ฉบับที่ 9/2558
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมีนาคม 2558 โดยรวมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน จากการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และการเบิกจ่ายงบลงทุนเร่งตัวจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาคเอกชนยังทรงตัวจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่า ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่องตามราคาอาหารสดและพลังงาน อัตราการว่างงานปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน
เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน จากการท่องเที่ยวที่ขยายตัว โดยมีแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวตลาดเอเชียที่ยังเติบโตสูง โดยเฉพาะจีนและมาเลเซีย สอดคล้องกับจ่านวนเที่ยวบินและอัตราการเข้าพักโรงแรมที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณและมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณประจ่าปี 2558 สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบลงทุนเร่งตัว โดยเฉพาะหมวดที่ดินสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ ขณะเดียวกันรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีสรรพากร สรรพสามิต และศุลกากร โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีสุราเพิ่มขึ้นมาก เป็นผลจากการเร่งผลิต ก่อนที่จะมีการปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกปรับตัวดีขึ้น ตามการผลิตยางแปรรูป ไม้ยางพาราแปรรูปส่วนหนึ่งเป็นผลจากเดือนก่อนมีวันหยุดยาวจากเทศกาลตรุษจีน ขณะเดียวกันการผลิตน้ำมันปาล์มปรับดีขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่เข้าโรงงานมาก ส่วนการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งได้รับผลกระทบจากความต้องการจากต่างประเทศที่ชะลอลง การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(GSP) และวัตถุดิบที่ลดลง
สอดคล้องกับการส่งออกที่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของมูลค่าส่งออกไม้ยางพารานอกจากนี้มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปและถุงมือยางหดตัวน้อยลง
การอุปโภคบริโภคยังได้รับแรงกดดันจากราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายาง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากองค์การสวนยางได้หยุดรับซื้อยางตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2558 และจีนชะลอการซื้อยางเนื่องจากมีสต็อกเพียงพอ ประกอบกับอุตสาหกรรมยางล้อของจีนชะลอลงตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้ายาง ขณะเดียวกัน
การลงทุนภาคเอกชนลดลง ทั้งพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างและการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเนื่องจากผู้ประกอบการยังรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.72 ตามราคาพลังงานที่ลดลงต่อเนื่องตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และราคาอาหารสดที่ลดลง ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ0.93 ปรับดีขึ้นจากร้อยละ 1.20 ในเดือนก่อน โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคการผลิต ภาคเกษตรกรรมและภาคบริการ เป็นสำคัญ
เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 ตามการหดตัวของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ประกอบกับสถาบันการเงินบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบันทึกบัญชีไปที่ส่วนกลาง อย่างไรก็ตามสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้นธนาคารแห่งประเทศไทย ส่านักงานภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย