รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนมิถุนายน 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday June 27, 2014 10:10 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 24/2557

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อานวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับ แนวทางการดาเนินนโยบายการเงินและการประเมินภาวะเศรษฐกิจของ กนง. สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้

1. ทิศทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 หดตัวมากกว่าคาด อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นชัดเจนตั้งแต่ช่วงกลางปีหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง ส่าหรับแรงกดดัน เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวต่ำกว่าเคยประเมินไว้เล็กน้อยตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ มีแนวโน้มชะลอลงบ้างจากผลกระทบของการขึ้นภาษีการบริโภค และเศรษฐกิจเอเชียที่มีแนวโน้มชะลอลงตาม การใช้จ่ายในประเทศ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่หดตัวชั่วคราวในไตรมาสแรกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอาศัยแรงสนับสนุนจากตลาดแรงงาน และฐานะทางการเงินของภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงกว่าที่คาดไว้เดิมจากแรงส่งที่ต่ำมากในไตรมาสแรกของปี แต่คาดว่าจะปรับดีขึ้นชัดเจนตั้งแต่ช่วงกลางปีและกลับเป็นปกติในปี 2558 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2557 เศรษฐกิจหดตัวตามการใช้จ่ายภาครัฐที่ทาได้อย่างจากัด การบริโภคภาคเอกชนที่ลดลงเนื่องจากความเชื่อมั่น อยู่ในระดับต่า หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และการใช้จ่ายในสินค้าคงทนพักฐานนานกว่าคาด เช่นเดียวกับการลงทุนที่ชะลอออกไปเพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงตามบรรยากาศการท่องเที่ยวที่ถูกบั่นทอนจากสถานการณ์ทางการเมือง ขณะที่การส่งออกฟื้นตัวค่อนข้างช้าเนื่องจาก อุปสงค์จากเอเชียชะลอลงประกอบกับภาคการผลิตของไทยมีข้อจากัด อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นตามการเร่งรัดเบิกจ่ายและการเร่งจัดทางบประมาณประจาปี 2558 พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของภาคเอกชน นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะฟื้นตัวเร็วหลังความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้นสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ประเมินว่าเศรษฐกิจจะกลับสู่ภาวะปกติในปี 2558 ตามการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจพร้อมกับภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว

แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากทั้งด้านต้นทุนและด้านอุปสงค์ โดยแรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นตามการส่งผ่านราคาก๊าซหุงต้มไปยังราคาอาหารในช่วงครึ่งแรกของปี แต่ในระยะต่อไปคาดว่า แรงกดดันดังกล่าวจะมีน้อยลงตามมาตรการตรึงราคาสินค้าของภาครัฐ และราคาน้ามันที่ทรงตัว ส่วนแรงกดดันด้าน อุปสงค์ในปัจจุบันแม้จะค่อนข้างต่า แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ปรับลด

ข้อสมมติราคาน้ามันดีเซลขายปลีกในประเทศลงจากเดิมเล็กน้อย พร้อมกับตรึงราคาก๊าซหุงต้มไว้ตลอด ช่วงประมาณการตามมติของภาครัฐ ขณะที่ยังคงข้อสมมติการยกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซลและ ตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งไว้ตามเดิม

2. ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจปี 2557 จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม แต่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและกลับเป็นปกติในปี 2558 โดยเห็นว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมดุล โดยโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ากว่าคาดจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองต่อภาค การท่องเที่ยว และข้อจากัดด้านการผลิตของไทยต่อการส่งออกสินค้าที่อาจมากกว่าคาด ใกล้เคียงกับโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงกว่าคาดจากการเร่งรัดเบิกจ่ายของภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจปรับดีขึ้นมากกว่าประมาณการ แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของประมาณการเศรษฐกิจจึงสมดุลตลอดช่วงประมาณการ ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับขึ้นเล็กน้อยทั้งในปี 2557 และ 2558 โดยความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อโน้มไปด้านสูง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศอิรักอาจส่งผลให้ราคาน้ามันดูไบเพิ่มขึ้นในระยะสั้น และการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาจทาได้มากกว่าคาดในช่วงที่เศรษฐกิจเร่งฟื้นตัว แผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ของการประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจึงเบ้ขึ้นตลอดช่วงประมาณการ

3. การด่าเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินในระดับปัจจุบันผ่อนปรนเพียงพอที่จะเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่คาดตามการใช้จ่ายในประเทศที่อ่อนแอ และการส่งออกที่ฟื้นตัวช้าไม่สามารถชดเชยการชะลอตัวดังกล่าวได้ ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาจากสถานการณ์ทางการเมืองเป็นสาคัญ ขณะที่ภาวะทางการเงินยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 เพื่อความต่อเนื่องของการผ่อนคลายนโยบายการเงินในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2557 เศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าที่เคยประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดาเนินการได้ และนโยบายการคลังมีบทบาทสนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่นโยบายการเงินยังผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยพร้อมจะดาเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในระยะยาว

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ณฐ์ภัชช์ พงษ์เลื่องธรรม

โทร. 0 2283 5629 E-mail: napatp@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ