ฉบับที่ 11/2557
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนเมษายน 2557 ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นจากผลผลิตปาล์มน้ามัน ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวหลังจากประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน ท้าให้นักท่องเที่ยวชาวจีน มาเลเซียและสหภาพยุโรปเริ่มเดินทางกลับเข้ามา อย่างไรก็ตามรายได้เกษตรกรยังคงลดลงตามราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคทรงตัว ส่วนการลงทุนลดลงต่อเนื่องจากความไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจ สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกลดลง ถึงแม้ค้าสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้นตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักท้าให้ความต้องการยางและไม้ยางพาราชะลอลง ขณะเดียวกันภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุน ท้าให้เงินให้สินเชื่อมีแนวโน้มลดลง ด้านเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากราคาอาหารส้าเร็จรูปและราคาพลังงาน เป็นส้าคัญ
อุปสงค์ภาคเอกชนหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงขยายตัว แต่ในอัตราชะลอลง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 เนื่องจากครัวเรือนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย ส้าหรับการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 4.7 จากเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้เครื่องชี้ส้าคัญลดลงทุกหมวด ทั้งการก่อสร้างการจ้าหน่ายปูนซีเมนต์ การจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และมูลค่าการน้าเข้าสินค้าทุน
ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 5.8 จากราคายางที่ยังคงลดลงตามราคาตลาด TOCOM เนื่องจากยังได้รับแรงกดดันจากสต็อกยางในจีนอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความต้องการใช้ยางของจีนชะลอตัว ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 6.1 ด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากผลผลิตปาล์มน้ามันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตกุ้งขาวยังออกสู่ตลาดน้อย
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวจากเดือนก่อน และหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 ตามการผลิตยางแปรรูปและไม้ยางพาราที่ลดลง เนื่องจากการชะลอซื้อของประเทศคู่ค้าหลักโดยเฉพาะตลาดจีนที่มีสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปยังไม่ฟื้นตัวจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ประกอบกับราคาที่อยู่ในระดับสูงท้าให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้าหลักชะลอการซื้อและหันไปน้าเข้าจากคู่แข่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า ขณะที่การผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นตามความต้องการจากตลาดตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากราคาปลาทูน่าซึ่งเป็นวัตถุดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและการผลิตถุงมือยางเพิ่มขึ้นตามค้าสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่วนการผลิตน้ามันปาล์มเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบเข้าโรงงาน
ด้านมูลค่าการส่งออกลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5 จากการส่งออกสัตว์น้าและไม้ยางพาราที่ลดลง ส่วนการส่งออกยางและถุงมือยางลดลงจากผลด้านราคาเป็นส้าคัญ
ขณะเดียวกันแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายจากภาครัฐลดลง โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 18.6 เป็นผลจากการเร่งเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกันรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรลดลงร้อยละ 4.8 ตามการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลง ตามการชะลอการผลิตสุรา เนื่องจากสต็อกสูงจากการเร่งการผลิตในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากส้านักงานสรรพากรเพิ่มขึ้นจากกิจการโรงแรม
การท่องเที่ยว ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ4.7 จากความเชื่อมั่นที่กลับมาหลังการประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามามาก เนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ต่อเนื่องด้วยงานฟูลมูนปาร์ตี้ รวมทั้งนักท่องเที่ยวจีนนอกจากนี้นักท่องเที่ยวมาเลเซียเริ่มกลับเข้ามาเที่ยวมากขึ้นหลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 3 เดือนจากเหตุการณ์ระเบิดในปลายปีก่อนและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ส้าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.05 ตามราคาอาหารส้าเร็จรูปและราคาพลังงาน เป็นส้าคัญ ส้าหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ1.27 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 8.6 ชะลอตัวต่อเนื่องทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาคครัวเรือนมีการระมัดระวังการใช้จ่ายและการก่อหนี้เพิ่มขึ้น รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่วนเงินฝากขยายตัว ร้อยละ 5.5
ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย