ฉบับที่ 6/2558
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมกราคม 2558 โดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขณะเดียวกันการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีและรายได้เกษตรกรปรับดีขึ้นจากนโยบายรับซื้อยาง ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและอาหารสด อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่วนเงินฝากและเงินให้สินเชื่อยังคงชะลอลง
เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดหลัก ประกอบกับเป็นช่วงที่ราคาวัตถุดิบทูน่าในการผลิตอาหารทะเลกระป๋องอยู่ในระดับต่ำจูงใจให้สั่งซื้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.7 ตามการลดลงของการผลิตยางแปรรูปเพื่อส่งออกไปตลาดหลักจีนที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ปี 2557 ขยายตัวต่าสุดในรอบ 24 ปี การผลิตถุงมือยางลดลงตามค่าสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น และการผลิตน้ำมันปาล์มดิบลดลงตามปริมาณ วัตถุดิบที่ตึงตัวจากภัยแล้งในกลางปีก่อน ส่งผลให้ภาครัฐมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ 50,000 ตัน
การท่องเที่ยวขยายตัวจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 743,045 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเดือนเดียวกันปีก่อนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองและเหตุระเบิดในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่เข้ามามากขึ้นส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวมาเลเซีย
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บจากธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง และเริ่มเห็นสัญญาณการใช้จ่ายในสินค้าคงทนและกึ่งคงทนมากขึ้น อาทิ การบริโภค ยานยนต์ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 11.3 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการรอประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในประเทศและตางประเทศ อย่างไรก็ตามยอดการจ่าหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
ผลผลิตสินค้าเกษตรยังคงลดลงจากผลผลิตยางและปาล์มน้ำมันแต่ผลผลิตกุ้งขาวเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับดีขึ้น โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 จากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 14.3 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 11.9 ตามราคากุ้งขาวและยาง โดยราคากุ้งขาวได้รับผลกระทบจากผลผลิตประเทศคู่แข่งออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันตลาดหลักสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นชะลอการนำเข้า เนื่องจากสต็อกอยู่ในระดับสูงจากการเร่งนำเข้าในช่วงก่อนหน้าและผลกระทบจากเงินเยนอ่อนค่า ตามลำดับ ส่วนราคายางนอกจากได้รับปัจจัยลบจากอุปสงค์ยางโลกชะลอลงแล้วยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเดือนนี้ราคายางกระเตื้องขึ้นจาก นโยบายรับซื้อยางของภาครัฐ ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 37.1 ในเดือนก่อนเป็นลดลงร้อยละ 20.5 ในเดือนนี้
ราคาสินค้าสำคัญและความต้องการของคู่ค้าชะลอลงทั้งยาง กุ้งขาวและถุงมือยาง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.6 ส่วนมูลค่าการนาเข้าลดลงร้อยละ 9.0 ตามมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ก่อสร้างและอื่น ๆ
รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ตามการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสุราและภาษีน้ำมัน ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 8.8 จากการลดลงของการเบิกจ่ายเงินเดือนและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ส่วนการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นในหมวดที่ดินสิ่งก่อสร้าง ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านงบลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ อาทิ การเบิกจ่ายเงินของกรมชลประทาน กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท เป็นสำคัญ
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.53 ต่าสุดในรอบกว่า 5 ปีเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลงต่อเนื่องตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และราคาอาหารสดที่ลดลง อย่างไรก็ตามการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มตั้งแต่เดือนก่อนมีผลให้ราคาอาหารบริโภคนอกบ้านยังคงปรับเพิ่มขึ้นส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.10 ส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานในภาคเกษตรกรรม ภาคบริการภาคการค้าและภาคก่อสร้าง
ด้านเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ชะลอทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค จากการหดตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดย่อมและสินเชื่อเช่าซื้อรถ ส่วนเงินฝากขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากการลดลงของเงินฝากประจำและกระแสรายวันภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภคจากการหดตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดย่อมและสินเชื่อเช่าซื้อรถ ตามลำดับ
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย