สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday May 7, 2014 10:14 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 9/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 1 ปี 2557 หดตัวตามการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแม้ว่าผลผลิตยางจะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรและการส่งออกลดลง นอกจากนี้การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลาและการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกอบกับสถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อทาให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุน ขณะเดียวกันสถาบันการเงินมีการระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 7.5 จากผลด้านราคาและผลผลิต โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 2.6 ตามราคายางที่ลดลงถึง ร้อยละ 21.1 ต่าสุดในรอบ 17 ไตรมาส เนื่องจากราคายางยังคงได้รับแรงกดดันจากผลผลิตมีมากกว่าความต้องการใช้ ทาให้สต็อกสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ถึงแม้ราคาปาล์มน้ามันและกุ้งขาวอยู่ในระดับสูงมากก็ตามสาหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 5.0 จากผลผลิตกุ้งขาวที่ยังคงตึงตัว เนื่องจากอยู่ระหว่างการเลี้ยงรอบใหม่ และผลผลิตปาล์มน้ามันออกสู่ตลาดน้อยในช่วง 2 เดือนแรก

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.3 ตามการผลิตที่ลดลงในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปและอุตสาหกรรมน้ามันปาล์มดิบที่มีข้อจากัดด้านวัตถุดิบ ขณะเดียวกันการผลิตยางแปรรูป ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูป ชะลอตัวตามคาสั่งซื้อของคู่ค้า มีเพียงการผลิตอาหารทะเลกระป๋องซึ่งเพิ่มขึ้นตามคาสั่งซื้อจากประเทศในตะวันออกกลางที่เริ่มกลับเข้ามาหลังสถานการณ์ความไม่สงบในภูมิภาคคลี่คลาย ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงราคาวัตถุดิบหลักปลาทูน่าอยู่ในระดับต่าอย่างไรก็ตามราคายางพาราที่ลดต่ามาก มีผลให้มูลค่าการส่งออกรวมของภาคใต้ลดลงร้อยละ 10.7 ถึงแม้ปริมาณส่งออกรวมจะเพิ่มขึ้นก็ตาม สาหรับมูลค่าการนาเข้าลดลงร้อยละ 8.3 ตามการนาเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ อุปกรณ์ก่อสร้าง และสัตว์น้า ที่ลดลง

การท่องเที่ยวหดตัวร้อยละ 1.6 จากที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556 และปัจจัยทางการเมืองจากการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2557 ส่งผลกระทบชัดเจนขึ้น ทาให้นักท่องเที่ยวเอเชียซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวลดลงร้อยละ 7.1 โดยเฉพาะมาเลเซียและจีนเดินทางเข้ามาภาคใต้ชายแดนและฝั่งอ่าวไทยลดลง ส่วนฝั่งอันดามันยังคงขยายตัว โดยเฉพาะรัสเซียยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเมืองน้อยกว่า

จากรายได้ของภาคเกษตร การส่งออก และการท่องเที่ยวที่ลดลง รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ประกอบกับฐานสูงในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ยังคงมีการทยอยส่งมอบรถยนต์หลังสิ้นสุดนโยบายรถยนต์คันแรก ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนของภาคใต้ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6 ชะลอจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อน และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 8.1 โดยเฉพาะการขออนุญาตก่อสร้างใหม่ลดลงติดต่อกันมา 4 ไตรมาส ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นส่งผลให้เงินให้สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ตามการสารวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ธปท.กับภาคธุรกิจ ชี้ว่าภาคธุรกิจบางส่วนยังมีแผนการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

รายได้การจัดเก็บภาษีอากรลดลงร้อยละ 2.1 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากรที่ลดลงจากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 ขณะที่การจัดภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มและภาษีน้ามัน ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ทั้งรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายประจา

เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.07 เร่งตัวตามต้นทุนจากอาหารสดและก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนและส่งผ่านไปยังอาหารสาเร็จรูป เป็นสาคัญ สาหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.08 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.76 ในไตรมาสก่อน

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ