สาหรับการส่งออกสัตว์น้ายังคงลดลงจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว

การส่งออกที่ดีขึ้นสอดคล้องกับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ตามการผลิตยางพารา ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูป โดยเฉพาะการผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นในเดือนนี้จากที่ลดลงมาตลอดในรอบ 4 เดือน ขณะที่การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป รวมทั้งการผลิตน้ามันปาล์มดิบลดลงตามวัตถุดิบ

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ตามการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจา เป็นสาคัญ ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้นจากภาษีน้ามันและภาษีเครื่องดื่ม

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.93 ลดลงตามดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะราคาอาหารสด ส่วนหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นตามการปรับราคาแก๊สหุงต้มและการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เป็นสาคัญ สาหรับการจ้างงานชะลอลงโดยอัตราการว่างงานสูงขึ้นจากร้อยละ 0.55 ในเดือนก่อนเป็นร้อยละ 0.76 ในเดือนนี้ ส่วนจานวนแรงงานที่เข้าสู่การประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน

ด้านภาคการเงินชะลอตัวลงตามสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเงินฝาก ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.4 และเงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 17.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 18.8 ตามลาดับ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ