ฉบับที่ 23/2558
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ประกาศแนวทางผ่อนคลายเพิ่มเติม ภายใต้แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว และจะทยอยออกประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องในช่วงปี 2558-2560 นอกจากนี้ ธปท. เห็นควรผ่อนคลายหลักเกณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ได้แก่ การทำธุรกรรมของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และการประกอบธุรกิจของศูนย์บริหารเงิน การผ่อนคลายดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความลึกและความกว้างให้กับตลาดเงินไทย รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกรรมและกระจายความเสี่ยงการลงทุนของบุคคลในประเทศและผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ อันจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ซึ่งสำระสำคัญและแผนงานของการผ่อนคลาย สรุปได้ดังนี้
ธปท. จะดำเนินการผ่อนคลายเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลในประเทศสามารถถือครองสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศได้มากขึ้น และขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ ธพ. (non-bank) ให้คล่องตัว มีรายละเอียดดังนี้
(1) ฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศ : ขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากกับสถาบันการเงิน (สง.) ในประเทศได้โดยเสรี โดยมียอดคงค้างไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(2) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ : ขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศ โอนเงินออกเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ และสิทธิในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ได้ไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์ สรอ.
3.1 เพิ่มช่องทางให้บุคคลในประเทศสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านธนาคารพาณิชย์
3.2 ทยอยผ่อนคลายให้บุคคลในประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กาหนด ฝากเงินกับ สง. ในต่างประเทศและลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยไม่ผ่านตัวกลางในประเทศภายในวงเงินที่กาหนด
3.3 ให้บุคคลในประเทศลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เสนอขายในประเทศที่เกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ เช่น structured product สกุลเงินบาทอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวกับเงินบาท
(4) การประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ : อนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับลูกค้าภายใต้ขอบเขตการประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์
(5) ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของศูนย์บริหารเงิน (Corporate treasury center):ให้ศูนย์บริหารเงินสามารถบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศให้แก่บริษัทในเครือได้คล่องตัวมากขึ้น เช่น ผ่อนคลายเกณฑ์การฝากเงินตราต่างประเทศ การกู้เงินบาทจากกลุ่มบริษัทในต่างประเทศ และการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน
(6) ผ่อนคลายคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ(Money transfer agent) และบุคคลรับอนุญาต (Money changer): เช่น อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายวงเงินการทาธุรกรรมของบุคคลรับอนุญาตกับลูกค้า
(1) ขยายวงเงินให้ NR กู้ยืมเงินบาทจาก สง. โดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทย (underlying)รองรับเป็นไม่เกิน 600 ล้านบาท ต่อกลุ่ม NR ต่อ สง. หนึ่งราย
(2) ผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศที่มิใช่ สง. สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยตรง (direct loan) เพื่อลงทุนในประเทศไทย ยกเว้นเพื่ออสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์ในประเทศไทย
(3) ผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการที่มิใช่ สง. ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยตรง(direct loan) เพื่อประโยชน์ในการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งนี้ การผ่อนคลายตามที่กล่าวข้างต้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ ดังนี้
1. การขยายวงเงินให้ NR กู้ยืมเงินบาทจาก สง. ในประเทศ ผ่านธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาท โดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทย (underlying) รองรับ เป็น 600 ล้านบาท และการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจศูนย์บริหารเงิน คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2558
2. ธปท. จะเร่งเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาดำเนินการผ่อนคลายเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ และวงเงินฝากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับ สง. ในประเทศ
3. สำหรับการผ่อนคลายในส่วนที่เหลือ ธปท. จะได้ทยอยเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาในลาดับต่อไปภายหลังจากที่ได้หารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม : ฝ่ายนโยบายและกากับการแลกเปลี่ยนเงิน
โทรศัพท์ : 0-2356-7345 , 02-283-5129
E-mail : ForeingExchangeAdministrationPolicyDivision@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย