แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนมกราคม ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday February 27, 2015 10:01 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 13/2558

ในเดือนมกราคม 2558 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ โดยภาคการท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สาคัญของเศรษฐกิจ ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน เพราะครัวเรือนยังระมัดระวังการใช้จ่าย และธุรกิจยังรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ สาหรับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐมีน้อยลงหลังจากที่เร่งเบิกจ่ายในเดือนก่อนๆ และการส่งออกสินค้าลดลงตามอุปสงค์จากจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกหลายหมวดปรับลดลงตามราคาน้ามันดิบ ทั้งนี้ ราคาน้ามันโลกที่ต่าลงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สาคัญของเศรษฐกิจ โดยมีแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จากนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซีย เพราะไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ประกอบกับทางการจีนผ่อนคลายมาตรการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นลาดับ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนมากนัก

การใช้จ่ายภาคเอกชนฟื้นตัวช้า โดยการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากครัวเรือนระมัดระวังในการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องเพราะกาลังซื้อของครัวเรือนเกษตรกรถูกบั่นทอนจากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่า โดยเฉพาะราคายางพารา และรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรยังทรงตัว ประกอบกับภาระหนี้อยู่ในระดับสูง โดยรวมแล้วราคาน้ามันที่ลดลงยังไม่ส่งผลดีอย่างชัดเจนต่อการบริโภค

แม้ว่าธุรกิจจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่าลงตามราคาน้ามันและภาวะการเงินจะเอื้อต่อการลงทุน แต่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่อยู่ในระยะเริ่มต้น รวมทั้งกาลังการผลิตของภาคธุรกิจที่ยังมีเพียงพอเพราะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่า ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการก่อสร้าง

การใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่แรงกระตุ้นน้อยลงหลังจากที่เร่งเบิกจ่ายในเดือนก่อน ทั้งการซื้อสินค้าและบริการ และการลงทุน ด้านรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ามันดีเซล ขณะที่การจัดเก็บภาษีที่สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มหดตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน

การส่งออกสินค้ามีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนตามราคาสินค้าส่งออกหลายหมวด อาทิ ปิโตรเลียม ยางพารา และเคมีภัณฑ์ ที่ปรับลดลงต่อเนื่องจากทิศทางราคาน้ามันดิบ การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ในทุกสินค้าที่ส่งไปกลุ่ม

ประเทศยุโรป ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ CLMV ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สาหรับการนาเข้าสินค้ามีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะการนาเข้าน้ามันดิบที่ลดลงมากตามราคาน้ามันในตลาดโลก ประกอบกับโรงกลั่นยังชะลอการนาเข้าน้ามันเพราะคาดว่าราคาน้ามันโลกอาจลดต่าลงอีกสาหรับการนาเข้าสินค้ากลุ่มอื่นนอกเหนือจากน้ามันดิบ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และวัตถุดิบมีทิศทางทรงตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่า ราคาน้ามันโลกที่ลดลงมากส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ แต่ไม่ใช่สัญญาณของภาวะเงินฝืด และช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งมีส่วนทาให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นสาหรับดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลตามการเพิ่มเงินฝากในต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย รวมทั้งมีการขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ โดยรวมดุลการชาระเงินเกินดุล ขณะที่เงินสารองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648

e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ