ฉบับที่ 12/2557
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยรายได้เกษตรกรลดลงจากราคายางพาราที่ลดลงต่อเนื่องและการผลิตกุ้งขาวยังไม่ฟื้นตัวจากโรคระบาดเช่นเดียวกับการส่งออกหดตัวจากผลด้านราคา ประกอบกับภาคเอกชนยังรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองให้ชัดเจนกว่านี้ ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังไม่กระเตื้องขึ้นขณะเดียวกันการลงทุนหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนทั้งการลงทุนภาคการก่อสร้างและการขอรับส่งเสริมการลงทุน ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน และผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตามวัตถุดิบและความต้องการ ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้น และเงินเฟ้อยังคงเร่งตัวขึ้นจากราคาอาหารสาเร็จรูปและราคาพลังงานเป็นสำคัญ
ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ14.1 จากแรงกดดันด้านราคายางที่ยังคงลดลงจนต่าสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากสต็อกยางในจีนมีระดับสูงต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดการกับสต็อกยางที่สูงของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 16.1 ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากผลผลิตปาล์มน้ามันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตยางลดลงจากภาวะแห้งแล้งและกุ้งขาวยังออกสู่ตลาดน้อยจากโรคระบาด
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 เนื่องจากครัวเรือนยังระมัดระวังการใช้จ่าย โดยยอดจาหน่ายหมวดยานยนต์ยังไม่ฟื้นตัว ขณะเดียวกันการลงทุนหดตัวจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหดตัวร้อยละ 6.7 โดยเฉพาะการขออนุญาตก่อสร้างและการจาหน่ายปูนซีเมนต์ เป็นผลของความอ่อนตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ สอดคล้องกับความเห็นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ถึงความล่าช้าของการจาหน่ายโครงการบ้านที่เปิดใหม่ นอกจากนี้การขอรับส่งเสริมการลงทุนลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายภาคเอกชนให้กระเตื้องขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น
การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการเพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้าและวัตถุดิบ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเร่งตัวขึ้นร้อยละ 9.6 จากการผลิตยางแปรรูปที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของจีน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ายางข้นขณะเดียวกันการผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและถุงมือยางเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งจากความต้องการเพิ่มขึ้นของตลาดตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา ตามลาดับ เนื่องจากทิศทางราคาทูน่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจึงมีการเร่งสั่งซื้อ และเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ขณะที่การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปยังมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากโรคระบาดในกุ้ง และการผลิตไม้ยางพาราลดลงตามอุปสงค์ของ ตลาดเวียดนามและอินโดนีเซีย
มูลค่าการส่งออกลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ17.9 จากการส่งออกสินค้าสาคัญที่ลดลง โดยเฉพาะยางพารา ไม้ยางพาราและสัตว์น้า ขณะที่ถุงมือยางและอาหารทะเลกระป๋องมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 จากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจาและรายจ่ายลงทุน โดยเพิ่มขึ้นในหมวดเงินอุดหนุน ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรลดลงร้อยละ 2.7 ตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
การท่องเที่ยว ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันที่ยังขยายตัวดี และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เป็นผลจากภาคใต้ตอนล่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่อาเภอหาดใหญ่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ประกอบกับการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวหลักมาเลเซียเข้ามาลดลง หลังจากที่เริ่มฟื้นตัวในเดือนก่อน
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.31 ตามราคาอาหารสาเร็จรูปและราคาพลังงาน เป็นสาคัญ สาหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.13 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน
เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ชะลอตัวต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่วนเงินฝากขยายตัวร้อยละ 5.7 ตามเงินฝากประเภทออมทรัพย์และเงินฝากกระแสรายวันที่ปรับตัวดีขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย