สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday March 31, 2015 11:49 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 7/2558

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรที่ผลผลิตปาล์มน้ามันออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันมีแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและจีน รวมทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ อย่างไรก็ตามแม้การผลิตและส่งออกยางแปรรูปจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมกลับลดลงตามปริมาณวัตถุดิบและอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอตัว ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกรวมลดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากการระมัดระวังการใช้จ่าย ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและอาหารสด อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นจากผลผลิตปาล์มน้ามันออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันราคายางค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นจากแรงสนับสนุนในการเข้ารับซื้อยางขององค์การสวนยาง นอกจากนี้ราคาปาล์มน้ามันยังทรงตัวระดับสูงในรอบ 4 ปี เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้และการชะลอเลี้ยงกุ้งขาวในช่วงมรสุมท้าให้ราคากุ้งขาวขยับขึ้น ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามราคายางยังคงมีปัจจัยกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำ

การท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่อง จากนักท่องเที่ยวตลาดเอเชีย โดยเฉพาะจีนและมาเลเซียที่มีความนิยมในการท่องเที่ยวไทยและความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองของไทย การขยายตัวของกลุ่มนี้สามารถชดเชยการลดลงของนักท่องเที่ยวรัสเซียที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมเดือนนี้เพิ่มขึ้นทุกฝั่งทั้งอันดามัน อ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง

แรงกระตุนเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ตามการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในหมวดที่ดินสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ โดยเพิ่มขึ้นตามการเบิกจ่ายเงินของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวงกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง ขณะที่ตัวเลขรายจ่ายประจ้าลดลง เป็นผลจากการปรับเปลี่ยนระบบการเบิกจ่ายของบางหน่วยงาน เป็นส้าคัญ อย่างไรก็ดีรายได้จากการจัดเก็บภาษีชะลอลงมากโดยเฉพาะภาษีสรรพากร ตามการชะลอลงของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากการยื่นช้าระภาษีอากรค้างช้าระ

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกหดตัว ตามปริมาณวัตถุดิบอาหารทะเลที่น้าเข้าลดลงเนื่องจากอินโดนีเซียปิดน่านน้าจนถึงเดือนเมษายน 2558 ประกอบกับได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนอ่อนค่าและการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ในสินค้าที่ส่งไปกลุ่มประเทศยุโรป นอกจากนี้ราคาน้ามันดิบโลกที่ลดลงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ลดทอนก้าลังซื้อจากกลุ่มตะวันออกกลาง ส่งผลให้การผลิตลดลงทั้งอาหารทะเลกระป๋องอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป และถุงมือยาง ส่วนการผลิตยางแปรรูปและไม้ยางพาราปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยการผลิตไม้ยางพาราเร่งตัว เนื่องจากการโค่นยางท้าให้ราคาไม้ยางต่ำสามารถแข่งขันในตลาดได้

ทางด้านการส่งออกมีมูลค่าลดลงตามมูลค่าการส่งออกที่ลดลงของอาหารบรรจุกระป๋อง สัตว์น้าและถุงมือยาง เป็นส้าคัญ ขณะที่การน้าเข้าเพิ่มขึ้นจากมูลค่าการน้าเข้าอุปกรณ์ก่อสร้างและเรือสนับสนุนกิจการปิโตรเลียมผ่านด่านศุลกากรสงขลา

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลง เนื่องจากความกังวลในภาระหนี้ของครัวเรือนและราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในมาตรฐานการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะการซื้อยานยนต์ยังคงหดตัวสูง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนนี้ลดลงเล็กน้อย

ส้าหรับการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในภาวะทรงตัว แม้ว่าภาวะการเงินจะเอื้อต่อการลงทุนเนื่องจากภาคธุรกิจยังรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยเครื่องชี้การลงทุนทั้งพื้นที่การขอรับอนุญาตก่อสร้างและการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยังคงหดตัว ขณะที่การน้าเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นจากการน้าเข้าเรือสนับสนุนกิจการปิโตรเลียมส้าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.45 ตามราคาพลังงานที่ลดลงต่อเนื่องตามราคาน้ามันดิบในตลาดโลก และราคาอาหารสดที่ลดลง ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.20 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.10 ในเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานในภาคการบริการ ภาคการค้าภาคเกษตรกรรม และภาคการผลิต

เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2558 ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.4 เนื่องจากสถาบันการเงินบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบันทึกบัญชี โดยโอนสินเชื่อไปบันทึกบัญชีที่ส้านักงานใหญ่ด้านเงินฝากลดลงร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากประจ้าที่หดตัวต่อเนื่อง

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ